วันศุกร์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2551

ยางพารากู้วิกฤติโลกรอน

" ยางพารากู้ภาวะวิกฤติ โลกร้อน"
เรื่ อง/ภาพ : วิ ชิต สุวรรณปรีชา
ลกสีนํ้าเงินใบนี้... เปรียบเสมือนบ้านหลังใหญ่ของสิ่งมีชีวิต
เป็นบ้านที่มีระบบปรับสภาพแวดล้อมให้เกิดสมดุลอัตโนมัติ มีความเหมาะสม ต่อการพำนักพักพิงอาศัย สมาชิกต่างดำรงตนแบบเกื้อกูลซึ่งกันตลอดเสมอมา
มนุษย์ สัตว์ แมลง จุลชีพ ฯลฯ ล้วนแต่เป็นสมาชิกของบ้านหลังนี ้ ที่อยู ่ร่วมกัน ทำหน้าที่ต่างกัน แต่เอื้อซึ่งกันและกัน มาช้านานนับล้านปี อย่างมีความสุข
ต่แล้วด้วยความรุ่งเรืองของอารย รรมมนุษย์ นุษย์กลับเป็นผู้ทำลายบ้านของ นเอง ทีละเล็กละน้อยค่อยเป็นค่อยไปโดยไม่ สึกตัวเพื่อสนองความรุ่งเรืองนั้น จากจุดเล็กๆ ขยายตัวเป็นวงกว้างยิ่งขึ้นตามกาลเวลา ยิ่งปัญหาทวีสะสมเนิ่นนานมากขึ้นเท่าใด ความรุนแรง ความเสียหายยิ่ง ซับซ้อนมากขึ้นเท่านั้น กระทั่งระบบปรับสมดุลสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ ไม่สามารถทำงานได้ทันตามที่ควร เป็น
โลกเริ่มส่งสัญญาณให้มนุษย์รับรู้ ด้วยความแปรปรวนของธรรมชาติที่นับวันยิ่งผิดปกติถี่ยิ่งขึ้น
ผลกระทบอย่างใหญ่หลวงที่ก่อเกิดแก่โลกใบนี ้ ดังทราบกันดี คือ ปัญหาโลกร้อน
ปัญหาโลกร้อนคงไม่เกิดขึ้น หากผืนโลกมีป่ าไม้มากเพียงพอ และมนุษย์ไม่ปลดปล่อยพลังความร้อน และ ก๊าซเรือนกระจก ในปริมาณมากมายมหาศาล เกินความสามารถเยียวยารักษาความสมดุลทางธรรมชาติไว้ได้
แนวทางหนึ่งที่แก้ปัญหาได้ คือการเร่งฟื้ นฟูป่ าไม้ ขึ้นทดแทนป่ าเดิมในพื้นที่ ที่มนุษย์ได้ทำลายไป
ป่ าไม้ปลูกที่บังเกิดผล ต้องเป็นป่ าไม้เศรษฐกิจที่มนุษย์ได้รับผลประโยชน์ ต่อเนื่องเท่านั้น จึงจะแน่ใจได้ว่าป่ านั้นไม่ถูกทำลายไปอีก
ในบรรดาพืชที่มีศักยภาพเพียงพอตามที่กล่าวมา คงหนีไม่พ้นพืชที่ เรียกว่า ยางพารา อันเป็นพืชที่ผูกพันอย่างแนบแน่นกับชีวิตประจำวันของ มนุษยชาติ
แหล่งความร้อนบนพื้นผิวโลกตามธรรมชาติ
ความร้อนบนพื้นผิวโลกที่เกิดตามธรรมชาติ มาจาก 3 แหล่งใหญ่ ได้แก่ รังสีความร้อนจากดวงอาทิตย์ พลัง ความร้อนจากกัมมันตภาพรังสีภายในโลกสลายตัว ความร้อนจากภูเขาไฟระเบิด และหินละลายใต้เปลือกโลกที่ แทรกตัวขึ้นมาตามรอยแยกก้นมหาสมุทร
ความร้อนส่วนหนึ่งกระจายสู่อวกาศ บางส่วนถูกกักเก็บไว้ในชั้นบรรยากาศ ความร้อนในชั้นบรรยากาศ นี้เองที่สะท้อนกลับลงสู่พื ้นผิวโลก ทำให้อุณหภูมิโลกสูงขึ้น
ความร้อนที่เกิดตามธรรมชาติโลกมีกลไกกําจัดด้วยตนเอง ส่วนหนึ่งกระจาย สู่อวกาศ บางส่วนถูกกักเก็บไว้ในชั้นบรรยากาศ และสะท้อนกลับสู่ผิวโลก ช่วยให้ อุณหภูมิโลกอบอุ่นพอเหมาะ
ปัญหาโลกร้อนคงไม่เกิดขึ้น หากพื้นผิวโลกมีป่ าไม้ไว้ดูดซับคาร์บอน พร้อม กับค่อยๆปลดปล่อยความชื้นสู่บรรยากาศ มากเพียงพอ และมนุษย์ไม่ปลดปล่อยพลัง ความร้อน รวมถึงก๊าซเรือนกระจก ในปริมาณมากมายมหาศาล เกินกว่าความสามารถ เยียวยารักษาความสมดุลทางธรรมชาติไว้ได้
ปัญหาโลกร้อนเกิดจากสองสาเหตุหลัก
สาเหตุประการแรกเกิดจากโลกไม่สามารถสะท้อนและปลดปล่อยความร้อนออกไปนอกโลกได้ เนื่องจาก ความหนาแน่นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่มนุษย์ปลดปล่อยออกมาปีละมากมาย ลอยมารวมตัวสะสมบนชั้น บรรยากาศ เกิดการกักกันความร้อนเอาไว้ ไม่ให้กระจายสู่อวกาศนอกโลก ปรากฏการณ์นี้เรารู้จักกันในนาม “ภาวะ เรือนกระจก ”
สาเหตุอีกประการหนึ่ง เกิดจากชั้นโอโซนของโลกซึ่งทำหน้าที่กรองความร้อน และรังสียูวีถูกทำลายเกิด ช่องโหว่เป็นจำนวนมากด้วยสารซีเอฟซี ทำให้โลกได้รับความร้อนและรังสีอุลตราไวโอเล็ต หรือ ยูวี มากขึ้น
ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ถือเป็นปัญหาหลัก เพราะถูกปลดปล่อยอยู่ทุกวันเป็นจำนวนมหาศาล จากการใช้ พลังงานของโรงงานอุตสาหกรรม และยานยนต์
สำหรับประเทศไทยปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์สู่อากาศปีละกว่า170 ล้านตัน หรือเพียงร้อยละ 0.6 ของการ ปลดปล่อยทั้งโลก เป็นอันดับหนึ่งของเอเชียอาคเนย์
ปัญหาโลกร้อนเกิดจากนํ้ามือมนุษย์
ช่วง 50 ปีย้อนหลัง ประชากรโลกเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว จากจำนวนประมาณ 2,900 ล้านคน ในปีพ.ศ. 2500 เป็นประมาณ 6,700 ล้านคน ในปีพ.ศ. 2550
ประชากรที่ขยายเพิ่มขึ้นย่อมต้องการพื้นที่มากเพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว เพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัย และดำรงชีพ ประจำวัน ด้านเกษตรกรรมต้องบุกรุกป่ า เผาป่ า เพื่อขยายพื้นที่เพาะปลูก ด้านอุตสาหกรรมต้องการพลังงานเพื่อ เดินเครื่องจักร ผนวกกับการเผาไหม้เชื้อเพลิง เพื่อการคมนาคมและขนส่ง ทั้งหลายทั้งปวงนี้ล้วนเป็นสาเหตุหลักที่ ก่อเกิดความร้อน ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และก๊าซมีเทน จนสร้างปัญหาความร้อนสะสมในชั้นบรรยากาศ อัน ส่งผลกระทบต่อโลกอย่างรุนแรงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนเกิดการเปลี่ยนแปลงในลักษณะที่อาจเป็นอันตรายต่อมนุษย์ อาทิ การเปลี่ยนแปลงทางธรณีวิทยา การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การเปลี่ยนแปลงทางชีววิทยา ปรากฏการณ์ น้าแข็งขั้วโลกละลาย ธารน้าแข็งละลาย ฝนตกไม่สม่าเสมอ ผิดฤดูกาล น้าทะเลหนุน เกิดการกัดเซาะชายฝั่ง และอีก สารพัดปลายเหตุ
แนวทางหนึ่งในการช่วยแก้ปัญหา คือการเร่งฟื้ นฟูป่ าไม้ในพื้นที่มนุษย์ทำลาย ให้ได้ผืนป่ าคืนมา
ป่ ากับการดูดซับคาร์บอน
ประสิทธิภาพการดูดซับคาร์บอนของพื้นที่ต่างๆ
ระบบ
ตันคาร์บอนต่อไร่
ป่ าสมบูรณ์
48.96
ป่ าใช้สอย
14.88
สวนยางระบบวนเกษตร(พืชถาวร)
14.24
สวนยางระบบวนเกษตร(พืชหมุนเวียน)
7.36
ปาล์มน้ามัน
8.64
สวนป่ าไม้เยื่อกระดาษ
5.92
พืชไร่ / ทุ่งหญ้า
0.32
ที่มา: Hairiah et al ( 2544 )
ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ประกอบด้วยคาร์บอนและก๊าซออกซิเจน อัน เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของสิ่งมีชีวิต และ สามารถเคลื่อนย้ายแลกเปลี่ยนไปมาระหว่าง ร่างกายของสิ่งมีชีวิตและอากาศ กล่าวอีกนัย หนึ่งคาร์บอนไดออกไซด์เป็นของเสียจากการ หายใจของมนุษย์และสัตว์ แต่กลับเป็นแหล่ง อาหารสำคัญของพืช ดังนั้นพืชจึงเป็นแหล่ง ดูดซับคาร์บอนที่สำคัญนั่นเอง
ยิ่งพื้นที่ใดมีความหลากหลายทางชีวภาพของพืชมาก ที่นั้นย่อมมีความสามารถในการดูดซับมากขึ้นเท่านั้น
และพื้นที่ที่มีความหลากหลายสูงก็คือพื้นที่ป่ าซึ่งมีต้นไม้ขนาดใหญ่จำนวนมากนั่นเอง ป่ าจึงถือได้ว่าเป็นแอ่งดูดซับ คาร์บอน ( Carbon sink ) แหล่งใหญ่ของโลก หากจะเป็นรองก็เพียงมหาสมุทรซึ่งมีพื้นที่กว้างกว่าเท่านั้น
ศักยภาพเชิงนิเวศน์ด้านการดูดซับคาร์บอน ขึ้นกับชนิดและองค์ประกอบทางสายพันธุ์พืช ตลอดจนอายุ ของพืช สภาพดิน การรบกวนธรรมชาติ และระบบการจัดการ
สำหรับพื้นที่เกษตรกรรม การทำพืชไร่ให้ผลด้านดูดซับปริมาณคาร์บอน ได้น้อยที่สุด ด้วยมีอายุสั้น และต้นมี ขนาดเล็ก ผิดกับพืชสวนซึ่งมีพืชที่ปลู อายุยาวนาน ขนาดลำต้นใหญ่ จึงเห็น ผลได้ชัดเจน
ในอินโดนีเซียมีรายงาน ปริมาณการดูดซับคาร์บอน ว่า พื้นที่ป่ า สมบูรณ์มีประมาณ ไร่ละ 49 ตัน ป่ าใช้สอยประมาณ 14.88 ตัน สวนยางระบบวนเกษตรแบบถาวร ประมาณ 14.24 ตัน สวนยางระบบวนเกษตรแบบพืชหมุนเวียน ประมาณ 7.36 ตัน ลดลงเกือบครึ่งหนึ่งของสวนยางแบบแรก ขณะที่พื้นที่ปลูกพืชไร่มีเพียงประมาณ 0.32 ตันเท่านั้น ดังแสดงไว้ในตาราง
ยางพารากับการดูดซับคาร์บอน
ยางพาราเป็นพืชหนึ่งที่สามารถดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ไม่น้อยกว่าไม้ป่ าเขตร้อน โดยเฉพาะ สวนยางที่มีการใช้ประโยชน์ที่ดินระหว่างแถวยางเต็มพื้นที่ ด้วยการปลูกพืชแซม พืชร่วม และพืชคลุมดินตระกูลถั่ว ซึ่งมีความหลากหลายทางชีวภาพสูง
กล่าวคือในการเจริญเติบโตของต้นยางพารา จำเป็นต้องอาศัย ขบวนการสังเคราะห์แสง ที่มีการนำคาร์บอนไดออกไซด์จาก บรรยากาศมาใช้ เพื่อสร้างส่วนประกอบต่างๆของลำต้น เช่น เนื้อไม้ ใบ ราก ซึ่งรวมเรียกว่า " มวลชีวภาพ " ในอัตราปีละ 5.68 ตัน ต่อไร่ และทิ้งมวลชีวภาพ ในรูปใบแห้ง กิ่งแห้ง หมุนเวียนอยู่ในพื้นที่ ปี ละไม่น้อยกว่า 1.12 ตันต่อไร่
ความสามารถสร้างมวลชีวภาพของยางพาราแต่ละพันธุ์ แต่ละ อายุ ก็มีความแตกต่างกันไป ดังเช่น ยางพันธุ์อาร์อาร์ไอเอ็ม600อายุ 25 ปี ให้มวลชีวภาพทั้งลำต้นได้ถึงไร่ละ 49 ตัน และเก็บสารคาร์บอนได้ ไร่ละ 22-23 ตัน
สวนยางระบบวนเกษตรในอินโดนีเซีย
สวนยางระบบวนเกษตรในอินโดนีเซีย
ความสามารถสร้างมวลชีวภาพของยางพาราพันธุ์อาร์ อาร์ ไอ เอ็ม 600 อายุ 25 ปี
องค์ประกอบพืช
นํ้าหนักแห้ง (เมตริกตันต่อไร่)
การเก็บสารคาร์บอน(เมตริกตันต่อไร่)
ใบ
0.3
0.2
กิ่งเล็ก
6.1
2.7
ลำต้นและกิ่งใหญ่
36.7
16.5
รากแก้ว
4.5
2.1
รากแขนง
1.3
0.6
รากฝอย
0.2
0.1
รวม
49.1
22.2
ที่มา : อารักษ์ จันทุมา ศูนย์วิจัยยางฉะเชิงเทรา 2546
การเก็บสารคาร์บอนของยางพาราพันธุ์อาร์ อาร์ ไอ เอ็ม 600 อายุ 25 ปี
ส่วนที่เก็บคาร์บอน
ปริมาณคาร์บอนที่เก็บ(เมตริกตันต่อไร่)
มวลชีวภาพลำต้น
22.2
การทิ้งกิ่งก้านและใบ
8.0
ผลผลิตเนื้อยางแห้ง
4.6
อินทรีย์วัตถุในดินบน
7.9
รวม
42.7
ที่มา : อารักษ์ จันทุมา ศูนย์วิจัยยางฉะเชิงเทรา 2546
แต่หากรวมมวลชีวภาพ ทั้งหมดแล้ว ยางพันธุ์อาร์อาร์ไอเอ็ม600 อายุ 25 ปี จะสามารถเก็บสารคาร์บอน ได้ไร่ละ 42.7 ตัน แบ่งได้เป็น มวล ชีวภาพลำต้น 22.2 ตัน การทิ้งกิ่งก้าน และใบ 8 ตัน ผลผลิตเนื้อยางแห้ง 4.6 ตัน และอินทรีย์วัตถุบนดิน 7.9 ตัน
การเก็บสารคาร์บอนของยางพาราพันธุ์อาร์ อาร์ ไอ เอ็ม 600 อายุ ต่างๆ
อายุ ( ปี )
ปริมาณคาร์บอนที่เก็บ(เมตริกตันต่อไร่)
9
8.3
12
10.9
18
15.2
38
22.2
ที่มา : อารักษ์ จันทุมา ศูนย์วิจัยยางฉะเชิงเทรา 2546
การปลูกยางพาราในประเทศ ไทยจำนวนพื้นที่ประมาณ 14 ล้านไร่ จึงช่วยดูดซับคาร์บอนได้มากถึง 600 ล้านตัน ซึ่งมากกว่าการปลดปล่อย หลายเท่าตัวเสียอีก
พื้นที่สวนยางพาราจึงเป็น เครดิตอย่างดีให้กับไทย ในส่วนของ การลดภาวะเรือนกระจก ทั้งยังสามารถ นำเครดิตไปขายให้กับประเทศอุตสาหกรรม นำเงินตราเข้าประเทศได้อีกด้วยซึ่งจะนำรายได้มาสู่เกษตรกรผู้ปลูก ด้วยเช่นกัน
ระบบปลูกและแปรรูปผลผลิตขั้นต้นใช้พลังงานน้อย
นอกจากยางพาราเป็นพืชที่ดูดซับคาร์บอนได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้ว ยังเป็นพืชที่ใช้พลังงานในการปลูก บำรุงรักษา และ การแปรรูป ในปริมาณน้อยอีกด้วย เมื่อเทียบกับพืชเศรษฐกิจชนิดอื่น อาทิ มีการไถพรวนเฉพาะ ช่วงเตรียมพื้นที่ปลูกใช้ปุ ๋ ยเพียงปีละ15 กิโลกรัมต่อไร่ ในขณะที่พืชไร่ต้องใช้ปุ ๋ ยรวมถึง32-36 กิโลกรัมต่อไร่หรือ แม้แต่การกรีดยางเอาผลผลิตก็อาศัยพลังแสงสว่างเพียงน้อยนิดจากแสงตะเกียงหรือแบตเตอรี่
ส่วนการแปรรูปยางดิบขั้นต้น หากใช้โรงอบยางพลังแสงอาทิตย์ ก็เป็น การอนุรักษ์พลังงาน และการปลดปล่อยความร้อนสู่บรรยากาศได้
สวนยางพาราเสริมสร้างสิ่งแวดล้อม
ยิ่งไปกว่านั้นสวนยางพารายังช่วยเสริมสร้างสภาวะแวดล้อมอีกหลายๆด้าน อาทิ การปลูกยางพาราบนขั้นบันไดในพื้นที่ลาดเท นอกจากช่วยให้เก็บผลผลิตได้สะดวกแล้ว ขั้นบันไดยังช่วยชะลอความแรงของน้าฝนที่ไหลบ่าจากที่สูง เป็นการอนุรักษ์ดินและน้า
การปลูกพืชคลุมดินระหว่างแถวยาง เป็นการช่วยกักเก็บความชื้นไว้ในดินให นานที่สุด พร้อมกับดึงไนโตรเจนในอากาศมาเก็บไว้ในปมราก เพิ่มความ สมบูรณ์ให้กับดินโดยไม่ต้องลงทุน
การปลูกพืชร่วม พืชแซมระหว่างแถวยาง นอกจากเสริมรายได้ ให้กับชาวสวนยางแล้ว ยังเป็นการเพิ่มความหลากหลายทางพันธุกรรมพืช ให้แก่พื้นที่นั้น อันจะมีผลต่อความหลากหลายทางพันธุกรรมสัตว์ตามมา
การผลิตยางแผ่นดิบใช้กรดอินทรีย์ ของเสียที่เกิดขึ้นใน ขบวนการผลิตจึงมีปริมาณน้อยกว่าของเสียที่เหลือทิ้งจากครัวเรือน เมื่อนำมา เปรียบเทียบกัน
การปลูกสร้างสวนยางพารา จึงก่อประโยชน์แก่ประเทศมากมายหลายด้าน ทั้งด้านเสริมสร้างสิ่งแวดล้อม อนุรักษ์ ดินและนํ้า อนุรักษ์พลังงาน กักเก็บคาร์บอนไว้ในส่วนต่างๆ ซึ่งล้วนมีผลต่อเนื่องไปถึงการบรรเทาสภาวะ โลกร้อน
สวนยางพาราจึงเป็ นอีกหนทางหนึ่งที่ช่วยให้ประเทศไทย บรรลุสัตยาบันในพิธีสารเกียวโตที่ลงนามไปเมื่อ ปี พ.ศ.2537 กับภารกิจสนับสนุนและส่งเสริมกิจกรรมที่สามารถลดก๊าซเรือนกระจกได้