วันอังคารที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ถาม-ตอบ เรื่องยางพารา? ยางก้อนถ้วย



ตัวอย่างยางก้อนถ้วยที่ทำการซื้อขาย




ยางก้อนถ้วย
สวัสดีค่ะ คุณทศพล
ตู่ขอสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องของยางก้อนถ้วย ดังนี้ค่ะ

1.ทำไมการทำยางก้อนถ้วย ถึงนิยมปลูกกัยมากในภาคอิสาน?
2.เค้ามีการส่งออกรึเปล่า?
3.พรบ.และเงื่อนไขของการซื้อยาง ควบคุมตัวนี้หรือไม่?
4.ตู่รู้มาว่า เค้าเอายางก้อนถ้วย ไปผลิตเป็นยางก้อนหรอคะ? แล้ว เค้าเอายางแท่งไปทำอะไร?

คำถามเท่าที่ตู่นึกออก ก็มีเท่านี้ค่ะ 55 ถ้าคุณทศพลอยากตอบมากกว่านี้ก็ได้นะคะ 
ขอบคุณมากมากล่วงหน้าค่ะ

Best regards
Tu
 ตอบทีละข้อเลยนะครับ
1.ทำไมการทำยางก้อนถ้วย ถึงนิยมปลูกกัยมากในภาคอิสาน? 
ปัจจุบันชาวสวนยางพาราสามารถ เลือกขายยางได้หลากหลายรูปแบบ ทั้ง น้ำยางสด ยางแผ่นดิบ ยางแผ่นรมควัน และ ยางก้อนถ้วย โดยเกษตรกรในแหล่งปลูกยางเก่า อย่างพื้นที่ภาคใต้และภาคตะวันออกส่วนใหญ่ขายในรูปยางแผ่นดิบ ยางแผ่นรมควัน และน้ำยางสด แต่เนื่องจากในเขตภาคอีสานและภาคเหนือเป็นเขตปลูกยางใหม่ เกษตรกรในแหล่งปลูกใหม่ โดยเฉพาะภาคตะวันออกเฉียงเหนือนิยมขายยางในรูปยางก้อนถ้วยหรือยางก้นถ้วยเพราะการผลิตยางก้อนถ้วยก็ง่ายกว่าการทำยางแ่ผ่นดิบและรอบการขายไวกว่าได้เงินเร็วกว่าจึงเป็นที่ถูกใจของเกษตรกรประกอบกับมีโรงงานผลิตยางแท่งตั้งอยู่ในเขตนี้ด้วยจึงต้องการวัตถุดิบสำหรับผลิตยางแท่ง เช่น( บริษัท ไทยฮั้วยางพารา จำกัด (มหาชน) สาขาหนองคาย
195 หมู่ 5 ถนนบึงกาฬ-พังโคน ตำบลโนนสมบูรณ์ อำเภอบึงกาฬ จังหวัดหนองคาย 43140 

บริษัท นอร์ทอีส รับเบอร์ จำกัด 398 หมู่ที่ 4 โชคชัย-เดชอุดม โคกม้า ประโคนชัย บุรีรัมย์ 31140 เบอร์โทรศัทพ์ รายละเอียดโรงงาน ทำยางผสม (Compound Rubber) ทำยางเครป ยางเครป ยางแท่ง การหั่น ผสม รีดยางให้เป็นแผ่นหรือการทำยางให้เป็นรูปแบบอื่นใดที่คล้ายคลึงกัน)

2.เค้ามีการส่งออกรึเปล่า? +4.ตู่รู้มาว่า เค้าเอายางก้อนถ้วย ไปผลิตเป็นยางก้อนหรอคะ? แล้ว เค้าเอายางแท่งไปทำอะไร?
สำหรับการผลิตยางแท่งนั้น สามารถผลิตได้ทั้งจากน้ำยางสด และยางแห้งที่จับตัวแล้ว (เช่น ยางแผ่นดิบ ยางก้อนถ้วย) โดยส่วนใหญ่โรงงานในประเทศไทยจะใช้ยางดิบในการผลิต ซึ่งขั้นตอนที่สำคัญในการผลิตก็คือ การตัดย่อยยางดิบให้เป็นชิ้นเล็กๆ อย่างรวดเร็ว อบให้แห้งและอัดเป็นแท่งสี่เหลี่ยมให้ได้ตามมาตรฐาน โดยกำหนดในเรื่องของปริมาณสิ่งสกปรก ปริมาณสิ่งระเหย สี และค่าความหนืด เป็นต้น สำหรับยางแท่งที่ผลิตจากน้ำยางสดนั้นแม้จะมีขั้นตอนที่ซับซ้อนกว่า เนื่องจากต้องนำมารวมกันในถังและใส่กรดให้จับตัวกันเป็นก้อนก่อนจะไปถึงขั้นการตัดย่อยยางดิบ แต่จะมีคุณภาพที่ดี เพราะได้มาจากน้ำยางสดโดยตรง ส่วนยางแท่งที่ได้มาจากยางแห้งนั้น จะต้องดูคุณภาพของวัตถุดิบที่นำมาผลิตว่าเป็นเกรดใด มีสิ่งสกปรกเจือปนมากน้อยแค่ไหน อุตสาหกรรมที่มีการใช้ยางแท่งกันมาก ได้แก่ อุตสาหกรรมยางล้อรถ อุตสาหกรรมสายพาน อุตสาหกรรมยางท่อ หรืออุตสาหกรรมทำกาว เป็นต้น
เมื่อรับซื้อยางก้อนถ้วยไปแล้ว
เพราะยางก้อนถ้วยเป็นรูปแบบหนึ่งของผลิตผลยางที่มีความเหมาะสมในการนำมาผลิตยางแท่ง เนื่องจากยางมีความสะอาดถ้าผลิตได้อย่างถูกต้อง ทำให้ไม่ต้องลงทุนล้างหรือขจัดสิ่ง สกปรกออก และเนื้อยางของยางก้อนถ้วยยังมีความยืดหยุ่นดีและง่ายต่อการทำงานของเครื่อง รีดเครพ ดังนั้น จึงสามารถนำไปผลิตยางแท่งเอสทีอาร์ (STR) ที่มีคุณภาพสูงได้และส่งออกในรูปยางแท่งครับ
ยางแท่ง

ยางแท่ง STR20

3.พรบ.และเงื่อนไขของการซื้อยาง ควบคุมตัวนี้หรือไม่? 
การซื้อขายยางต้องขออนุญาตก่อนนะครับกับกรมวิชาการเกษตร(http://www.rubberthai.com/)ซึ่งถือพรบ.ควบคุมยางปี2542อยู่
และถ้าส่งออกต้องเสียภาษีส่งออกเรียกว่าเงิน cess ที่เก็บโดย สกย.(http://www.rubber.co.th)ครับ

วันพฤหัสบดีที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ข่าวประชาสัมพันธ์ ศปจ.ชัยภูมิ ฉบับที่ 11 / 2555


นายจตุรงค์ พุ่มศรีสวัสดิ์ นำทีมงานสตง.ออกตรวจสอบสวนยางเข้าร่วมโครงการ


  สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน หรือสตง.ซึ่งมีหน้าที่ตรวจสอบการใช้จ่ายเงินและทรัพย์สินอื่นของหน่วยรับตรวจ เพื่อแสดงความเห็นว่าเป็นไปตามวัตถุประสงค์ เป็นไปโดยมีประสิทธิภาพ ประหยัด ได้ผลตามเป้าหมายและคุ้มค่าหรือไม่ มีกำหนดเข้าตรวจสอบผลการปฏิบัติงานในโครงการปลูกยางในพื้นที่แห่งใหม่ระยะที่3 มาตรา21 ทวิ ในเขตภาคตะวันออกเฉียงหนือและภาคเหนือในช่วงเดือนเมษายนที่ผ่านมา
  โดยเมื่อวันที่ 9-11 เมษายน 2555 ที่ผ่านมาเข้าตรวจสอบผลการปฏิบัติงานโครงการดังกล่าวของ ศูนย์ปฏิบัติการสงเคราะห์สวนยางจังหวัดชัยภูมิ ซึ่งผลการปฏิบัติงานทั้งหมดก็ผ่านไปได้ด้วยดีทั้งด้านเอกสารต่างๆ งานภาคสนามและยังได้ออกสุ่มสำรวจสวนที่เข้าร่วมโครงการในครั้งนี้ด้วย

ภาพบรรยากาศการตรวจเยี่ยมเกษตรกรในโครงการของเจ้าหน้าที่ สตง. นำทีมตรวจโดย ผอ.ศปจ.ชัยภูมิ
สุ่มตรวจในเขต อ.เมือง

เจ้าหน้าที่ สตง.ได้พบปะ พูดคุยสอบถาเจ้าของสวนยาง

ผ่านฉลุยเลย

ข่าวประชาสัมพันธ์ ศปจ.ชัยภูมิ ฉบับที่ 10/2555


ศูนย์ปฏิบัติการสงเคราะห์สวนยางจังหวัดชัยภูมิร่วมกับธกส.จังหวัดชัยภูมิประชุมชี้แจงโครงการไม่เปิดกรีดยางต้นเล็ก
นายวีระ สาตรา เปิดโครงการและชี้แจงโครงการในอำเภอหนองบัวแดง

โดยประชุมชี้แจง หลักเกณฑ์ คุณสมบัติของเกษตรกรที่จะสมัครเข้าร่วมโครงการของจังหวัดชัยภูมิ
ซึ่งจัดในอำเภอหลักๆที่มีการปลูกยางหนาแน่นและเข้าเกณฑ์ อาทิ อำเภอเกษตรสมบูรณ์  อำเภอหนองบัวแดง อำเภอภักดีชุมพล อำเภอเทพสถิต อำเภอคอนสาร ฯลฯ
เจ้าหน้าที่ธกส.อ.เทพสถิตร่วมชี้แจงหลักเกณฑ์ในส่วนของธกส.

ทั้งนี้เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาการกรีดยางต้นเล็ก กรีดก่อนกำหนด อีกทั้งช่วยให้เกษตรกรชาวสวนยางสามารถมีเงินทุนในการดูแลจัดการสวนต่อจนกว่าต้นยางจะได้ขนาดเปิดกรีด และมีทุนในการดำรงชีพส่วนหนึ่งด้วย เกษตรที่เข้าเกณฑ์เริ่มทยอยสมัครเข้าร่มโครงการในท้ายที่สุดจะช่วยชาวมสวนยางและประเทศชาติในระยะยาวด้วย
บรรยากาศการชี้แจงโครงการในอำเภอต่างๆ

อย่ากรีดยางต้นเล็กน้า

เกษตรกรสนใจเข้าร่วมเข้าร่วมโครงการ

เกษตร อ.ภักดีชุมพล

ข่าวประชาสัมพันธ์ ศปจ.ชัยภูมิ ฉบับที่ 9/2555


อบรมการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน
(นายจตุรงค์ พุ่มศรีสวัสดิ์ ผอ.ศปจ.ชัยภูมิ กล่าวเปิดการอบรม)

   ปัจจุบันสภาพแวดล้อมเสื่อมโทรมเป็นอย่างมาก   อันเนื่องมาจากสาเหตุหลายประการได้แก่  การทำลายแหล่งต้นน้ำลำธาร การใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชและศัตรูพืช  ตลอดจนการใช้ที่ดินไม่เหมาะสม  โดยที่ดินเป็นปัจจัยสำคัญในการปลูกสร้างสวนยางการ เกษตรส่วนใหญ่ยังมีการใช้ปุ๋ยไม่ตงตามความต้องการของพืชและบางครั้งมากเกินความจำเป็นทำให้ต้นทุนในการจัดการ ดูแลสวนยางสูงเกินความจำเป็น
  การวิเคราะห์ดินเป็นแนวทางหนึ่งที่จะเพิ่มศักยภาพในการใช้ปุ๋ยให้คุ้มค่าที่สุด ประหยัด และลดต้นทุนการผลิต อีกวิธีหนึ่ง และเลือกสภาพดินที่เหมาะสมในการปลูกยางพาราอีกด้วย  ศูนย์ปฏิบัติการสงเคราะห์สวนยางจังหวัดชัยภูมิจึงเห็นความสำคัญในฝึกอมรมเชิงปฏิบัติการ “การใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน” ให้กับเกษตรในอำเภอคอนสาร และอำเภอภูเขียวซึ่งมีพื้นที่ปลูกยางจำนวนมากอันดับต้นๆของจังหวัด โดยมีเกษตรเข้าอบรมจำนวนกว่า 70 คน
   รุ่นที่1 ระหว่างวันที่ 2และ15 พฤษภาคม 2555 ณ ตำบลห้วยยาง อ.คอนสาร
  รุ่นที่2 ระหว่างวันที่ 3และ16 พฤษภาคม 2555 ณ ตำบลกวางโจน อ.ภูเขียว

  โดยกิจกรรมภาพรวมประกอบไปด้วยการเก็บตัวอย่างดินในแปลงปลูกยาง นำตัวอย่างดินมาฝึกทดสอบวิเคราะห์ดิน และนำอุปกรณ์ไปทดสอบในพื้นที่ เก็บข้อมูลสภาพดินในพื้นที่ เพื่อประโยชน์ในการจัดหาปุ๋ยสูตรที่เหมาะสมต่อไป
ภาพบรรยากาศการอบรม
นายจตุรงค์ พุ่มศรีสวัสดิ์ ผอ.ศปจ.ชัยภูมิ กล่าวเปิดการอบรม รุ่นที่2

แนะนำอุปกรณ์การตรวจหาธาตุอาหารในดิน

ตรวจดู เทียบสีหลังการวิเคราะห์กับแถบสีมาตรฐาน
ตัวอย่างดินที่เกษตรกรนำมาวิเคราะห์หาปริมาณธาตุอาหาร

วันพุธที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ข่าวประชาสัมพันธ์ ศปจ.ชัยภูมิ ฉบับที่ 8/2555


การจัดการสวนยางอย่างยั่งยืน


ฝึกอมรมเจ้าของสวนยาง“หลักสูตรการจัดการสวนยางอย่างยั่งยืน”

 จากการที่สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางได้ให้การสนับสนุนส่งเสริมความรู้ด้านวิชาการให้กับเกษตรกรในการปลูกสร้างและดูแลรักษาสวนยางในโครงการบำรุงรักษาสวนยางและการกรีดยางอย่างถูกวิธีให้กับเกษตรกรผู้ปลูกยางเองและมีเกษตรกรสนใจเข้าร่วมโครงการเป็นอย่างมาก แต่เนื่องจากกำหนดระยะเวลาสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางมีเกษตรกรส่วนหนึ่งพ้นสงเคราะห์จากความดูแลของสำนักงาน
          ดังนั้นศูนย์ปฏิบัติการสงเคราะห์สวนยางจังหวัดชัยภูมิจึงเห็นความสำคัญในฝึกอมรมเจ้าของสวนยาง “หลักสูตรการจัดการสวนยางอย่างยั่งยืน” ให้กับเจ้าของสวนยางที่พ้นสงเคราะห์ขึ้นเพื่อให้สามารถจัดการดูแลรักษาสวนยางจัดการสวนยางอย่างยั่งยืน จนถึงการกรีดยาง และการจัดการเรื่องผลผลิต  ซึ่งจะนำพาเกษตรกรชาวสวนยางให้สามารถอันจะนำไปสู่เป้าหมายร่วมกันคือมีความมั่นคงในอาชีพการทำสวนยาง
 รุ่นที่1 วันที่10 พฤษภาคม 2555 ต.โป่งนก อ.เทพสถิต จ.ชัยภูมิ รุ่นที่ 2 วันที่18 พฤษภาคม 2555 ต.ทุ่งลุยลาย อ.คอนสาร จ.ชัยภูมิ รวมทั้ง 2รุ่น 144 คน


บรรยายการจัดการสวนยางอย่างยั่งยืน

ครูยาง เกษตรกรหัวก้าวหน้า ร่วมถ่ายทอดประสบการณ์


เกษตรให้ความสนใจร่วมเข้ารับฟังแลกเปลี่ยนประสบการณ์กัน

ข่าวประชาสัมพันธ์ ศปจ.ชัยภูมิ ฉบับที่ 7/2555



(ผอ.ศปจ.ชัยภูมิกล่าวเปิดการอบรมติดตายางรุ่นที่1ประจำปีงบประมาณ2555)


จากสถานการณ์ความต้องปลูกยางพาเพิ่มมากขึ้นทั้งประเทศจนเป็นสาเหตุให้ต้นยางชำถุง ซึ่งเป็นวัสดุปลูกยางพาราขาดแคลนและมีราคาสูงจนทำให้ไม่สามารถหาพันธุ์ยางมาปลูกได้ ซึ่งเป็นภาระต่อเกษตรกรในการปลูกสร้างสวนยางเป็นอย่างมาก ทำให้เกษตรชาวสวนยางตื่นตัวและสนใจในการผลิตยางชำถุงใช้เอง โดยการเพาะเมล็ดยางพาราเพื่อทำการติดตาทันใช้ในฤดูปลูกต่อไป
                เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนการขาดแคลนวัสดุปลูกของเกษตรกรและลดต้นทุนการผลิตอีกทั้งยังสามารถนำมาประกอบอาชีพเป็นอาชีพเสริมรายได้ระหว่างรอผลผลิต
          ดังนั้นศูนย์ปฏิบัติการสงเคราะห์สวนยางจังหวัดชัยภูมิจึงเห็นความสำคัญในฝึกอมรมเชิงปฏิบัติการ “การติดตายาง” ให้กับเกษตรที่สนใจขึ้นเพื่อให้สามารถขยายพันธุ์ยางอย่างถูกวิธีและมีประสิทธิภาพและยังเป็นการช่วยเสริมสร้างอาชีพเสริมให้กับเกษตรกรเจ้าของสวนยางและลดต้นทุนการผลิตด้วย ซึ่งจะช่วยให้เกษตรกรชาวสวนยางลดค่าใช้จ่ายในการปลูกสร้างสวนยางและเสริมอาชีพและรายได้ระหว่างรอผลผลิตจากสวนยางอันจะนำไปสู่เป้าหมายร่วมกันคือมีความมั่นคงในอาชีพการทำสวนยาง
  จัดอบรมเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดชัยภูมิทั้งหมด 3 รุ่น ดังนี้

รุ่นที่ 1 จัดอบรม ณ อบต.ซับสีทอง อ.เมือง จ.ชัยภูมิ ระหว่างวันที่ 28-29 ก.พ. 2555 จำนวน 35 คน
อบรมติดตายางรุ่นแรก

วันแรกฝึกปฏิบัติเฉือนแผ่นตา

วันที่สองทดสอบกันในแปลงต้นกล้าวัดฝีมือกันหน่อย สาธิตโดยนายเสวียน เลิศนอก เจ้าของแปลงยางซึ่งเป็นรุ่นพี่ที่เคยอบรมไปก่อนหน้านี้

เสร็จงานเก็บภาพกันนิดนึง

 รุ่นที่ 2 จัดอบรม ณ ต.ถ้ำวัวแดง อ.หนองบัวแดง จ.ชัยภูมิ ระหว่างวันที่ 27-28 มี.ค. 2555 จำนวน 35 คน

วันแรกบรรยายและฝึกเฉือนแผ่นตา

ลงมือกันเลย

ทดลองติดตากับต้นกล้าก่อนลงแปลงติดตา

 รุ่นที่ 3 จัดอบรม ณ อบต.นางแดด อ.หนองบัวแดง จ.ชัยภูมิ ระหว่างวันที่ 29-30 มี.ค. 2555 จำนวน 35 คน

วันแรกบรรยายและฝึกเฉือนแผ่นตา

ปฏิบัติการติดตายาง

ลงแปลงติดตากันเลย

ถ่ายรูปหมูกันหน่อย


วันอังคารที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ข่าวประชาสัมพันธ์ศปจ.ชัยภูมิ ฉบับที่ 6 / 2555


(นายภิญโญ ทองสิงห์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการโรงไฟฟ้าพลังน้ำภาคตะวันออกเฉียงเหนือ-บริหาร ผู้อนุมัติงบประมาณโครงการอบรมในครั้งนี้เดินทางมาเป็นประธานในพิธีเปิดการอบรม)


 ศูนย์ปฏิบัติการสงเคราะห์สวนยางจังหวัดชัยภูมิ ร่วมกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เขื่อนจุฬาภรณ์ อำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ ได้จัดอบรมหลักสูตร”การกรีดยางและการผลิตยางแผ่นคุณภาพดี” ให้กับเกษตรกรในพื้นที่ตำบลทุ่งลุยลายรุ่นที่ 2 ประจำปี 2555 จำนวน 70 คน ในโครงการส่งเสริมองค์ความรู้และภูมิปัญญา พัฒนาสิ่งแวดล้อมและชุมชนในพื้นที่ตำบลทุ่งลุยลายอำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ ภายใต้โครงการ"คน กฟผ. ญาติใกล้ชิด มิตรใกล้บ้าน"ระหว่างวันที่วันที่ 21พฤษภาคม – 26 พฤษภาคม 2555 ณ ศาลาการเปรียญวัดท่งลุยลาย อำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ
อดีตกำนันสาโรจน์ผู้นำกลุ่มทุ่งลุยลายสีเขียวสมาชิกกว่า6,000คนกล่าวรายงานต่อประธานในพิธี

นายประยูร วิลัย หัวหน้ากองโรงไฟฟ้าเขื่อนจุฬาภรณ์ ทำการแทนผู้ว่าการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย มอบมีด อุปกรณ์กรีดยางกับผู้เข้ารับการอบรมกรีดยาง

ทีมงานคณะวิทยากรอบรมกรีดยาง ร่วมถ่ายรูปเป็นที่ระลึก นอกจากนี้ยังมีแนวคิดที่จะสร้างทีมวิทยากรชุดนี้ในหลักสูตรการติดตายาง ซึ่งจะนำทีมงานไปอบรมเข้มที่ศรย.โรงงานต้นแบบสกย.เขาสวน สกย.จ.ขอนแก่น ในอนาคตอันใกล้นี้อีกด้วย

เริ่มการอบรมลับมีดกรีดยาง คุมเข้มด้วยทีมผู้ช่วยวิทยากรกรีดยาง
น้องหมู กนกวรรณ บัณฑิตใหม่วิศวกรรมเคมี เกียรตินิยม สาวน้อย ลูกหลานชาวสวนยาง ตอนนี้ยังสนใจในอาชีพของครอบครัวอันเป็นที่มาของความสำเร็จของตนเองในวันนี้

คุณสมหมายแสนตา แชมป์กรีดยางจังหวัดชัยภูมิ และได้อันดับที่8กรีดยางชิงแชมป์แห่งประเทศไทยปี2550 เป็นผู้ช่วยวิทยากรสาธิตการกรีดยาง

ลุยกันเลยพวกเรา

                 ทั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมองค์ความรู้และภูมิปัญญา ทักษะด้านอาชีพที่มันคงในด้านอาชีพการทำสวนยางพารา ซึ่งปัจจุบันถือได้ว่าเป็นอาชีพหลักและรายได้หลักของชาวทุ่งลุยลายพัฒนาสิ่ง แวดล้อมและชุมชนในพื้นที่ตำบลทุ่งลุยลายและเป็นการลดปัญหาขาดแคลนแรงงานกรีด ยาง ปัญหาการกรีดยางต้นเล็ก หน้ากรีดยางเสียหายและที่สำคัญช่วยให้อาชีพสวนยางพารายั่งยืนยาวนานที่สุด
 โดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เขื่อนจุฬาภรณ์ อำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ ได้ขอรับการสนับสนุนวิทยากรจากศูนย์ปฏิบัติการสงเคราะห์สวนยางจังหวัด ชัยภูมิคือนายทศพล จันทร์ชฎา พนักงานสงเคราะห์สวนยาง 5 ผ่านทางผู้อำนวยการคือนายจตุรงค์ พุ่มศรีสวัสดิ์ ซึงได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างดี

                จากความสำเร็จของโครงการดังกล่าวที่จัดอบรมไปแล้วทั้งหมด 4 รุ่นรวมกว่า 300 คนแล้วในปี 2554ที่ผ่านมา แต่เกษตรกรยังมีความต้องการอีกสูงมากที่มาสมัครเพื่อรอเข้ารับการอบรมอีกล้นหลาม ทำให้ นายพิสุทธิ โชคคติวัฒน์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการโรงไฟฟ้าพลังน้ำ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือปฏิบัติการ ดูแลกำกับ 7 เขื่อนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและเป็นผู้อนุมัติงบประมาณในโครงการดังกล่าว เล็งเห็นความสำคัญการอบรมอาชีพให้กับเกษตรกรในครั้งนี้ ได้มีดำริที่จะจัดให้มีโครงการอบรมกรีดยางในปีงบประมาณ 2555เพิ่มอีก 4 รุ่นและยังจะเพิ่มโครงการต่างๆที่เกษตรกรมีความต้องการตามที่ศปจ.ชัยภูมิเสนอแนะ อาทิ การผลิตยางชำถุงใช้เอง การผลิตผลิตภัณฑ์จากยางพารา เป็นต้น ซึ่งเป็นโครงการเพิ่มเติมนอกเหนือจากโครงการต่างๆที่ทาง กฟผ.ได้จัดทำอยู่แล้วมากมายนับเป็นความสำเร็จอีกขั้นที่สกย.เรายังเป็นที่พึ่งสำหรับพี่น้องชาวสวน ยางพาราและเป็นที่ไว้วางใจและยอมรับจากหน่วยงานภายนอกซึ่งควรดำรงรักษาไว้ เช่นนี้ตลอดไป

วันจันทร์ที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ประมาณการค่าใช้จ่ายในการปลูกสร้างสวนยางพารา

ประมาณการค่าใช้จ่ายในการปลูกสร้างสวนยางพารา


ต้นทุนการปลูกสร้างสวนยางพารา /  ไร่
ประกอบไปด้วย
ปีที่ รายการงาน  /  วัสดุ  ค่าแรง (บาท)   ค่าวัสดุ (บาท)  หมายเหตุ

รวมค่าใช้จ่ายต่อไร่ทั้งสิ้น = 12,073+1440=13,513 บาท
รายละเอียดตามลิงค์นะครับ
http://www.xlstopdf.com/get/?hash=zz%60mbo%3C%0E%0C%08%10%01%5B%14%17%1AIM%B1%E1%E4%B9%B5%A7%A5

สกย.เปิดรับสมัครบุคคลเข้าเป็นพนักงาน

สกย.เปิดรับสมัครบุคคลเข้าเป็นพนักงาน

วันศุกร์ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ข่าวประชาสัมพันธ์ ศปจ.ชัยภูมิ ฉบับที่ 5/2555


          ศูนย์ปฏิบัติการสงเคราะห์สวนยางจังหวัดชัยภูมิ นำโดยนายจตุรงค์ พุ่มศรีสวัสดิ์ ผอ.ศูนย์ปฏิบัติการสงเคราะห์สวนยางจังหวัดชัยภูมิ ได้ดำเนินการประชุมคณะอนุกรรมการโครงการพัฒนาศักยภาพสถาบันเกษตรกรเพื่อรักษาเสถียรภาพราคายางจังหวัดชัยภูมิ ครั้งที่ 2/ 2555 วันศุกร์ที่ 4 พฤษภาคม 2555 เวลา10.00น. ณ ห้องประชุมสำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดชัยภูมิ โดยมีนายบรรยงค์ วงศ์กนิษฐ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดชัยภูมิ ประธานคณะอนุกรรมการเป็นประธานในการประชุม โดยในการประชุมครั้งนี้ได้หารือถึงเรื่องแผนธุรกิจที่จะเป็นข้อมูลให้ ธ.ก.ส. ใช้ในการพิจารณาวงเงินสินเชื่อ และการกำหนดเพดานสินเชื่อของแต่ละสหกรณ์ฯตามศักยภาพในการให้ผลผลิตยางพาราในรูปแบบต่าง ๆ การบันทึกบัญชี การตรวจบัญชี วิธีการและเกณฑ์ในการจ่ายเงินของธ.ก.ส. ด้วย โดยมติในที่ประชุมครั้งนี้จะนำเข้าที่ประชุมเพื่อพิจารณาในการประชุมครั้งต่อไป...
ภาพบรรยากาศการประชุม...

เตรียมพร้อมก่อนการประชุมในด้านเอกสาร, power point และการลงชื่อเข้าร่วมประชุมของคณะอนุกรรมการ
นายบรรยงค์  วงกนิษฐ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดชัยภูมิ กล่าวเปิดการประชุม
หารือเรื่องการจัดทำแผนธุรกิจเพื่อกำหนดเพดานของการอนุมัติสินเชื่อของธ.ก.ส.
ตัวแทนจากธ.ก.ส. ชี้แจงการอนุมัติและการจ่ายสินเชื่อ รวมถึงหลักเกณฑ์ในการตรวจสอบต่าง ๆ
นายบรรยงค์  วงศ์กนิษฐ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดชัยภูมิ ประธานในที่ประชุมสรุปมติในการประชุมและกล่าวปิดประชุม

ข่าวประชาสัมพันธ์ศปจ.ชัยภูมิ ฉบับที่ 4 / 2555


                  ศูนย์ปฏิบัติการสงเคราะห์สวนยางจังหวัดชัยภูมิ นำโดยนายจตุรงค์ พุ่มศรีสวัสดิ์ ผอ.ศูนย์ปฏิบัติการสงเคราะห์สวนยางจังหวัดชัยภูมิได้จัดประชุมคณะอนุกรรมการโครงการพัฒนาศักยภาพสถาบันเกษตรกรเพื่อรักษาเสถียรภาพราคายางจังหวัดชัยภูมิ ครั้งที่ 1/ 2555 วันอังคารที่ 3 เมษายน 2555 เวลา10.00น. ณ ห้องประชุมสำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดชัยภูมิ โดยมีนายบรรยงค์ วงศ์กนิษฐ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดชัยภูมิ เป็นประธานคณะอนุกรรมการ
                  ท้งนี้เพื่อชี้แจงคำสั่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ให้คณะอนุกรรมการทราบ วัตถุประสงค์ของโครงการ รวมทั้งรายละเอียดโครงการ หลักเกณฑ์และเงื่อนไข บทบาทหน้าที่ของแต่ละหน่วยงานรวมทั้งหลักเกณการสมัครเข้าร่วมโครงการ และพิจารณากำหนดวันเวลารับสมัครผู้ที่ประสงค์เข้าร่วมโครงการพัฒนาศักยภาพสถาบันเกษตรกรเพื่อรักษาเสถียรภาพราคายางจังหวัดชัยภูมิ  เริ่มตั้งแต่วันที่3 เมษายน 2555 ถึงวันที่30ธันวาคม  2555นี้
สนใจสมัครได้ที่ศูนย์ปฏิบัติการสงเคราะห์สวนยางจังหวัดชัยภูมิ โทร 044-813314
นายบรรยงค์ วงศ์กนิษฐ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดชัยภูมิ เป็นประธานคณะอนุกรรมการ เปิดประชุม

นายจตุรงค์ พุ่มศรีสวัสดิ์ ผอ.ศูนย์ปฏิบัติการสงเคราะห์สวนยางจังหวัดชัยภูมิ เลขาคณะอนุกรรมการโครงการพัฒนาศักยภาพสถาบันเกษตรกรเพื่อรักษาเสถียรภาพราคายางจังหวัดชัยภูมิ ชี้แจงรายงานต่อที่ประชุม

ภาพบรรยากาศการประชุมประกอบด้วยหัวหน้าส่วนงานที่เกี่ยวข้องในจังหวัดชัยภูมิ

ผลการประชุมนัดแรกผ่านลุล่วงไปด้วยดี