วันพุธที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ทำไมสวนยางพาราต้องมีแนวกันลม

สภาพสวนที่ถูกลมพายุทำลาย อธิบายด้วยภาพน่าจะชัดเจนที่สุดนะครับ
ในช่วงผลัดเปลี่ยนฤดูฝนสุ่หนาวเดือนพฤศจิกายนนี้อันตรายพอสมควรครับ
ต้องตัดให้ต่ำกว่าบริเวณที่มีการฉีกัหลงไปประมาณ1ฝ่ามือ













สภาสวนยางที่โดนลมพัดต้นยางหักโค่นที่อ.หนองบัวแดง จ.ชัยภูมิ
เกษตรกรบอกว่ารุนแรงที่สุดในรอบสิบกว่าปีที่ผ่านมา
เตรียมจะกรีดยางกันอยู่แล้วครับ





ลมกระโชกแรง






สภาพสวนยางหลังพายุสงบ



























อายุยาง5ปีี4เดือน
















































รูปนี้ชัดเจนที่สุดซ้ายมือจะมีแนวต้นไผ่กันลมได้รับความเสียหายน้อยกว่า










































































































































































เสียหายมากจริงๆครับ

แนวกันลมต้องเตรียมวางแผนปลูกตั้งแต่ยางยังเล็กครับเผื่อมีเหตุการณ์ที่คาดไม่ถึงแบบนี้จะช่วยผ่อนหนักเป็นเบาได้บ้างครับ






















วันเสาร์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2552

การเตรียมสวนยางก่อนเข้าฤดูแล้ง






















การเตรียมสวนยางก่อนเข้าฤดูแล้ง
ช่วงฤดูหนาว ต่อเนื่องไปถึงช่วงฤดูร้อน กระแสลมที่พัดรุนแรง ประกอบกับแสงแดดที่แผดกล้า เป็นสาเหตุให้ดินแห้ง ขาดความชุ่มชื้น ก่อผลกระทบโดยตรงต่อการเจริญเติบโตของพืช ในช่วงนี้จึงนับเป็นช่วงสำคัญที่อาจสร้างความเสียหายแก่สวนยางได้จากหลายๆสาเหตุ หากขาดการดูแลและจัดการที่ดีพอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสวนยางปลูกใหม่ และสวนยางเล็ก อายุไม่เกิน 3 ปี
การจัดการสวนยางที่ดี ควรเริ่มเตรียมการเสียแต่เนิ่นๆ ล่วงหน้าก่อนเข้าสู่ช่วงแล้งประมาณ 1 เดือน ขณะดินมีความชุ่มชื้นอยู่สูง เพื่อลดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น ด้วยการกำจัดวัชพืชในสวนยาง พร้อมทำแนวกันไฟ หาเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมาคลุมโคนต้นยาง ตัดแต่งกิ่งเพื่อลดแรงต้านลม เหล่านี้ เป็นต้น
การจัดการสวนยางอย่างถูกต้องเหมาะสม และหมั่นตรวจตราดูแลสวนยางอย่างสม่ำเสมอ จักช่วยลดความเสี่ยงจากความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากผลภัยแล้งเหล่านี้อย่างได้ผล
การบำรุงรักษาสวนยาง
• กำจัดวัชพืชในสวนยาง
ภายในสวนยาง ระหว่างแถวยางที่มีวัชพืชขึ้นสูง และหนาแน่นในช่วงฤดูฝนที่ผ่านมา ควรใช้วิธีถาก หรือหวดชิดดิน แล้วเก็บเศษซากวัชพืชออกไปคลุมโคนต้นยาง ไม่ควรใช้วิธีฉีดพ่นสารเคมี เนื่องจากวัชพืชที่ยืนต้นตาย อาจเป็นเชื้อไฟอย่างดี หากมีไฟลามเข้ามาในสวน
• ใส่ปุ๋ยบำรุง
เมื่อปราบวัชพืชเรียบร้อยแล้วให้ใส่ปุ๋ยบำรุงทันทีในช่วงปลายฤดูฝนขณะที่ดินมีความชื้น เพื่อให้ต้นยางมีความสมบูรณ์และแข็งแรงเพียงพอที่จะรอดตายผ่านหน้าแล้งได้ งดการใส่ปุ๋ยในช่วงแล้ง เพราะการใส่ปุ๋ยในช่วงแล้งไม่เกิดประโยชน์อันใดต่อต้นยาง นอกจากสิ้นเปลืองแล้วต้นยางอาจเกิดอันตรายเสียหาย เนื่องจากปริมาณความชื้นในดินต่ำเกินไปไม่เพียงพอที่จะละลายปุ๋ยให้ต้นยางใช้ได้ หากมีฝนตกบ้างแต่ไม่มากพอที่จะละลายปุ๋ยได้ ปุ๋ยที่เกาะตามรากกลับดึงความชื้นจากต้นยางไปใช้ ทำให้ต้นยางเหี่ยวเฉา และอาจเกิดโรครากเน่าตามมาได้
• คลุมโคนต้นยาง
ต้นยางอ่อนอายุระหว่าง 1-3 ปี ยางมีขนาดเล็กจึงขาดร่มเงา หรือมีร่มเงาน้อย การคลุมโคนต้นยางจึงเป็นวิธีการที่จำเป็นในการช่วยรักษาความชื้นในดินให้ชุ่มชื้นนานที่สุดเท่าที่จะเป็นได้ เพื่อช่วยให้ต้นยางเจริญเติบโตดีขึ้น และสามารถรอดตายผ่านฤดูแล้งไปได้
วิธีการคลุมโคน ควรคลุมต้นยางก่อนเข้าหน้าแล้งประมาณ 1 เดือน โดยใช้วัสดุธรรมชาติ ที่หาได้ง่ายในท้องถิ่นมีปริมาณมาก ไม่มีต้นทุน หรือมีต้นทุนต่ำ เช่น เศษซากวัชพืช ซากพืชคลุม หญ้าคา ฟางข้าว คลุมพื้นที่บริเวณโคนต้นยางเป็นวงกลม
ประมาณ 1 เมตร หนาประมาณ 10 เซนติเมตร ห่างจากโคนต้นยาง 5-10 เซนติเมตร หรือประมาณ 1 ฝ่ามือ
หากมีวัสดุและแรงงานเพียงพอ ควรคลุมตลอดทั้งแถวยาง เพื่อช่วยให้การรักษาความชุ่มชื้นในดินดีขึ้น ทั้งยังช่วยป้องกันวัชพืชขึ้นในแถวยางได้อีกด้วย
ข้อควรระวัง การคลุมโคนต้นยางในหน้าแล้ง วัสดุที่ใช้อาจติดไฟได้ง่ายควรระวังเหตุที่อาจทำให้เกิดไฟไหม้ด้วย
• การตัดแต่งกิ่ง
ในช่วงปลายฤดูฝนหลังจากปราบวัชพืชและใส่ปุ๋ยบำรุงแล้ว ต้นยางมักแตกกิ่งแขนงเป็นจำนวนมาก เป็นเหตุให้ทรงพุ่มหนัก ต้านทานลมมาก จนต้นโยกคลอน ส่งผลกระทบไปถึงรากแขนงที่เป็นแหล่งดูดอาหารแก่ต้นยาง จึงควรตัดกิ่งแขนงที่มากเกินออกไป ให้เหลือเพียง 2-3 กิ่ง ในทิศทางที่ทำให้ทรงพุ่มเกิดความสมดุล
การตัดแต่งกิ่งที่ถูกต้องควรดำเนินการดังนี้
- ใช้อุปกรณ์ที่สะอาด และมีความคม
- ตัดแต่งกิ่งให้ชิดกับลำต้น ไม่ควรโน้มต้นยางลงมาเพื่อตัดแต่งกิ่ง เพราะอาจทำให้ต้นยางเสียหายได้
- หลังตัดแต่งกิ่งควรใช้ปูนขาวหรือปูนแดงหรือสี ทาบริเวณที่ตัด
• การป้องกันรอยไหม้จากแสงแดด
ต้นยางที่ปลูกในเขตแห้งแล้ง มักปรากฏรอยไหม้ที่บริเวณโคน เนื่องจากเนื้อเยื่อภายในลำต้นส่วนนั้นได้รับแสงแดดเป็นเวลานานติดต่อกันจนเกิดความเสียหาย เป็นรอยแผลทั้งขนาดเล็ก และขนาดใหญ่ บ้างตื้น บ้างลึก ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของแสงแดดที่กระทบโคนต้นยางโดยตรง
ต้นยางอ่อนอายุ 1-3 ปี สามารถป้องกันรอยไหม้จากแสงแดด ก่อนเข้าหน้าแล้งได้ ด้วยการใช้ปูนขาวผสมน้ำอัตรา 1:1 ทิ้งไว้ค้างคืน ทาบริเวณโคนต้นตั้งแต่ส่วนที่ชิดกับผิวดินขึ้นมาจนสูงจากพื้นดินประมาณ 1 เมตร
สำหรับต้นที่เกิดรอยแผลให้ใช้สีน้ำมันทาปิดทับบริเวณรอยแผลทันทีที่พบ เพื่อป้องกันเชื้อโรคเข้าทำลายซ้ำที่แผล และควรทาสีทับอีกครั้ง ก่อนเข้าหน้าแล้ง
• การป้องกันไฟไหม้ในสวนยาง
สาเหตุที่สวนยางเกิดไฟไหม้ อาจเกิดจากก้นบุหรี่ที่มีผู้ทิ้งไว้ หรือเกิดจากสวนข้างเคียงเกิดไฟไหม้แล้วลุกลามเข้ามาในสวนยาง หรือจากไฟป่าตามธรรมชาติ ประกอบกับในช่วงหน้าแล้งมีเชื้อไฟจากวัชพืชที่แห้งตาย วัสดุคลุมโคนต้นยางและใบยางร่วง ทำให้ไฟไหม้ขยายตัวได้อย่างรวดเร็ว
การป้องกัน
- ทำแนวกันไฟ เพื่อป้องกันไฟที่ลุกลามมาจากบริเวณข้างเคียง โดยการขุด ถาก
วัชพืช และเก็บเศษซากพืช หรือไถบริเวณรอบสวนยาง ออกเป็นแนวกว้างประมาณ 3 - 5 เมตร สำหรับ
สวนยางขนาดใหญ่ ควรทำแนวกันไฟ ภายในสวนระหว่างแถวยางทุก ๆ 100 เมตร
- การกำจัดวัชพืช ควรกำจัดวัชพืชบริเวณแถวยางออกให้หมดข้างละ 1 เมตร ใช้วิธีถาก หรือตัดออก แล้วนำเศษมาคลุมโคนต้น ควรหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชในหน้าแล้ง เพราะวัชพืชที่ยืนแห้งตายอาจเป็นเชื้อไฟได้อย่างดี
การแก้ไขเมื่อต้นยางถูกไฟไหม้
ในกรณีที่ถูกไฟไหม้ไม่รุนแรงนัก ควรใช้ปูนขาวผสมน้ำอัตรา 1:1 ทิ้งไว้ค้างคืน
แล้วทาลำต้น เพื่อป้องกันความร้อนจากแสงแดด และป้องกันต้นยางสูญเสียน้ำ รวมทั้งโรคและแมลงอาจเข้าทำลาย หากเปลือกต้นยางบริเวณที่ถูกไฟไหม้แตกออก ให้ใช้มีดคม ๆ ปาดเอาส่วนที่เสียหายออก แล้วใช้สีน้ำมันทาปิดทับ เพื่อช่วยให้รอยแผลหายได้เร็วขึ้น หากต้นยางได้รับความเสียหายจนไม่อาจรักษาหน้ายางได้เกินร้อยละ 40 ของทั้งสวน ควรทำการปลูกใหม่
--------------------------------------

วันจันทร์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2552

พืชคลุมดินในสวนยาง....เพอราเรีย

ประโยชน์ที่คาดไม่ถึงจากเศษซากถั่วคลุมดิน
ตัวอย่างการออกดอกในปีที่ผ่านมา


ช่วง6เดือนแรกถั่วคลุมยังไม่หนา








มาดูกันเมื่อถั่วอายุครบ1ปี

ตัวอย่างสวนยางพืชคลุมดิน เพอราเรีย





อายุยาง1ปีโตดีแม้ดินเหนี๋ยว






คลุมหญ้าได้ผล100%






แม้ป่าหญ้าคาก็ไม่เหลือร่องรอย





ปีนี้สมบูรณ์เต็มที่เมล็ดพันธุ์หายห่วงครับ






เพอราเรีย พืชคลุมดินในสวนยางพารา






เป็นอีกทางเลือกที่อยากแนะนำกับผู้ที่สนใจพืชคลุมดินที่ยังกังขากับพืชลุมดินชนิดนี้อยู่ด้วยผลการทดลองปลูกจริงในสวนยางและได้ผลจนเป็นที่น่าพอใจ จึงอยากถ่ายทอดประสบการณ์สู่ผู้ที่สนใจ.....เพราะบางท่านอยากปลูกพืชคลุมดิน ซีรูเลี่ยม แต่หายากมากๆ






ถั่วคลุมดินอีกหนึ่งชนิดที่อยากจะนำเสนอ นอกจากที่คนทั่วไปรู้จักเป็นอย่างดีแล้ว แต่ราคาแพง หายากและก็ผลิตเมล็ดยากนั่กคือ ซีรูเลี่ยม และคลุมวัชพืชช้ากว่าเพอราเรีย(อีกด้วย)






พระเอกของเราวันนี้คือ เพอราเรีย (Pueraria )






ในสภาพท้องที่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือเพอราเรียถือได้ว่าไปได้สวยกว่าเพราะการปีนป่ายคลุมวัชพืชรวดเร็วต่างกับซีรูเลี่ยมจะไปในแนวราบกับพื้นดินในปีช่วงแรกทำให้สู้กับวัชพืชที่มีมากในสวนยางลำบากและการผลิตเมล็ดก็ไม่มีปัญหาเพราะการออกดอกติดฝักแม้เขตแห้งแล้งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือก็ติดฝักให้ผลผลิตเป็นที่น่าพอใจ





และเนื่องจากมีเถาที่ใหญ่ใบใหญ่หนา การคืนปุ๋ยให้ดินก็เป็นที่น่าพอใจครับ





และที่สำคัญในบรรดาพืชคลุม4ชนิด มีเพอราเรียกับซีรุเลี่ยมที่ปลูกครั้งเดียวอายุข้ามปีครับนอกนั้นปีเดียวตาย






มาดูข้อมูลทางวิชาการกันบ้าง





Knowledge การปลูกพืชคลุมดิน
ในระยะแรกของการปลูกสร้างสวนยางพารา เกษตรกรควรปลูกพืชคลุมดินในสวนยางเพื่อช่วยรักษาความชุ่มชื้นในดิน ป้องกันการชะล้างและพังทลายของดิน และช่วยควบคุมวัชพืช เป็นการลดค่าใช้จ่ายในการปราบวัชพืช
ประโยชน์ของพืชคลุมดิน
- ควบคุมการเจริญเติบโตของวัชพืชทำให้ลดเวลา แรงงาน ตลอดจนค่าใช้จ่ายในการปราบวัชพืช -ป้องกันการชะล้างหน้าดินและลดการพังทลายของหน้าดิน - เพิ่มอินทรียวัตถุในดิน - เพิ่มธาตุอาหารให้กับดินจากความสามารถในการตรึงไนโตรเจนของบักเตรีไรโซเบียมในปมรากและเศษซากพืชคลุม ซึ่งในช่วง 5 ปีแรกปริมาณธาตุอาหารที่กลับคืนดินได้ ไนโตรเจน ไร่ละ 30-56 กก. ฟอสเฟต ไร่ละ 3-4.5 กก. โปเตสเซียม ไร่ละ 14-21 กก. แมกนีเซียม ไร่ละ 2.5-4.5 กก. - ช่วยลดอุณหภูมิในดินและช่วยรักษาความชื้นในดิน -ลดการเกิดโรครากของต้นยาง
พันธุ์พืชคลุมดิน
พืชคลุมดินที่เหมาะสมกับการปลูกในสวนยาง เป็นพืชตระกูลถั่ว ได้แก่ 1. คาโลโปโกเนียม เป็นพืชคลุมชนิดเถา เลื้อยไปตามผิวดิน ฝักมีขน ใบใหญ่ ดอกเล็ก สีน้ำเงินอ่อน เมล็ดเล็กแบบสีน้ำตาลอ่อน เจริญเติบโตคลุมพื้นที่ได้รวดเร็วมากจนแน่นทึบ คลุมดินได้หนา 30-60 ซม. ภายในเวลา 5-6 เดือน ออกดอกหลังจากปลูกประมาณ 3-5 เดือน เมื่อมีอายุ 18 เดือนไปแล้วก็เริ่มขึ้นได้ดีในดินทุกชนิด ชอบฝนตกชุก แต่ไม่ชอบน้ำขัง ไม่ชอบร่มเงา น้ำหนัก 1 กก. มีจำนวนเมล็ดประมาณ 68,400 เมล็ด 2. เซนโตรซิมา เป็นพืชคลุมดินชนิดเถา เลื้อยไปตามผิวดินชอบเลื้อยพันขึ้นต้นไม้ ดอกใหญ่ สีม่วงอ่อน ใบเล็ก เมล็ดเล็ก แบน สีน้ำตาลอมเขียว มีลายกระ มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ถั่วลาย เถาขึ้นไม่สู้ทึบในระยะแรกเจริญเติบโตช้าแต่ต่อไปจะขึ้นได้แน่นและอยู่ได้นาน รากแทงลงในดินได้ลึกแผ่ออกข้าง ๆ มาก ชอบดินค่อนข้างดี ไม่ชอบน้ำขัง ขึ้นได้ดีภายใต้ร่มเงา น้ำหนัก 1 กก. มีจำนวนเมล็ดประมาณ 39,700 เมล็ด 3. เพอราเรีย เป็นพืชคลุมดินชนิดเถา มีเถาใหญ่ ชอบเลื้อยพันต้นไม้ มีขนมาก ใบใหญ่และหนา ดอกสีม่วง เมล็ดเล็กค่อนข้างกลม สีน้ำตาลแก่ เปลือกเมล็ดแข็ง งอกช้า คลุมดินได้หนาทึบภายใน 5-6 เดือน กินปุ๋ยมาก ไม่ค่อยออกดอก ให้เมล็ดน้อย คลุมดินได้ดีเมื่ออายุ 2 ปีไปแล้ว ควบคุมวัชพืชได้ดี 4. ซีรูเลียม เป็นพืชคลุมดินชนิดลำต้นเถาเลื้อยแข็งแรง ใบสีเขียวเข้มเป็นมันค่อนข้างหนาคล้ายใบโพธิ์ แผ่นใบมีขน ดอกเป็นช่อสีม่วง เริ่มสร้างดอกในเดือนธันวาคม ลักษณะฝักแบนค่อนข้างเหลี่ยม ยาวประมาณ 5 เซนติเมตร สีน้ำตาลเข้ม เมล็ดมีผิวเรียบเป็นมัน สีเขียวอ่อน จนถึงน้ำตาล และมีเมล็ดฝักละ 2-9 เมล็ด ขึ้นได้ดีในสภาพร่มเงามาก ช่วงแรกจะเจริญเติบโตช้า แต่ต่อไปสามารถเจริญเติบโตและคลุมพื้นที่ได้หนาแน่นภายใน 4-6 เดือน และคงทนกว่าพืชคลุมชนิดอื่น ๆ ทนทานต่อความแห้งแล้งได้ดี โดยเฉพาะในท้องที่ที่มีสภาพแห้งแล้งและมีปรากฎการณ์ฝนทิ้งช่วงเกิดขึ้นบ่อย จะช่วยลดความเสียหายที่เกิดขึ้นได้มาก จึงแนะนำให้เกษตรกรในแหล่งปลูกยางใหม่ ปลูกซีรูเลียมเป็นพืชคลุมในสวนยาง แม้การเจริญเติบโตระยะแรกสู้วัชพืชไม่ได้ แต่คลุมดินได้หนาทึบในปีที่ 2 มีเมล็ดประมาณ 28,000 เมล็ดต่อกิโลกรัม ซึ่งซีรูเลียม 1 ไร่ สามารถให้ผลผลิตถึง 15-35 กิโลกรัม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง
วิธีการปลูกพืชคลุมดิน
ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการปลูกคือ ต้นฤดูฝน เพื่อให้พืชคลุมเจริญเติบโต และเถามีความแข็งแรงเพียงพอก่อนเข้าฤดูแล้ง สำหรับวิธีการปลูก การปลูกพืชคลุมดินชนิดซีรูเลียม -ปลูกแบบหว่าน ห่างจากแถวยาง 2 เมตร เหมาะกับสวนที่โล่งเตียนและเตรียมพื้นที่อย่างดี -ปลูกแบบเป็นแถว ปลูกห่างกัน 2 เมตร 3 แถว เหมาะกับสวนที่ปลูกพืชแซม และสวนที่อยู่บนที่ลาดเท -ปลูกแบบเป็นหลุม ระยะ 30 x 100 ซม. จำนวน 5 แถว เหมาะสำหรับสวนที่มีวัชพืชไม่หนาแน่น ข้อควรปฏิบัติในฤดูแล้ง ควรทำแนวป้องกันไฟกว้าง 8 เมตร รอบ ๆ สวนและตลบเถาพืชคลุมในระหว่างแถวยางให้ห่างจากต้นยางประมาณ 1 เมตร
การเตรียมเมล็ดพืชคลุม
ใช้เมล็ดพืชคลุม อัตราไร่ละ 1 กก. เนื่องจากเมล็ดพืชคลุมมีเปลือกหุ้มเมล็ดแข็ง ทำให้น้ำซึมผ่านเข้าไปในเมล็ดยาก จึงควรกระตุ้นให้เมล็ดงอกดีขึ้น โดยนำไปแช่ในน้ำเย็นหรือน้ำอุ่น (น้ำเดือด:น้ำเย็น อัตรา 2:1 ) นาน 12 ชั่วโมง จากนั้นคลุกเมล็ดพืชคลุมดินกับปุ๋ยหินฟอสเฟตในอัตราส่วน 1.5 เท่า ของน้ำหนักเมล็ดกอนนำไปปลูกในระหว่างแถวยาง
การเตรียมเมล็ดพืชคลุม
ผสมเมล็ดพืชคลุม คาโลโปโกเนียม : เซนโตรซิมา : เพอราเรีย อัตรา 5 : 4 : 1 หรือ 2 : 2 : 1 หรือ 1 : 1 : 1 ใช้เมล็ดพืชคลุมผสม อัตราไร่ละ 1 กก. แช่เมล็ดในน้ำเย็นหรือน้ำอุ่น (น้ำเดือด : น้ำเย็น อัตรา 2 : 1) นาน 12 ชม. ผสมปุ๋ยหินฟอสเฟตในอัตราส่วน 1.5 เท่าของน้ำหนักเมล็ด คลุกเมล็ดพืชคลุมก่อนปลูก
การบำรุงรักษาพืชคลุม
เพื่อให้พืชคลุมเจริญเติบโตได้หนาแน่น คลุมพื้นที่และควบคุมวัชพืชได้เร็วขึ้น ควรควบคุมวัชพืชและกำจัดวัชพืชก่อนปลูกโดยการไถพรวน ใช้สารเคมีฉีดพ่นซึ่งมีทั้งสารเคมีประเภทก่อนวัชพืชงอกและประเภทหลังวัชพืชงอก ใช้วิธีทางกายภาพ เช่น ให้แรงงานขุด หรือใช้วิธีผสมผสานระหว่างวิธีทางกายภาพและใช้สารเคมี นอกจากนี้ควรใส่ปุ๋ยหินฟอสเฟต (0-3-0.25% โดยปริมาณ) เพื่อให้พืชคลุมเจริญเติบโตได้เร็ว แข็งแรง และเพิ่มปริมาณเศษซากทำให้ต้นยางเจริญเติบโตได้ดีขึ้น




























วันอาทิตย์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2552

โรงงานยางแผ่นที่อุดรธานี

ชมบรรยากาศภายในโรงงานยางแผ่นดิบครับ








บมจ.ไทยฮั้วยางพารา สาขา อุดรธานี




























ชมบรรยากาศโรงงานยางแผ่นรายใหญ่ที่จ.อุดรธานี








ในช่วงเดือนเมษา52ที่ผ่านมาทาง ศปจ.ชัยภูมิ(ศูนย์ปฏิบัติการสงเคราะห์สวนยาง)ได้นำแกนนำและเครือข่ายเกษตรกรในจังหวัดเยี่ยมชมโรงงานยางแผ่นที่จ.อุดรธานีเพื่อเพิ่มความัม่นใจให้กับเกษตรกรผู้ปลูกยางพารา








วันเสาร์ที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2552

พืชคลุมดินไปได้ดีในภาคอีสาน





สวนยางพาราแบบผสมผสานของนายสังเวียน งอกศิลป์ เกษตรกรโครงการยางล้านไร่ของจังหวัดชัยภูมิ





ตัวอย่างพืชคลุมดินซีรูเลี่ยมที่ปลูกในสวนยางพาราอายุ3ปี










สวนยางพาราของเกษตรกรในจังหวัดชัยภูมิ





ไม่ว่าจะมีสาเหตุเนื่องด้วยเหตุใดก็ตามแต่ตอนนี้กระแสการปลูกพชคลุมดินในภาคตะวันออกเฉียงเหนือกำลังมาแรง อาจเป็เพราะตัวของเกษตรกรเองเริ่มให้ความสำคัญกับดิน ธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมฯลฯ





และอนาคตอันใกล้นี้สภาพดินในเขตทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือคงจะกลับคืนมาดีเหมือนเคย