วันพุธที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ศักยภาพการผลิตยางพาราของจังหวัดชัยภูมิ


ข่าวประชาสัมพันธ์ ศปจ.ชัยภูมิ ฉบับที่ 18 / 2555


ถ่ายรูปรวมหลังเสร็จสิ้นการอบรม


  • ศูนย์ปฏิบัติการสงเคราะห์สวนยางจังหวัดชัยภูมิ
  • สกย.พร้อมเคียงข้างเกษตรกรเพื่อพัฒนาอาชีพของเกษตรกรเน้นให้เกษตรกมีส่วนพัฒนาตามแนวทางให้เกษตรกดูแลกันเองในฐานะครูยาง
คณะครูยางศปจ.ชัยภูมิ

  • ศูนย์ปฏิบัติการสงเคราะห์สวนยางจังหวัดชัยภูมิจัดอบรมครูยางประจำปี 2555 โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการครูยางหลักสูตรการปลูกสร้างสวนยางพาราในพื้นที่แห่งใหม่ การติดตายางการวินิจฉัยโรคยางเบื้องต้น สำหรับครูยางรุ่นปี55 ครั้งที่ 2,3และ 4 
เชิญเข้าอบรมกันนะคะ

  • ด้วยพื้นที่จังหวัดชัยภูมิ เป็นพื้นที่แหล่งปลูกยางพาราใหม่ ซึ่งเกษตรกรยังขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องการปลูกสร้างสวนยางพาราและการจัดการสวนยางพาราอย่างมีประสิทธิภาพ ประกอบกับในภาวะปัจจุบัน เกษตรกรได้เริ่มให้ความสนใจอย่างจริงจังและหันมาประกอบอาชีพการทำสวนยางพารามากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นโครงการปลูกยางเพื่อยกระดับรายได้และความมั่นคงให้แก่เกษตรกรในแหล่งปลูกยางใหม่ ระยะที่ ๑ (พ.ศ. ๒๕๔๗ – ๒๕๔๙), โครงการบำรุงรักษาสวนและการกรีดยางอย่างถูกวิธีเพื่อเพิ่มผลผลิต และโครงการปลูกยางพาราในที่แห่งใหม่ ระยะที่ ๓ (พ.ศ.๒๕๕๔-๒๕๕๖) หรือสวนยางที่เกษตรกรปลูกด้วยทุนตนเอง    เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมและเพิ่มความรู้ความเข้าใจให้กับเกษตรกรในพื้นที่ปลูกยางใหม่อย่างแท้จริง ศูนย์ปฏิบัติการสงเคราะห์สวนยางจังหวัดชัยภูมิ จึงได้คัดเลือกเกษตรกรเพื่อทำหน้าที่เป็นครูยาง ตามนโยบายของสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง ประจำปี ๒๕๕๕ จำนวน ๒๐ คน (มีอยู่แล้ว รุ่นปี ๒๕๕๔ จำนวน ๒๐ คน รุ่นปี ๒๕๕๓ จำนวน ๑๐ คน รวมจำนวนทั้งสิ้น ๕๐ คน)
ครูยางจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาองค์ความรู้ด้านยางพาราอย่างครบวงจร เพื่อให้ครูยางมีความสามารถในการทำหน้าที่ช่วยพนักงานของสกย.ในการแนะนำ ส่งเสริมอาชีพการทำสวนยางได้อย่างมีประสิทธิภาพ ศปจ.ชัยภูมิ จึงจำเป็นต้องให้การฝึกอบรมพัฒนาเพิ่มพูนความรู้และทักษะในการปลูกสร้างสวนยางให้แก่ครูยาง ให้มีความเชี่ยวชาญยิ่งขึ้น เพื่อให้อาชีพการทำสวนยางมั่นคง ยั่งยืนยิ่งขึ้น
ภาพบรรยากาศวันอบรมครูยาง
อธิบายการสร้างแปลงขยายพันธุ์ยางการติดตายางพารา

ฝึกปฏิบัติการเฉือนแผ่นตา

ฝึกติดตาต้นยางชำถุง

อธิบายการติดตายาง

ไหวกันมั้ยครับเนี่ย


พี่สมคิดครูยางจาก อ.หนองบัวระเหว


อ.ทองม้วน ครูยางอ.คอนสวรรค์

วันจันทร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ข่าวประชาสัมพันธ์ ศปจ.ชัยภูมิ ฉบับที่ 17 / 2555


(นายอั้น ภู่รุ่งฤทธิ์ ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางจังหวัดนครราชสีมา ได้ให้เกียรติมาพบปะกับคณะคณะวิทยากรครูยางและกล่าวให้โอวาท)


  • สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางจังหวัดนครราชสีมา และศูนย์ปฏิบัติการสงเคราะห์สวนยางจังหวัดชัยภูมิ จัดอบรมครูยางประจำปี 2555 โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการครูยางหลักสูตรวิทยากรการกรีดยางพารา
ครูยางต่างให้ความสนใจและสอบถามถึงสถานการณ์ยางพารา

การกรีดยางพาราเป็นอีกทักษะหนึ่งที่เกษตรกรเจ้าของสวนยางต้องฝึกฝนเรียนรู้ถึงขั้นตอนวิธีการปฏิบัติ เพราะถือเป็นขั้นตอนหนึ่งที่มีความสำคัญยิ่ง  ทั้งในด้านคุณภาพและปริมาณผลผลิต รายได้ของเกษตรกรเพื่อให้ต้นยางสามารถให้ผลผลิตแก่เกษตรกรได้ตลอดระยะเวลา  ๒๕-๓๐ ปี 
ครูยางซึ่งเป็นตัวแทนของเจ้าหน้าที่ในพื้นที่จึงควรมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเพื่อที่จะได้ทำการถ่ายทอดให้แก่เกษตรกรในพื้นที่ได้อย่างถูกต้อง  ดังนั้นสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางจังหวัดนครราชสีมาจึงได้จัดอบรมหลักสูตรดังกล่าวขึ้นเพื่อเป็นการเพิ่มพูนความรู้ให้แก่ครูยางเพื่อนำไปใช้เผยแพร่ในพื้นที่และเป็นวิทยากรในการอบรมการรกรีดยางพารา
ครูยาง สกย.จ.นครราชสีมา และ ศปจ.ชัยภูมิ จำนวน ๒๕ คน
  • สถานที่จัดการฝึกอบรมเข้มในครั้งนี้คือสำนักงานพัฒนาที่ดิน เขต ๓ (นครราชสีมา)  ต.จอหอ  อ.เมือง  จ.นครราชสีมา ซึ่งเป็นอีกหนึ่งหน่วยงงานที่ร่วมทำ mou กับสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางเรา
  • ทีมงานทีมวิทยากรครั้งนี้นำทีมโดย
นายสมเจตน์  อริยกุลนิมิต  ผช.ผอ.สกย.จ.นครราชสีมา
นายโกมล  อินทนุพัฒน์     หผ.ปฏิบัติการ  สกย.จ.นครราชสีมา
นายพงศ์ศักดิ์  ธรรมวิสุทธิ์  พสย.๕  สกย.จ.นครราชสีมา
นายทศพล  จันทร์ชฎา      พสย.๕  ศปจ.ชัยภูมิ
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
 ผู้ผ่านการฝึกอบรมสามารถเป็นวิทยากรกรีดยางพาราได้อย่างถูกวิธี
         จังหวัดนครราชสีมามีแรงงานกรีดยางที่ได้มาตรฐานเพิ่มขึ้น
         สวนยางที่เปิดกรีดในความรับผิดชอบของ สกย.จ.นครราชสีมา มีอายุการเก็บเกี่ยวผลผลิต ยาวนานขึ้น
ภาพบรรยากาศการอบรมวิทยากรกรีดยางครูยาง สกย.นครราชสีมา

นายสมเจตน์ อริยกุลนิมิต ผช.ผอ.สกย.จ.นครราชสีมา เริ่มบรรยายหลักสูตรวิทยากรการกรีดยางพารา 

ฝึกการพูดต่อหน้าชุมชนและการถ่ายทอดความรู้

ครูยางสาวจากโคราชและชัยภูมิร่วมอธิบายหลักการลับมีดกรีดยาง

ฝึกอธิบายการลับมีดกรีดยางครูยางจากศปจ.ชัยภูมิ

เตรียมความพร้อมก่อนการบรรยายการกรีดยาง


อาจารย์จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี กล่าวแนะนำมหาวิทยาลัยครบรอบ20ปี ร่วมให้การสนับสนุนอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับการอบรมวิทยากรครูยางและในฐานะทำMOUกับสกย.นครราชสีมา ปลูกยางพารา100ไร่

นายพงศ์ศักดิ์ ธรรมวิสุทธิ์ พสย.๕ สกย.จ.นครราชสีมา วิทยากรบรรยายพิเศษเรื่องกายวิภาคต้นยางพาราและการกรีดยางพารา

คุณฉัตรชัย พงษ์ศิริ ครูยางจ.ชัยภูมิอดีตนายตำรวจปัจจุบันเป็นเกษตรกรเจ้าของสวนยางพารา อ.เทพสถิตและทำหน้าที่ครูยาง 

ถ่ายภาพที่ระลึกหลังเสร็จสิ้นการอบรม

วันศุกร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ข่าวประชาสัมพันธ์ ศปจ.ชัยภูมิ ฉบับที่ 16 / 2555


นายพงศกร เรืองมนตรี วิศวกรระดับ9 หัวหน้ากองโรงไฟฟ้าเขื่อนจุฬาภรณ์ ทำการแทนผู้ว่าการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ประธานเปิดการอบรมกรีดยาง


  • ศูนย์ปฏิบัติการสงเคราะห์สวนยางจังหวัดชัยภูมิ ร่วมกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เขื่อนจุฬาภรณ์ อำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ ได้จัดอบรมหลักสูตร”การกรีดยางและการผลิตยางแผ่นคุณภาพดี” ให้กับเกษตรกรในพื้นที่ตำบลทุ่งลุยลายรุ่นที่ 3 ประจำปี 2555 จำนวน 70 คน ในโครงการส่งเสริมองค์ความรู้และภูมิปัญญา พัฒนาสิ่งแวดล้อมและชุมชนในพื้นที่ตำบลทุ่งลุยลายอำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ ภายใต้โครงการ"คน กฟผ. ญาติใกล้ชิด มิตรใกล้บ้าน"ระหว่างวันที่วันที่ 18มิถุนายน – 24 มิถุนายน 2555 ณ ศาลาการเปรียญวัดท่งลุยลาย อำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ
คณะวิทยากรกล่าวรายงานโครงการอบรมหลักสูตรการกรีดยางอย่างถูกวิธี

  • ทั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมองค์ความรู้และภูมิปัญญา ทักษะด้านอาชีพที่มันคงในด้านอาชีพการทำสวนยางพารา ซึ่งปัจจุบันถือได้ว่าเป็นอาชีพหลักและรายได้หลักของชาวทุ่งลุยลายพัฒนาสิ่ง แวดล้อมและชุมชนในพื้นที่ตำบลทุ่งลุยลายและเป็นการลดปัญหาขาดแคลนแรงงานกรีด ยาง ปัญหาการกรีดยางต้นเล็ก หน้ากรีดยางเสียหายและที่สำคัญช่วยให้อาชีพสวนยางพารายั่งยืนยาวนานที่สุด
นายพงศกร เรืองมนตรี วิศวกรระดับ9 หัวหน้ากองโรงไฟฟ้าเขื่อนจุฬาภรณ์ ทำการแทนผู้ว่าการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ประธานกล่าวเปิดการอบรมกรีดยาง

  • โดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เขื่อนจุฬาภรณ์ อำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ ได้ขอรับการสนับสนุนวิทยากรจากศูนย์ปฏิบัติการสงเคราะห์สวนยางจังหวัด ชัยภูมิคือนายทศพล จันทร์ชฎา พนักงานสงเคราะห์สวนยาง 5 ผ่านทางผู้อำนวยการคือนายจตุรงค์ พุ่มศรีสวัสดิ์ ซึงได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างดี
  • ภาพบรรยากาศการอบรมกรีดยาง
                

เกษตรกรชาวสวนยางเข้าร่วมอบรมกรีดยางรุ่นที่ 3 / 2555

ประธานมอบอุปกรณ์กรีดยาง

นายทศพล จันทร์ชฎา วิทยากรจากศปจ.ชัยภูมิ มอบของที่ระลึกให้กับประธานในพิธี

บรรยากาศวันที่สอง ไม้ยางขนส่งมาจากจ.ระยองโดยรถของ กฟผ.เขื่อนจุฬาภรณ์

คณะทีมงานวิทยากรผู้ช่วยและทีมงานกฟผ.ร่วมเล่นเกมส์กับผู้เข้ารับการอบรม

เอ้าสู้ๆ

ตั้งใจกรีดกันน่าดู

รางวัลสำหรับการทุ่มเทตั้งใจฝึกอบรมและผ่านการอบรม

บัตรประจำตัวผู้ผ่านการอบรมกรีดยาง


วันอาทิตย์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ข่าวประชาสัมพันธ์ ศปจ.ชัยภูมิ ฉบับที่ 15 / 2555


ศูนย์ปฏิบัติการสงเคราะห์สวนยางจังหวัดชัยภูมิ ร่วมกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เขื่อนจุฬาภรณ์ อำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิและ ศูนย์เรียนรู้ยางพารา อ.เขาสวนกวางจ.ขอนแก่น สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางจังหวัดขอนแก่นอบรมเกษตรกรหลักสูตรพิเศษ ประจำปี 2555 โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการเป็นวิทยากรติดตายาง


เราพร้อมเสมอค้าบ

  • ศูนย์ปฏิบัติการสงเคราะห์สวนยางจังหวัดชัยภูมิ ร่วมกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เขื่อนจุฬาภรณ์ อำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิและ ศูนย์เรียนรู้ยางพารา อ.เขาสวนกวางจ.ขอนแก่น สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางจังหวัดขอนแก่น จัดอบรมเกษตรกรหลักสูตรพิเศษ ประจำปี 2555 โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการเป็นวิทยากรติดตายาง
ติวเข้มกันหน่อยจากวิทยากรประจำ ศรย.

  • ที่มาของโครงการคือการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เขื่อนจุฬาภรณ์ อำเภอคอนสารและศูนย์ปฏิบัติการสงเคราะห์สวนยางจังหวัดชัยภูมิ ได้จัดอบรมหลักสูตร”การกรีดยางและการผลิตยางแผ่นคุณภาพดี” ให้กับเกษตรกรในพื้นที่ตำบลทุ่งลุยลาย ในโครงการส่งเสริมองค์ความรู้และภูมิปัญญา พัฒนาสิ่งแวดล้อมและชุมชนในพื้นที่ตำบลทุ่งลุยลายอำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ ภายใต้โครงการ"คน กฟผ. ญาติใกล้ชิด มิตรใกล้บ้าน"ตั้งแต่ปี 2554 ทั้งหมด 4 รุ่นกว่า 280 คนและปี 2555 อีก 4 รุ่นจำนวน 280 คน หลังจากการอบรมหลักสูตรดังกล่าวแล้วจึงมีแนวคิดที่จะเสริมองค์ความรู้เรื่องยางพารให้ครบวงจรในเรื่องการติดตายาง กระบวนการผลิตยางชำถุงเพื่อแก้ไขปัญหาเรื่องกล้ายางพาราราคาสูงให้กับชุมชน
  • และเพื่อให้เกิดการอบรมที่มีประสิทธิภาพและยั่งยืน จึงมีแนวคิดที่จะสร้างวิทยากรติดตายางในพื้นที่มาช่วยในการอบรมร่วมกับเจ้าหน้าที่ในการอบรมซึ่งทำได้ประสพความสำเร็จด้วยดีมาแล้วสำหรับโครงการอบรมการกรีดยางพาราอย่างถูกวิธีเพื่อรองรับความต้องการการอบรมในอนาคต ซึ่งลำพังเจ้าหน้าที่จากศูนย์ปฏิบัติการสงเคราะห์สวนยางจังหวัดชัยภูมิ ไม่เพียงพอครอบคลุมการอบรมได้ทั้งหมด
  • ศูนย์ปฏิบัติการสงเคราะห์สวนยางจังหวัดชัยภูมิ จึงได้ประสานความร่วมมือกับศูนย์เรียนรู้ยางพารา อ.เขาสวนกวางจ.ขอนแก่น สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางจังหวัดขอนแก่น ภายใต้การนำของคุณพี่โกศล บุญคง จัดหลักสูตรดังกล่าวขึ้น ในช่วงวันที่ 11-13 มิถุนายน 2555 ซึงต้องขอบพระคุณทีมงานทุกท่านที่ทำให้การอบรมครั้งนี้ประสพความสำเร็จด้วยดีและหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้รับความสนับสนุนด้วยดีเช่นนี้ตลอดไป
  • นับเป็นอีกก้าวหนึ่งของการประสานพลังในการทำงานและการใชั้ทรัพยากรร่วมกันของทุกภาคส่วนครับผม
  • ภาพบรรยากาศการอบรมหลักสูตรวิทยากรติดตายาง(ขอบคุณภาพจาก ศรย.เขาสวนกวาง สกย.จ.ขอนแก่น)

ฝึกการเป็นวิทยากร

แปลงสำหรับฝึกติดตายาง

พี่สุนทร วิทยากรผู้เชี่ยวชาญ ให้เกียรติมอบมอบใบประกาศผ่านการอบรมเข้ม

ผช.สกย.จ.ขอนแก่น ให้เกียรติมอบใบประกาศกับผู้ผ่านการอบรม

ร่วมถ่ายรูปเป็นที่ระลึกกันหน่อย

ความร่วมมือของ3หน่วยงานและตัวแทนภาคเกษตรกรประสพผลสำเร็จด้วยดีครับ ขอบพระคุณทุกท่าน 

ศูนย์ปฏิบัติการสงเคราะห์สวนยางจังหวัดชัยภูมิ เราสัญญาว่าจะพัฒนาก้าวต่อไปและให้ความสำคัญกับเกษตรกรเจ้าของสวนยางตลอดไปและรอติดตามหลักสูตรต่อไปสำหรับการติดตายางกับทีมวิทยากรผู้ช่วยที่ผ่านการอบรมเรียบร้อยแล้วค้าบ....

วันเสาร์ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ตารางแสดงข้อมูลด้านยางพาราปี 2554 จังหวัดชัยภูมิ


ตารางแสดงข้อมูลด้านยางพาราปี 2554
จังหวัดชัยภูมิ
ลำดับ
อำเภอ
สวนยางอ่อน
สวนยางเปิดกรีด
จำนวนพื้นที่ทำการ
ผลิตทั้งหมด (ไร่)
จำนวนเกษตรกรที่
ขึ้นทะเบียน (ราย)
ช่วงฤดูกาลผลผลิต
ออกสู่ตลาด (เดือน)
ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่
(ตัน)/ปี
ปริมาณผลผลิต
(ตัน)
ราคายางพารา
(บาท/ตัน)
ราย
ไร่
ราย
ไร่
1.
เมือง
357
9,520.45
14
315
9,835.45
371
พค.-กพ.
0.23
72.45
109,000
2.
บ้านเขว้า
23
245
3
84
329
26
พค.-กพ.
0.23
19.32
109,000
3.
คอนสวรรค์
9
107
12
166
273
21
พค.-กพ.
0.23
38.18
109,000
4.
เกษตรสมบูรณ์
517
7,888.70
272
2,282
10,170.70
789
พค.-กพ.
0.23
524.86
109,000
5.
หนองบัวแดง
182
2,638.85
153
1445
4,083.85
335
พค.-กพ.
0.23
352.35
109,000
6.
จัตุรัส
9
92
-
-
92
9
พค.-กพ.
-
-
-
7.
บำเหน็จณรงค์
1
63
1
20
83
2
พค.-กพ.
0.23
4.6
109,000
8.
หนองบัวระเหว
11
244.40
9
135
379.40
20
พค.-กพ.
0.23
31.05
109,000
9.
เทพสถิต
225
2,915.50
33
474
3,389.50
258
พค.-กพ.
0.23
109.02
109,000
10.
ภูเขียว
49
527
12
190
717
61
พค.-กพ.
0.23
43.70
109,000
11.
บ้านแท่น
42
408
2
29
437
44
พค.-กพ.
0.23
6.67
109,000
12.
คอนสาร
425
10,974.75
324
3,454
14,428.75
749
พค.-กพ.
0.23
794.42
109,000
13.
แก้งคร้อ
152
3,114
4
98
3,212
156
พค.-กพ.
0.23
22.54
109,000
14.
ภักดีชุมพล
146
2,168
4
42
2,210
150
พค.-กพ.
0.23
9.66
109,000
15.
เนินสง่า
1
15
11
100
115
12
พค.-กพ.
0.23
23.0
109,000
16.
ซับใหญ่
3
32
-
-
32
3
พค.-กพ.
-
-
-
รวม
2,152
40,953.65
854
8,834
49,787.65
3,006
พค.-กพ.
0.23
2,031.82


ที่มา : ศูนย์ปฏิบัติการสงเคราะห์สวนยางจังหวัดชัยภูมิ  ข้อมูล ณ วันที่ 1 พฤศจิกายน 2554
หมายเหตุ : ใช้แบบฟอร์ม 1 ชุด ต่อ 1 ปี                                                                                    หมายเหตุ      -ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ (ตัน/ปี) ที่มาจาก สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรปี 2552  225 กก./ไร่
-ราคายางพารา (บาท/ตัน) ที่มาจาก ราคาตลาดยางหาดใหญ่ ปี 52-54 ยางแผ่นดิบชั้น 3   โดยเฉลี่ย