วันศุกร์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2551

ยางพารากู้วิกฤติโลกรอน

" ยางพารากู้ภาวะวิกฤติ โลกร้อน"
เรื่ อง/ภาพ : วิ ชิต สุวรรณปรีชา
ลกสีนํ้าเงินใบนี้... เปรียบเสมือนบ้านหลังใหญ่ของสิ่งมีชีวิต
เป็นบ้านที่มีระบบปรับสภาพแวดล้อมให้เกิดสมดุลอัตโนมัติ มีความเหมาะสม ต่อการพำนักพักพิงอาศัย สมาชิกต่างดำรงตนแบบเกื้อกูลซึ่งกันตลอดเสมอมา
มนุษย์ สัตว์ แมลง จุลชีพ ฯลฯ ล้วนแต่เป็นสมาชิกของบ้านหลังนี ้ ที่อยู ่ร่วมกัน ทำหน้าที่ต่างกัน แต่เอื้อซึ่งกันและกัน มาช้านานนับล้านปี อย่างมีความสุข
ต่แล้วด้วยความรุ่งเรืองของอารย รรมมนุษย์ นุษย์กลับเป็นผู้ทำลายบ้านของ นเอง ทีละเล็กละน้อยค่อยเป็นค่อยไปโดยไม่ สึกตัวเพื่อสนองความรุ่งเรืองนั้น จากจุดเล็กๆ ขยายตัวเป็นวงกว้างยิ่งขึ้นตามกาลเวลา ยิ่งปัญหาทวีสะสมเนิ่นนานมากขึ้นเท่าใด ความรุนแรง ความเสียหายยิ่ง ซับซ้อนมากขึ้นเท่านั้น กระทั่งระบบปรับสมดุลสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ ไม่สามารถทำงานได้ทันตามที่ควร เป็น
โลกเริ่มส่งสัญญาณให้มนุษย์รับรู้ ด้วยความแปรปรวนของธรรมชาติที่นับวันยิ่งผิดปกติถี่ยิ่งขึ้น
ผลกระทบอย่างใหญ่หลวงที่ก่อเกิดแก่โลกใบนี ้ ดังทราบกันดี คือ ปัญหาโลกร้อน
ปัญหาโลกร้อนคงไม่เกิดขึ้น หากผืนโลกมีป่ าไม้มากเพียงพอ และมนุษย์ไม่ปลดปล่อยพลังความร้อน และ ก๊าซเรือนกระจก ในปริมาณมากมายมหาศาล เกินความสามารถเยียวยารักษาความสมดุลทางธรรมชาติไว้ได้
แนวทางหนึ่งที่แก้ปัญหาได้ คือการเร่งฟื้ นฟูป่ าไม้ ขึ้นทดแทนป่ าเดิมในพื้นที่ ที่มนุษย์ได้ทำลายไป
ป่ าไม้ปลูกที่บังเกิดผล ต้องเป็นป่ าไม้เศรษฐกิจที่มนุษย์ได้รับผลประโยชน์ ต่อเนื่องเท่านั้น จึงจะแน่ใจได้ว่าป่ านั้นไม่ถูกทำลายไปอีก
ในบรรดาพืชที่มีศักยภาพเพียงพอตามที่กล่าวมา คงหนีไม่พ้นพืชที่ เรียกว่า ยางพารา อันเป็นพืชที่ผูกพันอย่างแนบแน่นกับชีวิตประจำวันของ มนุษยชาติ
แหล่งความร้อนบนพื้นผิวโลกตามธรรมชาติ
ความร้อนบนพื้นผิวโลกที่เกิดตามธรรมชาติ มาจาก 3 แหล่งใหญ่ ได้แก่ รังสีความร้อนจากดวงอาทิตย์ พลัง ความร้อนจากกัมมันตภาพรังสีภายในโลกสลายตัว ความร้อนจากภูเขาไฟระเบิด และหินละลายใต้เปลือกโลกที่ แทรกตัวขึ้นมาตามรอยแยกก้นมหาสมุทร
ความร้อนส่วนหนึ่งกระจายสู่อวกาศ บางส่วนถูกกักเก็บไว้ในชั้นบรรยากาศ ความร้อนในชั้นบรรยากาศ นี้เองที่สะท้อนกลับลงสู่พื ้นผิวโลก ทำให้อุณหภูมิโลกสูงขึ้น
ความร้อนที่เกิดตามธรรมชาติโลกมีกลไกกําจัดด้วยตนเอง ส่วนหนึ่งกระจาย สู่อวกาศ บางส่วนถูกกักเก็บไว้ในชั้นบรรยากาศ และสะท้อนกลับสู่ผิวโลก ช่วยให้ อุณหภูมิโลกอบอุ่นพอเหมาะ
ปัญหาโลกร้อนคงไม่เกิดขึ้น หากพื้นผิวโลกมีป่ าไม้ไว้ดูดซับคาร์บอน พร้อม กับค่อยๆปลดปล่อยความชื้นสู่บรรยากาศ มากเพียงพอ และมนุษย์ไม่ปลดปล่อยพลัง ความร้อน รวมถึงก๊าซเรือนกระจก ในปริมาณมากมายมหาศาล เกินกว่าความสามารถ เยียวยารักษาความสมดุลทางธรรมชาติไว้ได้
ปัญหาโลกร้อนเกิดจากสองสาเหตุหลัก
สาเหตุประการแรกเกิดจากโลกไม่สามารถสะท้อนและปลดปล่อยความร้อนออกไปนอกโลกได้ เนื่องจาก ความหนาแน่นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่มนุษย์ปลดปล่อยออกมาปีละมากมาย ลอยมารวมตัวสะสมบนชั้น บรรยากาศ เกิดการกักกันความร้อนเอาไว้ ไม่ให้กระจายสู่อวกาศนอกโลก ปรากฏการณ์นี้เรารู้จักกันในนาม “ภาวะ เรือนกระจก ”
สาเหตุอีกประการหนึ่ง เกิดจากชั้นโอโซนของโลกซึ่งทำหน้าที่กรองความร้อน และรังสียูวีถูกทำลายเกิด ช่องโหว่เป็นจำนวนมากด้วยสารซีเอฟซี ทำให้โลกได้รับความร้อนและรังสีอุลตราไวโอเล็ต หรือ ยูวี มากขึ้น
ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ถือเป็นปัญหาหลัก เพราะถูกปลดปล่อยอยู่ทุกวันเป็นจำนวนมหาศาล จากการใช้ พลังงานของโรงงานอุตสาหกรรม และยานยนต์
สำหรับประเทศไทยปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์สู่อากาศปีละกว่า170 ล้านตัน หรือเพียงร้อยละ 0.6 ของการ ปลดปล่อยทั้งโลก เป็นอันดับหนึ่งของเอเชียอาคเนย์
ปัญหาโลกร้อนเกิดจากนํ้ามือมนุษย์
ช่วง 50 ปีย้อนหลัง ประชากรโลกเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว จากจำนวนประมาณ 2,900 ล้านคน ในปีพ.ศ. 2500 เป็นประมาณ 6,700 ล้านคน ในปีพ.ศ. 2550
ประชากรที่ขยายเพิ่มขึ้นย่อมต้องการพื้นที่มากเพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว เพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัย และดำรงชีพ ประจำวัน ด้านเกษตรกรรมต้องบุกรุกป่ า เผาป่ า เพื่อขยายพื้นที่เพาะปลูก ด้านอุตสาหกรรมต้องการพลังงานเพื่อ เดินเครื่องจักร ผนวกกับการเผาไหม้เชื้อเพลิง เพื่อการคมนาคมและขนส่ง ทั้งหลายทั้งปวงนี้ล้วนเป็นสาเหตุหลักที่ ก่อเกิดความร้อน ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และก๊าซมีเทน จนสร้างปัญหาความร้อนสะสมในชั้นบรรยากาศ อัน ส่งผลกระทบต่อโลกอย่างรุนแรงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนเกิดการเปลี่ยนแปลงในลักษณะที่อาจเป็นอันตรายต่อมนุษย์ อาทิ การเปลี่ยนแปลงทางธรณีวิทยา การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การเปลี่ยนแปลงทางชีววิทยา ปรากฏการณ์ น้าแข็งขั้วโลกละลาย ธารน้าแข็งละลาย ฝนตกไม่สม่าเสมอ ผิดฤดูกาล น้าทะเลหนุน เกิดการกัดเซาะชายฝั่ง และอีก สารพัดปลายเหตุ
แนวทางหนึ่งในการช่วยแก้ปัญหา คือการเร่งฟื้ นฟูป่ าไม้ในพื้นที่มนุษย์ทำลาย ให้ได้ผืนป่ าคืนมา
ป่ ากับการดูดซับคาร์บอน
ประสิทธิภาพการดูดซับคาร์บอนของพื้นที่ต่างๆ
ระบบ
ตันคาร์บอนต่อไร่
ป่ าสมบูรณ์
48.96
ป่ าใช้สอย
14.88
สวนยางระบบวนเกษตร(พืชถาวร)
14.24
สวนยางระบบวนเกษตร(พืชหมุนเวียน)
7.36
ปาล์มน้ามัน
8.64
สวนป่ าไม้เยื่อกระดาษ
5.92
พืชไร่ / ทุ่งหญ้า
0.32
ที่มา: Hairiah et al ( 2544 )
ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ประกอบด้วยคาร์บอนและก๊าซออกซิเจน อัน เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของสิ่งมีชีวิต และ สามารถเคลื่อนย้ายแลกเปลี่ยนไปมาระหว่าง ร่างกายของสิ่งมีชีวิตและอากาศ กล่าวอีกนัย หนึ่งคาร์บอนไดออกไซด์เป็นของเสียจากการ หายใจของมนุษย์และสัตว์ แต่กลับเป็นแหล่ง อาหารสำคัญของพืช ดังนั้นพืชจึงเป็นแหล่ง ดูดซับคาร์บอนที่สำคัญนั่นเอง
ยิ่งพื้นที่ใดมีความหลากหลายทางชีวภาพของพืชมาก ที่นั้นย่อมมีความสามารถในการดูดซับมากขึ้นเท่านั้น
และพื้นที่ที่มีความหลากหลายสูงก็คือพื้นที่ป่ าซึ่งมีต้นไม้ขนาดใหญ่จำนวนมากนั่นเอง ป่ าจึงถือได้ว่าเป็นแอ่งดูดซับ คาร์บอน ( Carbon sink ) แหล่งใหญ่ของโลก หากจะเป็นรองก็เพียงมหาสมุทรซึ่งมีพื้นที่กว้างกว่าเท่านั้น
ศักยภาพเชิงนิเวศน์ด้านการดูดซับคาร์บอน ขึ้นกับชนิดและองค์ประกอบทางสายพันธุ์พืช ตลอดจนอายุ ของพืช สภาพดิน การรบกวนธรรมชาติ และระบบการจัดการ
สำหรับพื้นที่เกษตรกรรม การทำพืชไร่ให้ผลด้านดูดซับปริมาณคาร์บอน ได้น้อยที่สุด ด้วยมีอายุสั้น และต้นมี ขนาดเล็ก ผิดกับพืชสวนซึ่งมีพืชที่ปลู อายุยาวนาน ขนาดลำต้นใหญ่ จึงเห็น ผลได้ชัดเจน
ในอินโดนีเซียมีรายงาน ปริมาณการดูดซับคาร์บอน ว่า พื้นที่ป่ า สมบูรณ์มีประมาณ ไร่ละ 49 ตัน ป่ าใช้สอยประมาณ 14.88 ตัน สวนยางระบบวนเกษตรแบบถาวร ประมาณ 14.24 ตัน สวนยางระบบวนเกษตรแบบพืชหมุนเวียน ประมาณ 7.36 ตัน ลดลงเกือบครึ่งหนึ่งของสวนยางแบบแรก ขณะที่พื้นที่ปลูกพืชไร่มีเพียงประมาณ 0.32 ตันเท่านั้น ดังแสดงไว้ในตาราง
ยางพารากับการดูดซับคาร์บอน
ยางพาราเป็นพืชหนึ่งที่สามารถดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ไม่น้อยกว่าไม้ป่ าเขตร้อน โดยเฉพาะ สวนยางที่มีการใช้ประโยชน์ที่ดินระหว่างแถวยางเต็มพื้นที่ ด้วยการปลูกพืชแซม พืชร่วม และพืชคลุมดินตระกูลถั่ว ซึ่งมีความหลากหลายทางชีวภาพสูง
กล่าวคือในการเจริญเติบโตของต้นยางพารา จำเป็นต้องอาศัย ขบวนการสังเคราะห์แสง ที่มีการนำคาร์บอนไดออกไซด์จาก บรรยากาศมาใช้ เพื่อสร้างส่วนประกอบต่างๆของลำต้น เช่น เนื้อไม้ ใบ ราก ซึ่งรวมเรียกว่า " มวลชีวภาพ " ในอัตราปีละ 5.68 ตัน ต่อไร่ และทิ้งมวลชีวภาพ ในรูปใบแห้ง กิ่งแห้ง หมุนเวียนอยู่ในพื้นที่ ปี ละไม่น้อยกว่า 1.12 ตันต่อไร่
ความสามารถสร้างมวลชีวภาพของยางพาราแต่ละพันธุ์ แต่ละ อายุ ก็มีความแตกต่างกันไป ดังเช่น ยางพันธุ์อาร์อาร์ไอเอ็ม600อายุ 25 ปี ให้มวลชีวภาพทั้งลำต้นได้ถึงไร่ละ 49 ตัน และเก็บสารคาร์บอนได้ ไร่ละ 22-23 ตัน
สวนยางระบบวนเกษตรในอินโดนีเซีย
สวนยางระบบวนเกษตรในอินโดนีเซีย
ความสามารถสร้างมวลชีวภาพของยางพาราพันธุ์อาร์ อาร์ ไอ เอ็ม 600 อายุ 25 ปี
องค์ประกอบพืช
นํ้าหนักแห้ง (เมตริกตันต่อไร่)
การเก็บสารคาร์บอน(เมตริกตันต่อไร่)
ใบ
0.3
0.2
กิ่งเล็ก
6.1
2.7
ลำต้นและกิ่งใหญ่
36.7
16.5
รากแก้ว
4.5
2.1
รากแขนง
1.3
0.6
รากฝอย
0.2
0.1
รวม
49.1
22.2
ที่มา : อารักษ์ จันทุมา ศูนย์วิจัยยางฉะเชิงเทรา 2546
การเก็บสารคาร์บอนของยางพาราพันธุ์อาร์ อาร์ ไอ เอ็ม 600 อายุ 25 ปี
ส่วนที่เก็บคาร์บอน
ปริมาณคาร์บอนที่เก็บ(เมตริกตันต่อไร่)
มวลชีวภาพลำต้น
22.2
การทิ้งกิ่งก้านและใบ
8.0
ผลผลิตเนื้อยางแห้ง
4.6
อินทรีย์วัตถุในดินบน
7.9
รวม
42.7
ที่มา : อารักษ์ จันทุมา ศูนย์วิจัยยางฉะเชิงเทรา 2546
แต่หากรวมมวลชีวภาพ ทั้งหมดแล้ว ยางพันธุ์อาร์อาร์ไอเอ็ม600 อายุ 25 ปี จะสามารถเก็บสารคาร์บอน ได้ไร่ละ 42.7 ตัน แบ่งได้เป็น มวล ชีวภาพลำต้น 22.2 ตัน การทิ้งกิ่งก้าน และใบ 8 ตัน ผลผลิตเนื้อยางแห้ง 4.6 ตัน และอินทรีย์วัตถุบนดิน 7.9 ตัน
การเก็บสารคาร์บอนของยางพาราพันธุ์อาร์ อาร์ ไอ เอ็ม 600 อายุ ต่างๆ
อายุ ( ปี )
ปริมาณคาร์บอนที่เก็บ(เมตริกตันต่อไร่)
9
8.3
12
10.9
18
15.2
38
22.2
ที่มา : อารักษ์ จันทุมา ศูนย์วิจัยยางฉะเชิงเทรา 2546
การปลูกยางพาราในประเทศ ไทยจำนวนพื้นที่ประมาณ 14 ล้านไร่ จึงช่วยดูดซับคาร์บอนได้มากถึง 600 ล้านตัน ซึ่งมากกว่าการปลดปล่อย หลายเท่าตัวเสียอีก
พื้นที่สวนยางพาราจึงเป็น เครดิตอย่างดีให้กับไทย ในส่วนของ การลดภาวะเรือนกระจก ทั้งยังสามารถ นำเครดิตไปขายให้กับประเทศอุตสาหกรรม นำเงินตราเข้าประเทศได้อีกด้วยซึ่งจะนำรายได้มาสู่เกษตรกรผู้ปลูก ด้วยเช่นกัน
ระบบปลูกและแปรรูปผลผลิตขั้นต้นใช้พลังงานน้อย
นอกจากยางพาราเป็นพืชที่ดูดซับคาร์บอนได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้ว ยังเป็นพืชที่ใช้พลังงานในการปลูก บำรุงรักษา และ การแปรรูป ในปริมาณน้อยอีกด้วย เมื่อเทียบกับพืชเศรษฐกิจชนิดอื่น อาทิ มีการไถพรวนเฉพาะ ช่วงเตรียมพื้นที่ปลูกใช้ปุ ๋ ยเพียงปีละ15 กิโลกรัมต่อไร่ ในขณะที่พืชไร่ต้องใช้ปุ ๋ ยรวมถึง32-36 กิโลกรัมต่อไร่หรือ แม้แต่การกรีดยางเอาผลผลิตก็อาศัยพลังแสงสว่างเพียงน้อยนิดจากแสงตะเกียงหรือแบตเตอรี่
ส่วนการแปรรูปยางดิบขั้นต้น หากใช้โรงอบยางพลังแสงอาทิตย์ ก็เป็น การอนุรักษ์พลังงาน และการปลดปล่อยความร้อนสู่บรรยากาศได้
สวนยางพาราเสริมสร้างสิ่งแวดล้อม
ยิ่งไปกว่านั้นสวนยางพารายังช่วยเสริมสร้างสภาวะแวดล้อมอีกหลายๆด้าน อาทิ การปลูกยางพาราบนขั้นบันไดในพื้นที่ลาดเท นอกจากช่วยให้เก็บผลผลิตได้สะดวกแล้ว ขั้นบันไดยังช่วยชะลอความแรงของน้าฝนที่ไหลบ่าจากที่สูง เป็นการอนุรักษ์ดินและน้า
การปลูกพืชคลุมดินระหว่างแถวยาง เป็นการช่วยกักเก็บความชื้นไว้ในดินให นานที่สุด พร้อมกับดึงไนโตรเจนในอากาศมาเก็บไว้ในปมราก เพิ่มความ สมบูรณ์ให้กับดินโดยไม่ต้องลงทุน
การปลูกพืชร่วม พืชแซมระหว่างแถวยาง นอกจากเสริมรายได้ ให้กับชาวสวนยางแล้ว ยังเป็นการเพิ่มความหลากหลายทางพันธุกรรมพืช ให้แก่พื้นที่นั้น อันจะมีผลต่อความหลากหลายทางพันธุกรรมสัตว์ตามมา
การผลิตยางแผ่นดิบใช้กรดอินทรีย์ ของเสียที่เกิดขึ้นใน ขบวนการผลิตจึงมีปริมาณน้อยกว่าของเสียที่เหลือทิ้งจากครัวเรือน เมื่อนำมา เปรียบเทียบกัน
การปลูกสร้างสวนยางพารา จึงก่อประโยชน์แก่ประเทศมากมายหลายด้าน ทั้งด้านเสริมสร้างสิ่งแวดล้อม อนุรักษ์ ดินและนํ้า อนุรักษ์พลังงาน กักเก็บคาร์บอนไว้ในส่วนต่างๆ ซึ่งล้วนมีผลต่อเนื่องไปถึงการบรรเทาสภาวะ โลกร้อน
สวนยางพาราจึงเป็ นอีกหนทางหนึ่งที่ช่วยให้ประเทศไทย บรรลุสัตยาบันในพิธีสารเกียวโตที่ลงนามไปเมื่อ ปี พ.ศ.2537 กับภารกิจสนับสนุนและส่งเสริมกิจกรรมที่สามารถลดก๊าซเรือนกระจกได้

วันอาทิตย์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

การปลูกพืชคลุมซีลูเลี่ยมให้ประสบความสำเร็จ

การปลูกพืชคลุมดินซีรูเลียมให้ประสบผลสำเร็จ
การปลูกยางพารานั้นจะประสบผลสำเร็จได้นอกจากจะต้องมีการเตรียมพื้นที่ การใช้พันธุ์ยางที่ดี และต้องบำรุงรักษาสวนยางอย่างสม่ำเสมอแล้ว การกำจัดวัชพืชก็เป็นอีกอย่างหนึ่งที่มีความสำคัญมากและใช้ต้นทุนในอัตราสูง โดยเฉพาะสวนยางพาราในพื้นที่ค่อนข้างแห้งแล้งการกำจัดวัชพืชจึงมีความจำเป็นอย่างมาก เนื่องจากพบว่าตั้งแต่เริ่มปลูกยางพาราในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตั้งแต่ปี พ.ศ. 2532 เป็นต้นมา เกษตรกรส่วนหนึ่งที่ปลูกยางพาราไม่ประสบผลสำเร็จเพราะสวนยางได้รับความเสียหายจากการถูกไฟไหม้เป็นจำนวนมาก ส่วนสาเหตุเนื่องจากเกษตรกรปราบวัชพืชก่อนเข้าฤดูแล้งไม่ดี และทำทางป้องกันไฟแคบเกินไปหรือกวาดเศษใบไม้ไม่หมด การปราบวัชพืชจึงเป็นต้นทุนที่ค่อนข้างสูงเพราะจะต้องทำทุกปีตั้งแต่เริ่มปลูกจนถึงเปิดกรีด โดยเฉพาะปัจจุบันเป็นที่ทราบกันดีว่าราคาสารปราบวัชพืช ค่าน้ำมัน ตลอดจนค่าแรงงานได้ปรับตัวสูงขึ้นมาก
ในปัจจุบันเป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าพื้นที่ทำการเกษตรได้ผ่านการปลูกพืชไร่มาอย่างยาวนาน ไม่มีการคืนธาตุอาหารคืนกลับสู่ดินเลย อีกทั้งมีการใส่ปุ๋ยเคมีมากเกินไป มีการไถพรวนทุกฤดูปลูกทำให้หน้าดินมีการชะล้างสูง และดินเสียสภาพโครงสร้างทำให้ไม่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืช
การปลูกพืชคลุมดินในตระกูลถั่วในสวนยางพาราเป็นวิธีการหนึ่งที่จะสามารถควบคุมวัชพืชได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพิ่มธาตุอาหารให้แก่ดินซึ่งได้จากการตรึงไนโตรเจนจากอากาศ และจากการย่อยสลายตัวของเศษซากพืชคลุมเป็นอินทรีย์วัตถุ เหล่านี้ เป็นผลทำให้การทำสวนยางสามารถได้รับผลผลิตเร็วขึ้นกว่าปกติ ประมาณ 6-12 เดือน เป็นการลดต้นทุนการผลิตได้อีกทางหนึ่ง เพราะพืชคลุมดินตระกูลถั่วมีประโยชน์มากมายหลายด้าน คือ ช่วยป้องกันการชะล้างและการพังทะลายของดิน ควบคุมวัชพืช และจะประหยัดค่าใช้จ่ายในการปราบวัชพืชได้เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะการปลูกพืชคลุมดินพันธุ์ "ซีรูเลียม" จะให้ผลตอบแทนในระยะยาว เนื่องจากให้เศษซากสูงทนต่อสภาพแห้งแล้งได้ดี ไม่จำเป็นต้องไถกลบในแต่ละปี ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายในการปราบวัชพืชได้มาก อีกทั้งเมล็ดเป็นที่ต้องการของตลาดสามารถจำหน่ายได้ในราคา 300-400 บาทต่อกิโลกรัม การดูแลรักษาสวนก็สามารถทำได้ง่ายขึ้นต้นยางเจริญเติบโตได้ดีกว่าการไม่ปลูกพืชคลุม
ชื่อวิทยาศาสตร์(Scientific name)
ถั่วคลุมดินซีรูเลียมมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่าCalopogonium caeruleum(Benth.) Sauvalle
ชื่อพ้อง(Synonyms)
Calopogonium coeruleum (Benth.) Sauvalle Calopogonium coeruleum (Benth.) Sauvalle var. glabrescens (Benth.) Malme Calopogonium sericeum (Benth.) Chodat & Hassler Calopogonium sericeum (Benth.) Chodat & Hassler var. villicalyx Chodat & Hassler
Stenolobium caeruleum Benth.



ชื่อสามัญ(Common names)
ถั่วซีรูเลียมมีชื่อเรียกแตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่นดังนี้ bejuco culebra, bejuco de lavar, calopog"nio-perene, canela-araquan, chorreque, cip¢-araquan, cip¢-de-macaco, feijao-bravo, feijao-de-macaco, feijaozinho-da-mata, haba de burro, cama dulce.

ถิ่นกำเนิดและการกระจายตัว
ถั่วซีรูเลียมมีถิ่นกำเนิดในอเมริกากลาง( Central America) แถบประเทศเม็กซิโก( Mexico) อินดีส์ตะวันตก(West Indies) เขตร้อนตะวันออกตอนใต้ของอเมริกา( tropical South America) ไปจนถึงตอนใต้ของบราซิล( southern Brazil) ต่อมาก็มีการปลูกในออสเตรเลีย และแถบเอเชียตอนใต้ เช่นมาเลเซียและประเทศไทย
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ซีรูเลียม(Calopogonium cearuleum (Benth.) Sauvalle ) เป็นพืชคลุมตระกูลถั่ว ประเภทเถาเลื้อยอายุข้ามปี ขึ้นได้ทั่วทุกภาคของประเทศในดินร่วนทรายและดินเหนียว ยกเว้นบนที่สูงเนื่องจากอากาศหนาวจัด ใบจะแห้ง ดอกและใบจะร่วง ลำต้น เลื้อยบนดินมีขนเห็นไม่ชัด ราก รากที่งอกจากเมล็ดจะเป็นรากแก้ว ส่วนของลำต้นที่สำผัสกับผิวดินจะแตกรากใกล้ข้อใบ เป็นชนิดรากฝอยเกาะยึดผิวดิน ช่วยตรึงในโตรเจนจากอากาศ ดอก สีม่วง ใบ มีสีเขียว เป็นมันค่อนข้างหนาคล้ายใบโพธิ์ เมล็ด มีขนาดใหญ่ เปลือกหุ้มเมล็ดหนา น้ำหนักหนึ่งกิโลกรัมมี 28,000 เมล็ดเป็นพืชคลุมที่ทนต่อโรคแลแมลง ทนต่อสภาพร่มเงาและความแห้งแล้ง
สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในการเจริญเติบโตของซีรูเลียม
ดิน(Soil)
ถั่วซีรูเลียมสามารถปรับตัวได้ดีในดินเกือบทุกประเภท และเติบโตได้ในระดับ pH
ของดินต่ำถึงระดับ 4.00
สามารถเจริญเติบโตได้ดีในดินที่มีการระบายน้ำดี ตอบสนองต่อปุ๋ยฟอสฟอรัส
และปูนได้ดีแม้ในดินที่มีสภาพเป็นกรดและไม่ตอบสนองต่อการใส่ปุ๋ย (acid infertile soils)

ความชื้น(Humidity)
สามารถปรับตัวได้ในเขตร้อนชื้นที่มีระดับปริมาณน้ำฝน 1,000-3,000 มิลิเมตรต่อปี อีกทั้งยังทนต่อสภาพแวดล้อมที่มีฝนตกน้อยถึงระดับ 700 มิลิเมตรต่อปีนั้นคือทนแล้งกว่า
C.mucunoides and Pueraria phaseoloides

อุณหภูมิ(Temperature)
เติบโตได้ในเขตร้อนชื้นที่มีระดับอุณหภูมิสูงสุด 25 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิต่ำสุด 18 องศาเซลเซียส ในตอนกลางวัน และจะมีข้อจำกัดในการเจริญเติบโตที่ระดับอุณหภูมิสูงสุด 35 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิต่ำสุด 10 องศาเซลเซียส

แสง(Light)
ทนร่มเงาได้ดี แต่จะให้ผลผลิตเมื่อได้รับแสง 60-100 เปอร์เซ็นต์
ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการปลูกพืชคลุมซีรูเลียม
การวางแผนกำหนดช่วงระยะเวลาในการปลูกที่เหมาะสมก็มีความสำคัญ เพราะว่าในเขตพื้นที่ปลูกยางใหม่ มีช่วงฤดูฝนเพียงไม่กี่เดือนเท่านั้น ถ้าปลูกล่าช้าแล้วจะทำให้การเลื้อยของเถาถั่วไม่ทันที่จะคลุมได้เต็มพื้นที่ก็เข้าสู่ช่วงแล้งเสียก่อนทำให้ชะงักการเจริญเติบโต สู้วัชพืชไม่ได้จากการทดลอง และศึกษาจากการปลูกในพื้นที่จริงของเกษตรกร สามารถกำหนดช่วงเวลาที่เหมาะสมในการปลูกได้ดังนี้
ระยะการเพาะต้นกล้า ตั้งแต่เดือนเมษายน ถึง เดือนมิถุนายน
ระยะการปลูก ตั้งแต่กลางเดือนมิถุนายน ถึงต้นเดือนสิงหาคม
ระยะเจริญเติบโต ตั้งแต่กลางเดือนสิงหาคม ถึงเดือนพฤศจิกายน
ระยะเริ่มออกดอกและติดฝัก ตั้งแต่เดือนธันวาคม ถึง เดือนกุมภาพันธ์
ระยะฝักแก่และเก็บเกี่ยว ตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือนมีนาคม
ทั้งนี้ระยะเวลาในการเจริญเติบโตโดยเฉพาะช่วงเวลาการติดดอก ในแต่ละปีอาจจะเลื่อนช้าออกไปหรือเร็วขึ้นได้ตามช่วงแสงที่ต้นถั่วได้รับในแต่ละวัน นั้นคือถ้าพูดภาษาชาวบ้านก็แล้วแต่ความหนาวจะมาเยือนเร็วหรือไม่นั่นเอง

ตารางแสดงช่วงเวลาการเจริญเติบโตออกดอก และติดฝักของพืชคลุมซีรูเลียม
เพาะกล้า ปลูก เจริญเติบโต เริ่มออกดอก ติดฝัก ฝักแก่และเก็บเกี่ยว
เม.ย พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค.

ข้อดี การปลูกพืชคลุมซีรูเลียม
1. ประหยัดค่าใช้จ่ายในการปราบวัชพืชได้มากเนื่องจากพืชคลุมชนิดนี้เมื่อปลูกขึ้นแล้วจะช่วยควบคุมวัชพืชไม่ให้เกิดขึ้น ในฤดูแล้งก็ไม่ตายจึงไม่จำเป็นต้องไถสวนยางอีก ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายในการไถสวนยางได้มากปกติสวนยางโดยทั่วไปในภาคตะวันออกเฉียงเหนือจำเป็นจะต้องไถสวนยางเพื่อปราบวัชพืช อย่างน้อยปีละ 2 ครั้งเป็นระยะเวลาประมาณ 6 ปี จนกว่าสวนยางจะเปิดกรีดได้ต้องเสียค่าใช้จ่ายเป็นเงินประมาณ 1,800 - 2,000 บาทต่อไร่ (คิดค่าจ้างไถครั้งละ 150 บาท/ไร่) แต่ถ้าเราปลูกพืชคลุมซีรูเลียมก็สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายตรงนี้ไปได้
2. ต้นยางจะเจริญเติบโตดี เปิดกรีดได้เร็วกว่ากำหนด และให้น้ำยางมากกว่าสวนยางที่ไม่ปลูกพืชคลุมเนื่องจากสวนยางที่ปลูกพืชคลุมดินจะมีเศษซากของพืชคลุมช่วยเพิ่มธาตุอาหารและอินทรีย์วัตถุให้แก่ดิน ช่วยปรับสภาพดินให้กับดิน ดินจะโปร่ง
วิธีการปลูกและข้อเสนอแนะ
1. เมล็ดพืชคลุมชนิดนี้ในระยะแรกจะเจริญ เติบโตค่อนข้างช้า อาจจะเจริญเติบโตสู้วัชพืชไม่ได้จึงจำเป็นต้องเตรียมพื้นที่ให้ดี ควรจะไถพรวนและฉีดยาและคุมวัชพืชด้วยก่อนการปลูกพืชคลุม
2. แช่เมล็ดพืชคลุมด้วยน้ำอุ่นอุณหภูมิประมาณ 75 องศาเซลเซียส เวลา 12- 24 ชั่วโมง เทน้ำที่แช่ทิ้งแล้วห่อผ้าให้เมล็ดหมาดๆ แล้วจึงคลุกกับปุ๋ยหินฟอสเฟต(0-3-0) นำไปปลูกต้นฤดูฝน และควรปลูกให้หมดในแต่ละครั้ง แต่ถ้าใช้วิธีเพาะชำในถุงเพาะชำขนาด 2x4 นิ้ว ไว้ก่อนนำไปปลูกสามารถคัดเลือกเฉพาะเมล็ดที่อมน้ำและเปลือกนิ่มแล้ว โดยสังเกตได้จากเมล็ดมีขนาดพองโตขึ้นมาก นำไปหยอดในถุงชำ ถุงละ 2-3 เมล็ด ส่วนเมล็ดที่ยังแข็งอยู่ เรานำไปแช่น้ำอุ่นซ้ำโดยวิธีเดิมอีกรอบ จะได้เมล็ดพร้อมปลูกเพิ่มอีกมาก และเป็นการเพาะเมล็ดที่คุ้มค่ากับราคาเมล็ดที่ซื้อมาในราคาแพงอีกด้วย
3. ควรปลูกพืชคลุมห่างจากแถวยาง 2 เมตร ขึ้นไป และปลูกพืชคลุมเพียง 2-3 แถวโดยการปลูกเป็นหลุมห่างกันหลุมละ 50-75 เซนติเมตร ลึก 1-2 นิ้ว ใช้เมล็ดซีรูเลียม 2-3 เมล็ด/หลุม การปลูกตามวิธีนี้เมล็ดพืชคลุม 1 กิโลกรัมสามารถปลูกในสวนยางได้ประมาณ 4-5 ไร่
4. เมล็ดพืชคลุม ซีรูเลียม ราคากิโลกรัมละประมาณ 300 -450 บาท สามารถสอบถามจากสมาชิกที่ร่วมโครงการปลูกซีรูเลียมแล้วประสบผลสำเร็จ เช่นศูนย์ปฏิบัติการสงเคราะห์สวนยางจังหวัดชัยภูมิ หรือ ศูนย์ปฏิบัติการสงเคราะห์สวนยางจังหวัดสุโขทัย เป็นต้น
ระยะในการวางแถวปลูก
แถวต้นยางx----------------------------------- 7 เมตร ------------------------------------------x
x-----2 ม.-----x 0 x-----1.5 ม.-----x 0 x-----1.5 ม.-----x 0 x-----2 ม.-----x ปลูกพืชคลุม 2-3 แถว
x-----2 ม.-----x 0 x-----1.5 ม.-----x 0 x-----1.5 ม.-----x 0 x-----2 ม.-----x
x -----2 ม.-----x 0 x-----1.5 ม.-----x 0 x-----1.5 ม.-----x 0 x-----2 ม-----x
x----------------------------------- 7 เมตร ----------------------------------------x

การบำรุงรักษาพืชคลุมดิน

อัตราอัตรา15 ก.ก./ไร่ ปีละ 2 ครั้ง
•เมื่อเก็บเกี่ยวเสร็จให้ไถ 2 แถบริมแถวยางเพื่อตัดเถา
แห้งกลบและป้องกันไฟเป็นการทำสาวโดยไม่ไถตรงโคนต้น
•หากต้องการผลผลิตสูงพ่นด้วยpaclobutrazole ความเข้มข้น500 ppm ช่วงออกดอด
•พ่นปุ๋ยสูตรคีเลท(แคลเซียม+โบรอน+ไนโตรเจน+อะมิโนแอซิด)
• 15 ซีซี ต่อน้ำ 10 ลิตรในช่วงออกดอกและติด
ฝัก 2 ครั้ง
•หากมีแมลงทำลายดอกและฝัก ป้องกันกำจัดโดยพ่นสารกำจัดแมลง 1-2 ครั้ง
การเก็บเกี่ยว
ใส่ปุ๋ยหินฟอสเฟตหลังจากปลูกพืชคลุม 1-2 เดือนอัตรา15 ก.ก./ไร่ ใส่ปุ๋ยบำรุงสูตร 15-15-15

หลังจากปลูก 1 ปีเริ่มให้ผลผลิตครั้งแรก โดยสังเกตสีของฝักเริ่มเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล •ต้องทยอยเก็บเฉพาะฝักแก่ ใช้กรรไกรตัด กิ่งหนีบโคนช่อฝัก
•เก็บใส่ถุงพลาสติกมัดมากถุงให้เรียบร้อย
นำฝักไปตากแดดประมาณ 4 แดดเมล็ดจะดีดออกจากฝัก •ใช้กระด้งฝัดและพัดลมเป่าเศษเปลือกและสิ่งเจือปนออกให้หมด

การตัดแต่งหลังเก็บเกี่ยวผลผลิต

ไถตัดเถาถั่วที่เหี่ยวแห้งกลบเป็นปุ๋ยและเป็นการป้องกันเป็นเชื้อไฟในฤดูแล้ง โดยต้องไม่ไถให้ถูกบริเวณโคนต้นของถั่ว เพื่อต้นจะได้แตกแขนงเจริญเติบโตต่อไปในฤดูฝนที่มาถึง
เรื่อง /ภาพ: โกศล บุญคง
เอกสารอ้างอิง :
Calopogonium caeruleum[URL: http : //www.tropicalforages.info/key/Forages/Media/Html/Calopogonium_caeruleum.htm]
พัชรินทร์ วณิชย์อนันตกุล,วิมลรัตน์ ศุกรินทร์,สุธาชีพ ศุภเกสรและเกริกชัย ธนรักษ์,รายงานวิจัยการบังคับการออกดอกและติดเมล็ดของพืชคลุมซีรูเลียมด้วยสารการเจริญเติบโตพืช [ URL : http ://www.doa.go.thweb-itclibrarylibararyplant_protect46677.pdf]
วิชิต สุวรรณปรีชา, “ซีรูเลียมพืชคลุมที่ทนแล้ง” เอกสารวิชาการแผ่นพับเพื่อเผยแพร่ของสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง.

วันพุธที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

การพัฒนาการผลิตยางพาราแบบครบวงจร

การพัฒนาการผลิตยางพาราแบบครบวงจร
ประเทศไทยเป็นผู้นำในการผลิตยางธรรมชาติของโลกเฉพาะในเชิงปริมาณเท่านั้น ไม่สามารถเป็น ผู้นำการผลิตในเชิงคุณภาพได้ เพราะยังมีปัญหา ในการผลิตและสินค้าที่ส่งออกยังคงอยู่ในรูปของยางดิบ เป็นส่วนใหญ่ การวิจัยเพื่อพัฒนาการผลิตยางให้มีประสิทธิภาพดีขึ้น จึงมีความสำคัญสำหรับประเทศไทย เป็นอย่างมาก เพราะจะมีผลทำให้อุตสาหกรรมยางพาราเป็นอุตสาหกรรมหลักที่ทำรายได้ให้ประเทศอย่าง ยั่งยืน แนวทางการวิจัยในปัจจุบันประกอบด้วย การพัฒนาเทคโนโลยีทางการเกษตรแบบใหม่ เพื่อให้ สามารถผลิตยางธรรมชาติที่มีคุณสมบัติดี และมีคุณภาพสม่ำเสมอมากขึ้น การพัฒนากระบวนการผลิตที่มี ประสิทธิภาพปลอดภัย และไม่ก่อให้เกิดปัญหามลพิษต่อสิ่งแวดล้อม เช่น การลดเวลาและการลดปริมาณ สารเคมีที่ใช้ในการทำให้ยางดิบสุกตัว ส่วนการพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปจากยางพาราให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่มี มูลค่าสูงขึ้นก็เป็นอีกเป้าหมายหนึ่งสำหรับวิจัย เพื่อทดแทนผลิตภัณฑ์ยางสังเคราะห์ที่นำเข้าจากต่างประเทศ นอกจากนั้นยังเป็นการเพิ่มโอกาสและเป็นแนวทางในการสร้างตลาดใหม่ให้กับอุตสาหกรรมยางของไทยอีก ด้วย ตัวอย่างของผลิตภัณฑ์ที่กำลังพัฒนาได้แก่ ผลิตภัณฑ์ยางธรรมชาติทนความร้อน ยางธรรมชาติทน น้ำมัน เฟอร์นิเจอร์จากยางธรรมชาติ รวมทั้งสารสกัดจากน้ำยางดิบที่นำไปใช้เป็นสารต่อต้านเชื้อแบคทีเรีย และสารให้ความชุ่มชื้น เป็นต้น
.....................................................................................................
จากหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ หน้า 25 ประจำวันที่ 20 มิถุนายน 2551

อย่า...ใช้พื้นที่นา ดินเค็ม ดินด่างปลูกยางไม่ได้ผล

อย่า...ใช้พื้นที่นา ดินเค็ม ดินด่างปลูกยางไม่ได้ผล ใช้พื้นที่ที่มีศักยภาพ กรมฯ วิจัยแล้วปลูกได้ผลชัวร์ ให้น้ำยาง 25 ปี
ปลูกยางในพื้นที่ไม่เหมาะสม ต้นทุนสูง ย้ำ! ใช้พื้นที่ที่มีศักยภาพที่กรมวิชาการเกษตรวิจัยแล้วปลูกได้ผล ให้น้ำยางถึง 25 ปี
นายสุขุม วงษ์เอก ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร เตือนเกษตรกรที่คิดจะปลูกยางในพื้นที่นา พื้นที่ดินเค็ม หรือดินด่าง แม้จะทำการยกร่องแล้วก็ตามจะปลูกไม่ได้ผล ต้นยางไม่โต แคระแกร็น แม้ช่วงแรกอาจเจริญเติบโตได้ดี แต่พอต้นยางมีขนาดโตขึ้น 4-5 ปี รากยางหยั่งลึกลงดินในช่วงฤดูฝนจึงเกิดปัญหาน้ำท่วมขังรากยาง มีผลทำให้ต้นยางยืนต้นตายในที่สุด นอกจากนี้ในพื้นที่ดินเค็มหรือดินด่างก็ไม่เหมาะสมและไม่แนะนำให้เกษตรกรปลูกยาง
จากงานวิจัยของสถาบันวิจัยยาง ได้มีการสำรวจพื้นที่ที่มีศักยภาพเหมาะสำหรับการปลูกยางในระดับต่างๆ เป็นรายอำเภอ รายจังหวัดของทั้งภาคใต้ ภาคตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ โดยได้ประชาสัมพันธ์แนะนำให้เกษตรกรได้ทราบทั่วกันมาโดยตลอด แต่เนื่องจากกระแสการปลูกยางพารามาแรงมากในขณะนี้ ประกอบกับราคายางที่พุ่งสูงทะลุ 100 บาทต่อกิโลกรัม เป็นเหตุจูงใจให้เกษตรกรที่อยู่ทั่วทุกภาคหันมาปลูกยางมากขึ้น สถาบันวิจัยยางจึงขอประชาสัมพันธ์ให้ทราบอีกครั้งเพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้น หากเกษตรกรปลูกยางในพื้นที่ที่ไม่เหมาะสมแล้วย่อมส่งผลกระทบและทำความเสียหายต่อการผลิตยางพาราและเศรษฐกิจของประเทศได้ นายสุขุมกล่าว

ทำปุ๋ยน้ำชีวภาพจากเศษอาหาร

ทำปุ๋ยน้ำชีวภาพจากเศษอาหาร

เงินลงทุน ประมาณ 1,000 บาท(กากน้ำตาลราคาแกลลอนละ 180 บาท (5 ลิตร) ถัง 200 ลิตร ราคา 120 บาท)
รายได้ ประมาณ 2,000 " 3,000 บาท/เดือน
วัสดุ/อุปกรณ์ ถังมีฝาปิด ถุงปุ๋ย กากน้ำตาลหรือน้ำตาลทรายแดง หัวเชื้อจุลินทรีย์ ขยะเศษอาหาร
แหล่งจำหน่ายวัสดุอุปกรณ์ เชื้อจุลินทรีย์(มีชื่อเรียกเป็นทางการว่า "พค.1") ขอรับได้ฟรีจากกรมพัฒนาที่ดินจังหวัดทุกแห่ง หรือซื้อได้ตามร้านเคมีภัณฑ์ (มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า ไบโอนิค เอฟ 60 หรืออีเอ็ม)
วิธีดำเนินการ สูตรที่ 1 การทำปุ๋ยน้ำชีวภาพจากพืชส่วนผสม กากน้ำตาล 250 ซีซี เชื้อจุลินทรีย์ 250 ซีซี น้ำ 8 ลิตร วัตถุดิบ (เศษผัก ผลไม้หรืออาหาร) วิธีทำ 1. เติมน้ำ 8 ลิตรใส่ถัง2. เทกากน้ำตาลละลายน้ำ3. ใส่หัวเชื้อจุลินทรีย์ แล้วปิดฝาทิ้งไว้ 2 วัน4. น้ำเศษอาหาร เศษผัก เปลือกผลไม้ ใส่ถุงปุ๋ย แล้วนำเชื้อจุลินทรีย์ใส่ในถุงปุ๋ย หากน้ำจุลินทรีย์ไม่มากพอที่จะท่วมเศษอาหารในถุงปุ๋ยให้เติมน้ำเปล่า และกากน้ำตาล (หรือน้ำตาลทรายแดง) ในสัดส่วน น้ำ 8 ลิตร กากน้ำตาล 250 ซีซี5. ทิ้งไว้ประมาณ 8 วัน ก็สามารถนำเอาน้ำจุลินทรีย์ชีวภาพมาใช้งานได้สูตรที่ 2 ปุ๋ยน้ำชีวภาพที่ได้จากปลาส่วนผสม ปลาเป็ดหรือปลาข้างเหลือง 40 กิโลกรัม กากน้ำตาล 20 กิโลกรัม จุลินทรีย์ 200 กิโลกรัม วิธีการ 1. นำปลาเป็ดหรือปลาข้างเหลืองมาล้างความเค็มจากเนื้อปลา หากไม่ล้างเมื่อนำมาเป็นปุ๋ยดินจะเค็ม2. นำจุลินทรีย์ละลายในน้ำอุ่น 20 ลิตร คนให้เข้ากันนาน 15 " 30 นาที อย่าให้น้ำนิ่ง จะได้มีอากาศถ่ายเทตลอด จุลินทรีย์สามารถทำปฏิกิริยากับเศษ อาหารได้ดีขึ้น3. ใส่ปลาสดลงในถัง 200 ลิตร เติมจุลินทรีย์ตามด้วยกากน้ำตาลและน้ำสะอาดใส่ให้ท่วมเนื้อปลา คนให้เข้ากันตั้งทิ้งไว้ ที่อุณหภูมิปกติโดยไม่ต้องปิดฝา 20 "30 วัน และต้องกวนให้เข้ากันวันละ 4 "5 ครั้ง ตลอดระยะเวลาในการหมัก 4. สังเกตว่าปลาย่อยสลายหมดแล้ว ปุ๋ยที่ได้จะมีลักษณะเป็นของเหลวข้นสีน้ำตาลเข้มหรืออาจยัง เหลือกากเล็กน้อย เติมน้ำให้เต็มถัง แล้วคนให้เข้ากันก่อนที่จะนำไปใช้5. หากต้องการนำปุ๋ยน้ำไปฉีดพ่นทางใบ ให้ผสมปุ๋ยน้ำชีวภาพ 1 ลิตรกับน้ำ 200 ลิตร แต่หาก ต้องการนำไปราดโคนต้น ให้ผสมปุ๋ยน้ำชีวภาพ 1 ลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตรตลาด/แหล่งจำหน่าย ตลาด ร้านขายต้นไม้สถานที่ให้คำปรึกษา กรมพัฒนาที่ดินจังหวัดทุกแห่ง และคณะวิชาพืชศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคลวิทยาเขตจันทบุรี โทร. 0-3945-2387-8ข้อแนะนำ ประโยชน์ของน้ำจุลินทรีย์ สามารถดับกลิ่นเหม็นช่วยย่อยก๊าซไข่เน่าอันเกิดจากไขมัน โดยใช้ผสมน้ำอัตราส่วน 1 ต่อ 10 เทใส่ห้องส้วม ห้องน้ำ ห้องเก็บขยะ ท่อน้ำทิ้งร่องระบายน้ำ ทำให้น้ำใส ช่วยย่อยไขมันในบ่อดักไขมัน ถ้าใช้กับต้นไม้ให้ผสมน้ำ 200 ลิตรกับน้ำจุลินทรีย์ 1 แก้ว รดต้นไม้ทุก 3 หรือ 5 วันก็ได้
แหล่งที่มา กองส่งเสริมการมีงานทำ กรมการจัดหางาน

วันจันทร์ที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

การใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน

การใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน
นายสุขุม วงษ์เอก ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า ยางพาราต้องการธาตุอาหารในปริมาณที่แตกต่างกันตามอายุชนิดของดินและพันธุ์ยาง หากเกษตรกรปลูกยางในดินที่มีสภาพเหมาะสมจะส่งผลให้เปิดกรีดได้เร็วและให้ผลตอบแทนสูง ดินจึงเป็นปัจจัยพื้นฐานสำคัญต่อการเพิ่มผลผลิต ซึ่งเกี่ยวข้องโดยตรงกับการใส่ปุ๋ยนอกเหนือจากการเลือกใช้พันธุ์ยาง และการจัดการสวนยาง ดังนั้น การใส่ปุ๋ยเพื่อให้ต้นยางเจริญเติบโตและเพิ่มผลผลิตจึงต้องคำนึงถึงความอุดมสมบูรณ์ของดิน ซึ่งเกี่ยวกับกับความสมดุลของธาตุอาหารในดิน ทั้งนี้เนื่องจากในการกรีดยางแต่ละครั้งจะมีการสูญเสียธาตุอาหารไปกับน้ำยาง หากไม่มีการใส่ปุ๋ยเพื่อชดเชยธาตุอาหาร จะทำให้ขาดความสมดุลของธาตุอาหารในดิน ส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของต้นยางและการให้ผลผลิต ดังนั้น การใส่ปุ๋ยจึงต้องใส่ให้เหมาะสมกับความอุดมสมบูรณ์ของดิน และความต้องการของยางพารา หรือที่เรียกว่า ใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน
ผลจากงานวิจัยของสถาบันวิจัยยาง โดย นางนุชนารถ กังพิศดาร ผู้อำนวยการส่วนการผลิตยาง สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร ได้แนะนำการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินสำหรับสวนยางหลังเปิดกรีด ซึ่งจำเป็นจะต้องทราบว่า ดินที่ปลูกยางมีธาตุอาหารเท่าไร ต้องใส่ในปริมาณเท่าไรและต้องใส่อย่างไร วิธีการโดยเก็บตัวอย่างดินปลูกยาง เพื่อวิเคราะห์ปริมาณธาตุอาหารในดิน แปลผลวิเคราะห์ดิน และนำมาประเมินความต้องการธาตุอาหารที่ใส่ให้แก่ต้นยางโดยพิจารณาร่วมกับผลการทดลองปุ๋ยเพื่อแนะนำการใส่ปุ๋ย สามารถแนะนำได้ 12 แบบ พร้อมทั้งบอกปริมาณแม่ปุ๋ยที่นำมาผสมและอัตราปุ๋ยที่ใช้โดยเกษตรกรสามารถผสมปุ๋ยใช้ได้เองตามที่ต้องการ ที่นอกจากช่วยลดต้นทุนแล้วยังสามารถแก้ปัญหาปุ๋ยด้อยคุณภาพ ทั้งนี้การใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินเป็นการใส่ปุ๋ยเฉพาะพื้นที่ ตรงกับความต้องการปริมาณธาตุอาหารของต้นยาง ช่วยลดต้นทุน และแก้ปัญหาปุ๋ยด้อยคุณภาพ ซึ่งจะทำให้เกษตรกรได้รับผลตอบแทนสูงสุด
นายสุขุม ยังเผยว่า การใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินไม่ใช่เรื่องยุ่งยากสำหรับเกษตรกร เนื่องจากสถาบันวิจัยยางได้จัดทำคู่มือ พร้อมกับปัจจุบันมีจุดตรวจสอบดินอย่างง่าย ของภาควิชาปฐพีวิทยา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ที่เกษตรกรสามารถตรวจสอบดินได้เอง ซึ่งขณะนี้ได้มีการขยายผลการดำเนินงานในบางพื้นที่แล้ว โดยเกษตรกรสามารถขอรับแนะนำการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน และการใช้ปุ๋ยในสวนยาง หรือขอคำแนะนำได้ที่ สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร โทร.0 2579 1576 หรือขอรับที่ศูนย์วิจัยยาง ศูนย์บริการวิชาการด้านพืชและปัจจัยการผลิต และสำนักตลาดกลางยางพารา กรมวิชาการเกษตร ตามจังหวัดต่างๆ หรือดูข้อมูลวิชาการ ติดตามราคายาง ถามปัญหาทางหน้าเว็บบอร์ดที่ www.rubberthai.com Call center 1174

วันอาทิตย์ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2551

ถึงเวลาแก้ไขรัฐธรรมนูญแล้วหรือยัง?

333ถึงเวลาแก้ไขรัฐธรรมนูญแล้วหรือยัง?
รองศาสตราจารย์ ดร. นันทวัฒน์ บรมานันท์ อาจารย์ประจำ คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่เกิดขึ้นในช่วงระยะเวลา 3 เดือนที่ผ่านมานี้มี "ที่มา" จากมาตรา 336 อันเป็นมาตราสุดท้ายของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ.2540) ที่บัญญัติไว้ว่า "เมื่อครบห้าปีนับแต่วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ คณะกรรมการการเลือกตั้ง คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ หรือคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ มีอำนาจทำรายงานเสนอความเห็นต่อรัฐสภาและคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญนี้หรือกฎหมายอื่นได้" ขณะนี้ก็ใกล้เวลาที่จะ "ครบ" ห้าปีแห่งการใช้รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันแล้ว ดังนั้น จึงมีความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลา 3 เดือนที่ผ่านมา ประเด็นส่วนใหญ่ที่นำมาถกเถียงหรืออภิปรายกันคงอยู่ที่ว่า สมควรแก้ไขรัฐธรรมนูญในเรื่องใดบ้างซึ่งในประเด็นดังกล่าวทั้งฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหารรวมทั้งองค์กรอิสระทั้งหลายต่างก็ออกมาให้ความเห็นเกี่ยวกับประเด็นในรัฐธรรมนูญ (ที่มีปัญหา) ที่เกี่ยวข้องกับองค์กรของตนและองค์กรอื่นอย่างต่อเนื่อง แต่อย่างไรก็ดี ประเด็นที่ "น่าสนใจ" กว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญในเรื่องใดบ้าง น่าจะเป็นประเด็นว่า สมควรแล้วหรือยังที่จะ "แก้" รัฐธรรมนูญ และหากจะแก้รัฐธรรมนูญ ควรแก้ด้วย "วิธีใด" ระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมาเกิด "ความเปลี่ยนแปลง" ต่างๆมากมายในสังคมไทย คงจำกันได้ว่ารัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน (พ.ศ.2540) เป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกของไทยที่มีผลเป็นการ "ปฏิรูปการเมือง" มากที่สุดเพราะนอกจากจะจัดทำโดยเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการยกร่างแล้ว ยังมีสาระสำคัญที่แตกต่างจากรัฐธรรมนูญอื่นที่ผ่านมา กล่าวคือ มีการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนมากขึ้น มีการกำหนดบทบาทของประชาชนให้มีส่วนร่วมในการปกครองประเทศมากขึ้น มีการกำหนดมาตรการในการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ รวมทั้งมีการปรับปรุงโครงสร้างทางการเมืองให้มีความมั่นคงและมีประสิทธิภาพกว่าที่ผ่านๆมา ดังนั้น เมื่อรัฐธรรมนูญประกาศใช้บังคับในวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ.2540 ความเปลี่ยนแปลงทั้งหลายก็ตามมา มีการจัดตั้งองค์กรต่างๆขึ้นมาจำนวนหนึ่งเพื่อทำหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญอันได้แก่ คณะกรรมการการเลือกตั้ง ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลปกครอง คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ และสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นอกเหนือจากการจัดตั้งองค์กรต่างๆแล้ว การเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภาด้วยกระบวนการใหม่ที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญก็เกิดขึ้นด้วยเช่นกัน มีการออกกฎหมายต่างๆทั้งกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญที่รัฐธรรมนูญได้บัญญัติไว้เป็นการเฉพาะกับกฎหมายระดับพระราชบัญญัติเพื่อขยายความบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ มาตรการต่างๆที่รัฐธรรมนูญได้กำหนดไว้ถูกนำมาใช้หลายๆมาตรการไม่ว่าจะเป็นมาตรการในการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐที่ยิ่งวันก็ยิ่ง "เข้มข้น" ขึ้นเรื่อยๆไปจนกระทั่งมาตรการอื่นที่เป็นการเพิ่มบทบาทให้กับประชาชนให้มีส่วนร่วมในทางการเมืองมากขึ้นอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนอย่างเช่น การเข้าชื่อเสนอกฎหมายหรือข้อบัญญัติท้องถิ่น เป็นต้น องค์กรและมาตรการทั้งหลายเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้การปฏิรูปการเมืองเดินทางไปข้างหน้าอย่างรวดเร็วพอสมควร แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาดูบทบัญญัติทั้งหลายในรัฐธรรมนูญแล้ว ปัจจุบันยังพบว่า มีอีก "หลายอย่าง" ที่ยังไม่เกิดขึ้นตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ เริ่มจากกฎหมายจำนวนมาก ที่กำหนดไว้ในตอนท้ายของมาตราต่างๆจำนวนหลายมาตราว่า "ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ" นอกเหนือจากกฎหมายแล้ว ขณะนี้เราก็ยังรอการเกิดขึ้นขององค์กรสำคัญอีกหลายองค์กร เช่น องค์กรที่ทำหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคตามมาตรา 57 แห่งรัฐธรรมนูญ องค์กรที่ทำหน้าที่จัดสรรคลื่นความถี่และกำกับดูแลการปกครองกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม ตามมาตรา 40 แห่งรัฐธรรมนูญ หรือมาตรการต่างๆที่ขณะนี้ยังอยู่ในระหว่างการ "รอคอย" การเกิดขึ้นดังเช่นการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่า 12 ปีที่รัฐต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่ายตามมาตรา 43 แห่งรัฐธรรมนูญ เป็นต้น จริงอยู่ แม้ระยะเวลา 3-4 ปีที่ผ่านมา เราจะเห็นการดำเนินการต่างๆขององค์กรและกระบวนการตามรัฐธรรมนูญเกิดขึ้นอย่างมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการอภิปรายไม่ไว้วางใจที่เพิ่งผ่านพ้นไปไม่นานมานี้ การเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภา การดูแลการเลือกตั้งโดยคณะกรรมการการเลือกตั้ง การพิจารณาคดีความผิดของผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูงโดยคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ศาลรัฐธรรมนูญ และศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เป็นต้น แต่การดำเนินการต่างๆเหล่านั้นก็เป็นเพียง "ตัวอย่าง" ที่เกิดขึ้นจากบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญเท่านั้นเพราะในบางกรณีเป็นการดำเนินการตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ "ครั้งแรก" หรือ "ครั้งที่สอง" ซึ่งก็เป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปอยู่แล้วว่า ยิ่งมีการดำเนินการบ่อยครั้ง ผู้ดำเนินการก็จะมี "ความชำนาญ" ยิ่งขึ้นและ "มองเห็นปัญหา" ได้มากขึ้น ประเทศที่สมควรนำมาเป็น "กรณีศึกษา" ในเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญคือประเทศฝรั่งเศส รัฐธรรมนูญฉบับปี ค.ศ.1958 (พ.ศ.2501) ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่ใช้อยู่จนกระทั่งถึงวันนี้ เกิดขึ้นมาจาก "ความล้มเหลว" ในระบบการเมืองการปกครองของฝรั่งเศสที่ผ่านๆมา รัฐธรรมนูญประกาศใช้ในวันที่ 14 ตุลาคม ค.ศ.1958 และมีบทบัญญัติจำนวนมากที่มีผลเป็นการ "ปฏิรูปการเมือง" ไม่ว่าจะเป็นการสร้างเสถียรภาพในการทำงานให้กับฝ่ายบริหาร การจัดตั้งองค์กรตรวจสอบทางการเมือง และความเป็นอิสระขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นต้น ตลอดระยะเวลา 40 ปีเศษของการใช้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญประมาณไม่ถึง 10 ครั้ง แต่ละครั้งก็เป็นการ "แก้ไขย่อย" เช่น ระบบการเลือกตั้งประธานาธิบดี หรือเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสนธิสัญญาและประชาคมยุโรป เป็นต้น จะมีการแก้ไขครั้งสำคัญที่มีผลทางการเมืองก็คือการตั้งองค์กรตรวจสอบทางการเมืองใหม่ขึ้นมา เนื่องจากองค์กรตรวจสอบเดิมตามรัฐธรรมนูญนั้นมีปัญหาและข้อบกพร่องในการทำงานเกิดขึ้นหลายครั้งทำให้ไม่สามารถ "ตรวจสอบ" ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองได้ ดังนั้น ในปี ค.ศ.1993 (พ.ศ.2536) หรือ 35 ปีภายหลังจากการบังคับใช้รัฐธรรมนูญจึงได้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญเสียใหม่ในส่วนที่เกี่ยวกับการตรวจสอบการใช้อำนาจของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองระดับสูงเพื่อให้เกิดความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น บทเรียนของฝรั่งเศสเป็นสิ่งที่น่าศึกษาและน่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง เพราะรัฐธรรมนูญฉบับปี ค.ศ.1958 นั้น เกิดขึ้นมาด้วย "มูลเหตุ" ที่ค่อนข้างจะคล้ายคลึงกับรัฐธรรมนูญไทย คือเพื่อให้เกิดการปฏิรูปการเมือง แต่อย่างไรก็ตาม กระบวนการจัดทำรัฐธรรมนูญและกฎหมายอื่นๆ ของฝรั่งเศสค่อนข้างที่จะต่างจากกระบวนการจัดทำรัฐธรรมนูญของไทยเพราะฝรั่งเศสใช้นักวิชาการจำนวนไม่กี่คนเข้ามาเป็นผู้ยกร่างรัฐธรรมนูญซึ่งมีความยาวไม่ถึง 100 มาตรา และเสนอให้ประชาชนออกเสียงประชามติ จากนั้นรัฐบาลที่เข้ามาก็ใช้เวลาเพียงไม่กี่เดือนจัดทำกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญในรูปของ "รัฐกำหนด" รวม 19 ฉบับ เพื่อจัดตั้งสถาบันการเมืองต่างๆ ตามรัฐธรรมนูญ และกฎหมายอื่นๆ อีก 200 กว่าฉบับในรูปของ "รัฐกำหนด" เช่นกัน ดังนั้นภายในระยะเวลาไม่ถึง 10 เดือน กลไกและองค์กรต่างๆ ตามรัฐธรรมนูญจึงเกิดขึ้นอย่าง "สมบูรณ์" และ "ครบถ้วน" คำถามที่ตามมาก็คือว่า ทำไมการแก้ไขรัฐธรรมนูญของฝรั่งเศสจึงเกิดขึ้นเพียงไม่กี่ครั้งในรอบ 40 ปีที่ผ่านมา และถึงแม้จะมีการแก้ไขแต่ก็เป็นการแก้ไข "เล็กน้อย" เท่านั้น คำตอบสำหรับกรณีดังกล่าวคงอยู่ที่ว่า ก็เพราะ "ความสั้น" ของรัฐธรรมนูญที่บรรจุเฉพาะเนื้อหาสาระที่เป็น "หลักสำคัญ" เท่านั้น เมื่อรัฐธรรมนูญบรรจุอยู่แต่เฉพาะ "หลักการ" ที่สำคัญ และหลักการดังกล่าวเป็น "หลักการขั้นพื้นฐาน" รายละเอียดปลีกย่อยของการดำเนินการตามหลักการดังกล่าวนั้นจะอยู่ในกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญและกฎหมายธรรมดา ดังนั้น การแก้ไขรัฐธรรมนูญจึงเกิดขึ้นไม่บ่อยครั้งดังที่ยกตัวอย่างมา แม้ "สภาพ" ของรัฐธรรมนูญจะไม่เหมือนกันแต่ "วิธีคิด" ของฝรั่งเศสเป็นสิ่งที่สมควรศึกษา เมื่อปี ค.ศ.1998 (พ.ศ.2541) ซึ่งเป็นปีที่รัฐธรรมนูญมีอายุครบ 40 ปี ก็เกิดกระแสความเคลื่อนไหวให้มีการแก้ไขปรับปรุงรัฐธรรมนูญใหม่ แต่ "กระแส" เหล่านั้นเกิดขึ้นในวงการวิชาการ โดย "วารสารกฎหมายมหาชน" (revue du droit public) ได้จัดทำวารสารฉบับพิเศษเนื่องในโอกาสครบรอบ 40 ปีรัฐธรรมนูญ วารสารดังกล่าวประกอบด้วยสาระสำคัญ 2 ส่วน ส่วนแรกเป็นการ "สัมภาษณ์" ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองระดับสูงในอดีตถึงปัญหา อุปสรรค และข้อขัดข้องทางรัฐธรรมนูญและทางกฎหมายในการปฏิบัติหน้าที่ของคนเหล่านั้น กับในส่วนที่สองจะเป็นการนำเสนอบทความของนักวิชาการในประเด็นต่างๆของรัฐธรรมนูญว่ามีข้อบกพร่องหรือมีข้อดีอย่างไร เอกสารกว่า 500 หน้านี้เป็น "ผลพวง" ของการทำงานที่เข้าใจว่าน่าจะเกิดขึ้นล่วงหน้าเป็นเวลาไม่ต่ำกว่า 2 ปี มีการศึกษาค้นคว้าอย่างเป็นระบบ จัดลำดับเรื่องเป็นหมวดหมู่ หากจะมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญในวันข้างหน้า ข้อมูลจากหนังสือนี้คงเป็นสิ่งสำคัญที่องค์กรผู้ทำหน้าที่แก้ไขรัฐธรรมนูญจะต้องนำมาเป็น "ต้นแบบ" ในการทำงานต่อไป การเอาตัวอย่างของประเทศฝรั่งเศสมานำเสนอในที่นี้มิได้มี "เจตนา" ที่จะ "เสนอ" ข้อเสนอที่มีผลเป็นการ "หน่วงเหนี่ยว" ไม่ให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญของเราแต่ประการใด ในทางตรงข้าม การนำเสนอตัวอย่างของฝรั่งเศสก็เพื่อแสดงให้เห็นถึง "ประสบการณ์" ของประเทศหนึ่งที่ "ผ่าน" การปฏิรูปการเมืองมาถึง 40 ปี มีการใช้กระบวนการและกลไกต่างๆ มาแล้วในช่วงระยะเวลาหนึ่ง รวมทั้งมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาแล้วหลายครั้ง เพื่อปรับปรุงระบบให้สอดคล้องกับทางปฏิบัติและเพื่อแก้ปัญหาข้อบกพร่องที่เกิดจากการใช้รัฐธรรมนูญ และที่สำคัญที่สุดก็คือมีการ "ศึกษาค้นคว้า" อย่างเป็นระบบเพื่อเตรียมตัวแก้ไขรัฐธรรมนูญในวันข้างหน้า ประเทศไทยเราเพิ่งผ่านการใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่มาได้เกือบ 5 ปีเท่านั้นเอง เกือบ 5 ปีที่ผ่านมานั้น ในบางครั้งแม้จะมีปัญหาเกิดขึ้นจากองค์กรหรือกระบวนการตามรัฐธรรมนูญ แต่ก็เป็นปัญหาที่ไม่แน่ว่าจะเกิดขึ้นตลอดไปหรือไม่ หรือเป็นปัญหาที่เกิดจากการดำเนินการมากกว่าเกิดจากข้อบกพร่องของรัฐธรรมนูญ ดังนั้น สิ่งที่สมควรพิจารณาในปัจจุบันจึงมิใช่เรื่องที่ว่าจะแก้ไขรัฐธรรมนูญในประเด็นใดบ้าง แต่เป็นเรื่องสำคัญ 2 ปัญหาที่สมควรพิจารณาในเบื้องต้นก่อนว่า ถึงเวลาแก้ไขรัฐธรรมนูญแล้ว หรือสมควรรอไปอีกสักระยะหนึ่งเพื่อให้องค์กรและกระบวนการตามรัฐธรรมนูญผ่าน "ประสบการณ์" มากกว่าปัจจุบัน อย่างไรก็ดี หากคิดว่าถึงเวลาที่จะต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญแล้ว ควรจะดำเนินการแก้ไขรัฐธรรมนูญอย่างไรให้มีความเหมาะสมที่สุด ควรหา "ผู้ที่เป็นกลาง" มาทำการ "ศึกษาวิจัยอย่างเป็นระบบ" ถึงประเด็นต่างๆ ของรัฐธรรมนูญว่ามีข้อบกพร่องเช่นไรหรือไม่ ประเด็นเหล่านี้เป็นประเด็นสำคัญที่ขอนำเสนอไว้ประกอบการพิจารณาเสนอขอแก้ไขรัฐธรรมนูญขององค์กรทั้ง 3 องค์กร คือ คณะกรรมการการเลือกตั้ง คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ.2540) ที่มาตรา 336 แห่งรัฐธรรมนูญได้ให้อำนาจทำรายงานเสนอความเห็นต่อรัฐสภาและคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเมื่อครบห้าปีนับแต่วันประกาศใช้
ลงเผยแพร่ครั้งแรกใน Public Law Net วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2545
26 มีนาคม 2551
รุมค้านแก้ม.237ถาวรท้าพลังแม้วเปิดชื่อคนล้มพปช.
“ถาวร” ค้านรัฐบาลจ่อแก้รัฐธรรมนูญ ชี้ชัด ม.237 บัญญัติขึ้นเพื่อป้องกันนักการเมืองถอนทุนคืนจากประชาชน ด้าน “ปองพล” ฟันธงควรเร้งแก้มาตรา 266 แจงเหตุเพราะมีการใช้ตำแหน่งเข้าไปแทรกแซง เพื่อผลประโยชน์ของตัวเอง
รายการ “คนในข่าว” ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์เอเอสทีวี คืนวันที่ 25 มี.ค.ที่ผ่านมา โดยมีนายเติมศักดิ์ จารุปราณ เป็นผู้ดำเนินรายการ ซึ่งเปิดประเด็นซักถามนายถาวร เสนเนียม รองเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ นายปองพล อดิเรกสาร อดีตกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย และนายเดโช สวนานนท์ อดีตรองสภาร่างรัฐธรรมนูญ ( สสร.) ถึงความชอบธรรมที่ ส.ส.ฝ่ายรัฐบาลจะยื่นเสนอขอแก้ไขรัฐธรรมนูญ ทั้งมาตรา 237 และพ่วงมาตราอื่นๆ โดยอ้างความชอบธรรม และไม่คำนึงถึงประโยชน์ที่แท้จริงของรัฐธรรมนูญ
โดย นายถาวร กล่าวว่า ในอดีต การเมืองที่สรกปกก็ คือ การเมืองถอนทุนคืน นั่นคือทุจริตคอร์รัปชั่น ก็จะถูกอ้างจนมีการปฏิวัติ แล้วย้อนกลับไปสู่การร่างรัฐธรรมนูญ แล้วมีการเลือกตั้งใหม่ ก็ไปซื้อตัว ส.ส.ส่งสงสมัครรับเลือกตั้ง นี่คือวงจรอุบาทว์ที่ทุกคนรับทราบ ดังนั้นจึงมีการคิดยาแรงกันมาโดยตลอด ซึ่งเมื่อดูเจตนารมณ์ของการกำหนดโทษเพิกถอนสิทธิหัวหน้าพรรคการเมือง รวมทั้งการยุบพรรค เป็นผลเนื่องมาจากการที่พรรคเป็นนิติบุคคล จึงถือว่าหัวหน้าพรรคเป็นผู้แทนนิติบุคคล ส่วนกรรมการบริหารพรรคเป็นผู้มีอำนาจบริหารพรรค ฉะนั้นหากสมาชิกพรรคกระทำการทุจริต บุคคลเหล่านี้ควรมีส่วนร่วมในการกระทำนั้น
“มาตรา 237 บัญญัติขึ้นมาเพื่อแก้ไขปัญหาเรื่องการถอนทุนคืนจากนักการเมือง ซึ่งกล้าสาบานหรือไม่ว่าเสียงข้างมากนั้นมาจากการซื้อเสียง เพราะ กกต.ก็มีการชี้มูลให้ใบแดง ประเด็นปัญหา คือ การที่ออกมาระบุว่าจะแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้น เกิดจากพรรคกำลังจะถูกยุบเนื่องจากกรรมการบริหารพรรคโดนใบแดง และที่เขาบอกว่ามีคนจ้องเล่นงานพรรคพลังประชาชนนั้น อยากถามว่าใคร บอกได้หรือไม่ เพราะมาตรา 237 ใช้กับทุกพรรคการเมือง และที่ระบุถ้า 3 พรรคถูกยุบ แล้วจะทำให้การเมืองถึงทางตัน นั้น ผมคิดว่าถ้าเกิน 60-70 คน จนต้องเลือกตั้งซ่อม ส.ส.ของพรรคที่ถูกยุบ และยังมีสิทธิ ก็สามารถรวมตัวกันตั้งพรรคใหม่ได้ และไม่ถือว่าฆ่าประเทศ เพราะรัฐบาล และสภายังอยู่ แต่ถ้าหากมีการปะทะกัน ก็อาจจะทำให้เกิดวิกฤติได้”นายถาวร กล่าว
นายถาวร ยังกล่าวถึงกรณีที่มีการระบุว่าจะมีการตัดวรรคสองออก ว่า ถ้ายกวรรคสองออก คือ จะไม่มีการยุบพรรค และเจ้าของเงินก็จะลอยนวล ซึ่งถ้าไม่ยุบพรรคการเมืองยอมรับได้ แต่กรรมการบริหารพรรคไม่ควรลอยนวล ซึ่งถ้าตัดทิ้ง 39 คนลอยนวล แต่คนที่ต้องรับกรรมคือนายยงยุทธ ติยะไพรัช วนการแก้รัฐธรรมนูญ จะต้องทำประชามติหรือไม่นั้น โดยส่วนตัวคิดว่ามีความจำเป็นที่จะต้องทำประชามติ หลังจากนั้นตั้งคณะทำงานขึ้นมาโดยให้คนที่เป็นกลางที่มีความรู้ในการออกแบบสร้างกติกาของประเทศ โดยไม่ได้ดูเพียงมาตรา 237 เพียงอย่างเดียว
ขณะที่ นายเดโช กล่าวว่า ความชอบธรรมในการแก้รัฐธรรมนูญนั้น ไม่มีข้อกำหนดตายตัวว่ามีความจำเป็นที่จะแก้ไขหรือไม่ และจะแก้เฉพาะมาตราไม่ได้ เพราะจะต้องอธิบายเหตุผลให้ชัดเจน ซึ่งในอดีตผู้ร่างกฎหมายจะกำหนดการลงโทษเพื่อหยุดพฤติกรรม ฉะนั้นมาตรา 237 ก็คือการประหารชีวิตทางการเมือง ทำให้พรรคการเมืองต้องรับผิดชอบ ซึ่งคณะปฏิวัติเขาคิดอย่างนั้น เพราะในภาวะบ้านเมืองวิกฤติสุดขีด เขาจึงต้องใช้ยาแรง แต่ตอนนี้สถานการณ์ไม่ถึงขนาดนั้นแล้ว แนวคิดหลักจะพัฒนาประเทศ พรรคการเมืองถือเป็นเรื่องใหญ่จะยุบไม่ได้
“หลักการในการแก้ไขในสิ่งที่เขาคิดว่าไม่เป็นประชาธิปไตยนั้น มันมีอยู่หลายข้อ ซึ่งรัฐธรรมนูญไม่สามารถยุบกลุ่มการเมืองได้ ฉะนั้นทางออกคือพรรคการเมือง เปลี่ยนเป็นกลุ่มการเมืองได้หรือไม่ ถ้าเปลี่ยนเป็นกลุ่มการเมืองเวลาส่ง ส.ส.ลงสมัคร ได้หรือไม่ เราไปล็อคตรงที่ ส.ส.ต้องสังกัดพรรค ซึ่งเป็นไปได้หรือไม่ได้ว่าที่ผู้สมัคร ส.ส.จะไม่ต้องสังกัดพรรค โดยเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญปี 40 คือ ต้องการพัฒนาพรรคการเมือง ยุบพรรคยาก ต้องมีหลักฐานที่ชัดเจน ไม่เช่นนั้นแล้วบ้านเมืองจะพัฒนาอย่างไร ประกอบกับศาลรัฐธรรมนูญอาจจะไม่ยุบพรรคก็ได้ และอาจจะเป็นการตีตนไปก่อนไข้”นายเดโช กล่าว
ด้าน นายปองพล กล่าวในฐานะผู้สนใจการเมือง ว่า ในชีวิตการเมืองผ่านการปฏิวัติมาหลายครั้ง โดยตนมองกติกา และยอมรับต่อสิ่งที่เกิดขึ้น ซึ่งการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 นั้น สามารถที่จะแก้ไขได้ เพราะถ้อยคำที่ระบุว่ามีหลักฐาน “อันควรเชื่อได้ว่า” ตนคิดว่ามันอ่อน และไม่ถูกต้อง ซึ่งถ้าตนแก้เอง ก็อยากจะระบุเอาไว้ว่า หลักฐานอันพิสูจน์ได้ชัดเจน ขณะเดียวกันควรจะแก้ในอีกหลายประเด็น เพราะควรจะทำให้เบ็ดเสร็จ โดยเฉพาะกรณีที่ระบุว่ากรรมการบริหารพรรคทำผิด แล้วให้ถือว่าพรรคกระทำผิดด้วยนั้น เป็นไปได้ 2 ทาง คือ บางกรณีก็เกิดขึ้นได้ แต่บางกรณีก็ไม่ใช่
“ดังนั้นจึงควรมีการพิสูจน์ให้ชัดเจน และตนคิดว่าพรรคการเมืองไม่ควรถูกยุบ เพราะโทษไม่ควรแรงถึงขั้นยุบพรรค ทั้งนี้ผมไม่หวังว่าจะได้รับนิรโทษกรรม เพราะไม่ถึงกับตาย และสามารถวิพากษ์วิจารณ์ได้ ซึ่งไม่เห็นด้วยกับการที่จะเอาวรรคสองออกไปทั้งหมด”นายปองพล กล่าว
นายปองพล กล่าวอีกว่า ในแง่ของประชาธิปไตย การแก้มาตราอื่นมีผลมากกว่าการแก้มาตรา 237 โดยเฉพาะมาตรา 266 ซึ่งระบุไว้ว่า ต้องไม่ใช้สถานนะ หรือตำแหน่งเข้าไปแทรกแซง เพื่อผลประโยชน์ของตัวเอง ถือว่าขัดหลักประชาธิปไตย ซึ่งคิดว่าร้ายแรงกว่ามาตรา 237 เพราะมาตราดังกล่าวมีผลต่อประชาชนทั้งสิ้น
ที่มา : ผู้จัดการออนไลน์
24 มีนาคม 2551
คลังลั่นแก้กฎหมายรธน. ฟื้นความเชื่อมั่นต่างชาติ
สุรพงษ์ ลั่นแก้ไขกฎหมายรัฐธรรมนูญช่วยสร้างความเชื่อมั่นนักลงทุน รองรับวิกฤตเศรษฐกิจโลก ขณะเดียวกันยังมั่นใจว่าแผนปรับขึ้นเงินเดือนข้าราชการจะไม่เป็นตัวแปรเร่งอัตราเงินเฟ้อให้ปรับตัวสูง
นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวระหว่างร่วมงานสัมมนา “โรดแมพฟื้นเศรษฐกิจชาติ” ว่า แนวทางการปรับขึ้นเงินเดือนข้าราชการ คาดว่าจะมีข้อสรุปเร็ว ๆ นี้ โดยยืนยันจะไม่เป็นส่วนสำคัญผลักดันให้อัตราเงินเฟ้อปรับตัวขึ้นไปอีก เพราะที่ผ่านมาอัตราเงินเฟ้อเป็นผลมาจากราคาสินค้าสูงขึ้นจากต้นทุนราคาน้ำมันแพง แต่ไม่ใช่เป็นผลจากค่าแรงที่สูงขึ้น ซึ่งเป็นเรื่องที่รัฐบาลเป็นห่วง เนื่องจากปัญหาเงินเฟ้อสูงแต่คนยังตกงาน
นอกจากนี้ ยังมองว่าการออกนโยบายต่าง ๆ ในช่วงที่ผ่านมาและการจัดสรรเงินโครงการกองทุนเอสเอ็มแอล จะกระตุ้นให้ประชาชนจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น แต่จะไม่เป็นส่วนสำคัญให้อัตราเงินเฟ้อปรับตัวสูงเกินไป
ส่วนข้อเสนอแก้ไขกฎหมายรัฐธรรมนูญ นพ.สุรพงษ์ กล่าวว่า เป็นเรื่องการสร้างความเชื่อมั่นให้นักลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพราะหากการเมืองมีปัญหาจะมีส่วนสำคัญต่อความเชื่อมั่นนักลงทุน แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นครั้งนี้คงไม่ร้ายแรงเหมือน 2 ปีที่ผ่านมา
สำหรับโดยแนวทางการแก้ไขกฎหมายรัฐธรรมนูญจะเป็นแนวทางใดระหว่างแก้ไขทั้งฉบับหรือบางส่วน ต้องหารือกับทุกฝ่ายไม่ว่าพรรคการเมือง นักวิชาการ และประชาชน แต่สิ่งสำคัญจะทำให้การเมืองมีเสถียรภาพ รองรับปัญหาที่จะเกิดขึ้นของเศรษฐกิจโลก เนื่องจากปัญหาเศรษฐกิจสหรัฐซึ่งจะส่งผลต่อประเทศต่าง ๆ มากขึ้นในช่วงกลางปี จึงต้องเร่งแก้ไขปัญหาการเมืองและมีผู้เข้ามาดำเนินนโยบายเศรษฐกิจที่จะสร้างความเชื่อมั่นให้กับทุกฝ่าย
ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ

สาระสำคัญ พรบ.คอมพิวเตอร์

สาระสำคัญของพระราชบัญญัติ
1. เจ้าของไม่ให้เข้าระบบคอมพิวเตอร์ของเขา แล้วเราแอบเข้าไป..เจอคุก 6 เดือน (มาตรา 5)
2. แอบไปรู้วิธีการเข้าระบบคอมพิวเตอร์ของชาวบ้าน แล้วเที่ยวไปโพนทะนาให้ชาวบ้านรู้.. เจอคุกไม่เกิน 1 ปี (มาตรา 6)
3. ข้อมูลของเขา เขาเก็บไว้ในระบบคอมพิวเตอร์ดีๆแล้วแอบไปล้วงของเขา...เจอคุกไม่เกิน 2 ปี (มาตรา 7)
4. เขาส่งข้อมูลหากันผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบส่วนตั๊วส่วนตัว แล้วเราทะลึ่งบ๊องไปดักจับข้อมูลของเขา...เจอคุกไม่เกิน 3 ปี (มาตรา 8)
5. ข้อมูลของเขาอยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ของเขาดีๆ เราดันมือบอนไปโมมันซะงั้น..เจอคุกไม่เกิน 5 ปี (มาตรา 9)
6. ระบบคอมพิวเตอร์ของชาวบ้านทำงานอยู่ดี ๆ เราดันยิง packet หรือ message หรือ virus หรือ trojan หรือ worm ทั้งหลายแหล่เข้าไปก่อกวนจนระบบเขาเดี้ยง..เจอคุกไม่เกิน 5 ปี (มาตรา 10)
7. เขาไม่ได้อยากได้ข้อมูลเราเล้ย เราก็ดันเจ้ากี้เจ้าการส่งให้เขาอยู่นั่นแหละ จนทำให้เขาเบื่อหน่ายรำคาญ....เจอปรับไม่เกินแสนบาท (มาตรา 11)
8. ถ้าเราผิดข้อ 5 กับข้อ 6 แล้วมันสร้างความพินาศใหญ่โตในระดับรากหญ้า งานนี้มีซวยแน่....เจอคุกตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป (มาตรา 12)
9. ถ้าเราสร้างซอร์ฟแวร์เพื่อช่วยให้ใครๆทำเรื่องแย่ๆในข้อข้างบนๆได้...เจอคุกไม่เกินปีนึงเหมือนกัน (มาตรา 13)
10. โป๊ก็โดน,โกหกก็โดน,เบนโลก็โดน,ท้าทายอำนาจรัฐก็โดน...เจอคุกไม่เกิน 5 ปี (มาตรา 14)
11. ใครเป็นเจ้าของเว็บ แล้วยอมให้เกิดข้อ 10 ก็โดนด้วย...เจอคุกไม่เกิน 5 ปีเช่นเดียวกัน (มาตรา 15)
12. ถ้าเราเรียกให้ชาวบ้านมาดูงานของศิลปินข้างถนน ซึ่งชอบเอารูปชาวบ้านมาตัดต่อ
13. เตรียมใจไว้เลยมีโดน...เจอคุกไม่เกิน 3 ปี (มาตรา 16)
เราทำผิดที่เว็บไซต์ซึ่งอยู่เมืองนอก แต่ถ้าเราเป็นคนไทย อย่าคิดว่ารอดโดนด้วยเช่นเดียวกัน (มาตรา 17)
14.ฝรั่งทำผิดกับเราแล้วมันอยู่เมืองนอกแต่เราเป็นคนไทยก็เอาผิดกับมันได้เหมือนกัน (มาตรา 18)
by Legal Team
==================================