วันเสาร์ที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ฝ่าวิกฤติสวนยางพาราในภาคอีสาน ตอนที่2

ทางเลือกทางรอดสำหรับการฝ่าวิกฤติสวนยางพาราในฤดูแล้งอีสานตอนจบ

สวนยางพาราที่ปลูกพืชคลุมดินตระกูลถั่ว "เพอราเรีย"ช่วยคลุมดิน กำจัดวัชพืชในสวนยางพารา คืนธาตุอาหารให้กับดิน เพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้กับดิน

ต้นยางโตไว "สวนยางอายุปีครึ่ง"



สวนยางต.โคกสูง อ.เมือง จ.ชัยภูมิ(สวนยางพาราของผู้เขียนเอง)

การจัดการวัชพืชในสวนยางพาราไม่ใช่ปัญหายุ่งยากอีกต่อไป ที่สำคัญช่วยให้ดินยังคงความชื้นช่วยให้ยางไม่ขาดน้ำ



รอบๆสวนยางควรมีป่าไม้ที่หลากหลาย ซึ่งปัจจุบันป่าธรรมชาติเดิมๆแทบไม่หลงเหลืออยู่เลย ป่าธรรมชาตินี้จะช่วยเป็นทั้งแนวกันลม แหล่งอาหาร(คน) ความชื้นสัมพัทธ์มากช่วยให้ระบบนิเวศน์รอบๆสวนยางพาราเหมาะสม ช่วยยางพาราในเขตแห้งแล้งได้


สวนยางพาราที่มีระบบน้ำในสวนยาง หน้าแล้งไม่ตาย เขียวสดทั้งปี

สวนยาง ต.บ่านแท่น อ.บ้านแท่น



ระบบมินิสปริงเกอร์ ลงทุนน้อย คุ้มค่ามากครับ ทางเลือกอีกทางที่จะช่วยชาวสวนยางในเขตแห้งแล้งได้ครับ


วางท่อตามแนวต้นยางได้เลยครับต้นทุน 13บาท ต่อต้น

สวนยางที่ต.บ้านแท่น อ.บ้านแท่น จ.ชัยภูมิ



เลือกพื้นที่ปลูกที่เหมาะสม ดินหินลูกรัง หน้าดินตื้นจะแสดงอาการมากหาปีที่เจอวิกฤติภัยธรรมชาติหนักๆ

สวนยางที่ตงถ้ำวัวแดง อ.หนองบัวแดง จ.ชัยภูมิ




สวนยางยืนต้นตายแล้ง ต.ห้วยยายจิ๋ว อ.เทพสถิต จ.ชัยภูมิ




การแก้ไขเบื้องต้นต้องตัดส่วนที่แห้งตายออก ทายาป้องกันเชื้อรา หรือปูนขาว เลี้ยงลำต้นใหม่



ภาพยางยืนต้นตาย ต.ห้วยยายจิ๋ว อ.เทพสถิต

โดยส่วนตัวแล้วผู้เขียนเห็นว่า

หากไม่ต้องการให้เกิดความเสียหายอย่างที่เห็นแบบนี้การเลือกพื้นที่ปลูกที่เหมาะสม ปริมาณน้ำฝนไม่ต่ำกว่า1500มม/ปี การจัดการสวนยางตามคำแนะนำการปลูกพืชคลุมดินตระกูลถั่ว จัดการเรื่องระบบน้ำ แหล่งน้ำ สวนป่า พืชแซมในสวนยาง การใส่ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมี ปัจจัยต่างๆเหล่านี้น่าจะช่วยให้อาชีพสวนยางนี้เป็นอาชีพที่สามารถที่อยู่ได้ในเขตภาคอีสาน ภาคเหนือต่อไปได้ครับ
ขอบคุณข้อมูลดี จากสกย. http://www.rubber.co.th/index_home.php,

สถาบันวิจัยยาง http://www.rubberthai.com/emag/test.php

รูปประกอบจากบล็อกดีๆ http://www.oknation.net/blog/nainoykrab/2009/10/27/entry-1



























ไม่มีความคิดเห็น: