วันอังคารที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ฝ่าวิกฤติสวนยางพาราในเขตภาคอีสาน ตอนที่1






































สวัสดีครับ คงไม่เกินเลยไปนะครับสำหรับหัวข้อในวันนี้





















ต่อจากฉบับที่แล้วสัญญาว่าจะนำเสนอรูปสวนยางพาราที่ประสพภัยแล้งในภาคอีสานมาฝาก








ภาพ1,2 สวนยางตายแล้ง อ.เกษตรสมบูรณ์ จ.ชัยภูมิ



ภาพที่3,4สวนยางต.บ้านเพชร อ.ภูเขียว จ.ชัยภูมิ ล้วนแล้วแต่เป็นยางที่อายุกว่า 4 ปีแล้วขนาดลำต้นกว่า30 เซนติเมตรขึ้นไป เสียหายเยอะจริงๆครับสำหรับ การปลูกยางพารา สวนยางแบบพืชเชิงเดี่ยวแบบในปัจจุบัน


มาวิเคราะห์วิเคราะห์ปัญหากัน
ข้อมูลจาก

หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ -- อังคารที่ 8 ธันวาคม 2552 00:00:00 น.
นางนุชนารถ กังพิศดาร นักวิชาการเกษตรชำนาญการพิเศษ รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสถาบันวิจัยยาง เปิดเผยว่า ยางพาราที่ปลูกในพื้นที่ไม่เหมาะสม เช่น พื้นที่ลุ่มนาข้าว พื้นที่มีหน้าดินตื้น พื้นที่มีระดับน้ำใต้ดินสูงหรือระดับน้ำใต้ดินอยู่ใกล้ผิวดิน พื้นที่มีชั้นดินดาน หรือดินที่มีชั้นกรวดอัดแน่น มีแผ่นหินแข็งระดับลึกจากผิวดินประมาณ 1 เมตร จะเป็นอุปสรรคต่อการเจริญเติบโตของต้นยางหลังจากปีที่ 3 ทำให้ชะงักการเติบโต ขอบใบแห้ง ตายจากยอดและยืนต้นตายในช่วงฤดูแล้ง เนื่องจากรากแขนงไม่สามารถชอนไชดูดน้ำในฤดูแล้งได้
ดังนั้น เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงปลูกในพื้นที่เหล่านี้ โดยปลูกพืชล้มลุกหรือพืชที่มีระดับตากตื้นจะเหมาะสมกว่า เนื่องจากต้นยางเป็นพืชที่ต้องการหน้าดินลึก และระบายน้ำได้ดี ส่วนต้นยางที่ปลูกในพื้นที่ลุ่มหรือพื้นที่นาเดิม ซึ่งเป็นพื้นที่มีระดับน้ำใต้ดินอยู่ใกล้ผิวดิน ทำให้รากถูกจำกัดไม่สามารถเติบโตได้เต็มที่
ในระยะ 1-3 ปีอาจเห็นว่าต้นยางเติบโตดี เนื่องจากระดับใต้ดินอยู่ตื้น ทำให้ต้นยางได้รับความชื้น แต่เมื่อโตขึ้นระบบรากถูกจำกัดและสภาพดินขาดออกซิเจน ทำให้ชะงักการเติบโต เปิดกรีดได้ช้า ต้นยางที่ปลูกในพื้นที่เหล่านี้จำเป็นต้องระบายน้ำออกจากพื้นที่ โดยไถพูนโคนเพื่อทำให้ระหว่างแถวเป็นร่องระบายน้ำได้ดี หรือขุดคูระบายน้ำให้ลึกกว่าระดับน้ำใต้ดิน จึงจะสามารถระบายน้ำได้ แต่ก็เพิ่มต้นทุนในการจัดการ
จากการสำรวจพื้นที่สวนยางเกษตรกร โดยศูนย์วิจัยยางหนองคาย ที่ อ.โนนสัง จ.หนองบัวลำภู ที่ประสบปัญหาต้นยางอายุ 2 ปี ใบเหลือง แคระแกร็น ในช่วงฤดูแล้งดินแห้งแข็ง และออกดอกในช่วงเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม โดยดอกมีลักษณะเป็นกระจุกคล้ายช่อดอกสะเดา พบว่าเป็นสวนยางที่ปลูกโดยไม่ยกร่องเพื่อระบายน้ำ เมื่อเข้าสู่ฤดูฝนทำให้น้ำท่วมขังเป็นเวลานาน ส่งผลให้ใบเหลืองและแคระแกร็น กรณีการออกดอกในช่วงดังกล่าวถือว่านอกฤดู ที่เป็นกระจุกเป็นผลมาจากสภาพแวดล้อมที่แห้งแล้ง เมื่อเข้าฤดูฝนได้รับการใส่ปุ๋ยลักษณะดังกล่าวก็จะหายไป
นอกจากนี้ยังพบปัญหาการปลูกยางในพื้นที่นาเดิมที่ จ.พัทลุง ซึ่งไม่เหมาะสมเพราะระดับใต้ดินอยู่ใกล้ผิวดินมาก โดยเฉพาะนาลุ่มที่มีระดับน้ำใต้ดินสูงกว่า 50 ซม. ส่วนพื้นที่นาดอนระดับน้ำใต้ดินสูงประมาณ 50 ซม. ขณะที่ยางพาราหากให้ระดับน้ำพอเหมาะไม่ควรน้อยกว่า 1 เมตร จึงพบว่ายางที่ปลูกในพื้นที่นาดอนส่วนใหญ่จะยืนต้นตายเมื่ออายุไม่เกิน 7-10 ปี และพื้นที่นาลุ่มเมื่ออายุ 2-5 ปี ขึ้นอยู่กับการระบายน้ำออกจากสวนยาง
นางนุชนารถกล่าวว่า ปัญหาการปลูกยางในพื้นที่ไม่เหมาะสมดังกล่าว หากไม่ได้รับการแก้ไขจะสูญเสียทางเศรษฐกิจ ดังนั้น ผู้เกี่ยวข้องจึงควรแนะนำเกษตรกรขุดคูระบายน้ำออกจากแปลงให้ลึกว่าระดับน้ำใต้ดิน และใส่ปุ๋ยอินทรีย์เพื่อปรับโครงสร้างของดินในร่วนซุย ก็จะช่วยให้ต้นยางรอดตายได้ หากเกษตรกรสนใจในรายละเอียดต่างๆ ขอคำแนะนำได้ที่ สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร โทร 0-2579-1576 ต่อ 501, 522, 523 ศูนย์วิจัยยางหนองคาย 0-4242-1396, ฉะเชิงเทรา 0-3813-6225-6 สุราษฎร์ธานี 0-7727-0425-7, สงขลา 0-7421-2401-5.

ต่อตอนที่2ครับง่วงแล้ว มีภาพเด็ดๆที่ทำให้เจ้าสัวทางใต้ที่หันมาปลูกยางในขตแห้งแล้งต้องทบทวนใหม่












ไม่มีความคิดเห็น: