วันพุธที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2553

กำนันนักสู้ชีวิต ผู้บุกเบิกยางพาราในพื้นที่ อ.เมือง จ.ชัยภูมิ















กำนันนักสู้ชีวิต ผู้บุกเบิกยางพาราในพื้นที่ อ.เมือง จ.ชัยภูมิ

เรื่อง/ภาพ โดย ทศพล จันทร์ชฎา





7ดาว : คืนมหัศจรรย์นอนนับดาว ที่มอหินขาว เสาหินมหัศจรรย์ จ.ชัยภูมิ
เสาหินยิ่งใหญ่ต้องยกให้ “มอหินขาว”จังหวัดชัยภูมิ ใครได้นอนนับดาวที่นี่จะรู้ว่าพลังมหัศจรรย์บนฟากฟ้าของดาวล้านดวงมีจริง
กลุ่มเสาหินสูงใหญ่เรียงรายที่อยู่บนสันเขาภูแลนคา จังหวัดชัยภูมิ ก่อกำเนิดทางธรณีวิทยามาจากแรงยกตัวของเปลือกโลก ผ่านวันเวลามานานนับสิบๆ ล้านปี ด้วยอิทธิพลของลมฝน อีกทั้งแสงแดด จนผุกร่อนมีรูปทรงแปลกตา ณ ยามราตรี เมื่อเหล่าดวงดาวนับล้านดวงโคจรอยู่เหนือกลุ่มหินมหัศจรรย์เหล่านี้ เกล็ดเพชรของทางช้างเผือกเหนือฟากฟ้าก็จะระยิบระยับราวกับอยู่ใกล้แค่เอื้อม
ช่วงเวลาที่ดีที่สุด : ช่วงเวลา 23.00 น. ถึงราวตี 2ฤดูกาลที่ดีที่สุด : ฤดูร้อนราวเดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือน มีนาคมจุดชมวิวที่ดีที่สุด : กลุ่มหินมอหินขาวด้านทิศตะวันออกและตะวันตก
เส้นทางการเดินทาง จากกรุงเทพฯ ใช้ทางหลวงหมายเลข 1 และ 2 ถึง อ.สีคิ้ว ต่อด้วยทางหลวงหมายเลข 201 ถึง จ.ชัยภูมิ แล้วใช้เส้นทางสู่น้ำตกตาดโตน ก่อนถึงเล็กน้อยมีทางแยกซ้ายเส้นทางสู่มอหินขาว
เขียนโดย นางสาว มะลิวัลย โทพิลา

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อที่ ททท.สำนักงานนครราชสีมา โทร. 044 213 030, 044 213 666
อุทยานแห่งชาติภูแลนคา ต.ห้วยต้อน อ. เมืองชัยภูมิ จ. ชัยภูมิ 36000
โทรศัพท์ 0 4481 0902-3 อีเมล reserve@dnp.go.th

หากเอ่ยถึงโฆษณาการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ตอน 12 เดือน 7 ดาว 9 ตะวัน
นี้น่าจะเป็นโฆษณาที่คนทั่วไปคงได้ยินได้ฟังจนติดหู เพราะพรีเซ็นเตอร์ระดับซุปเปอร์สตาของเมืองไทยที่ไม่มีใครไม่รู้จักมานอนนับดาวบนก้อนหินประหลาดนี้ ทำให้ใครต่อใครอยากจะมาบ้างและหลายคนคงได้เดินทางตามรอยพี่เบิร์ดกันบ้างแล้ว แต่ทีหลายคยังไม่รู้คือมอหินขาวอยู่ในเขตที่มีการปลูกยางพารามากอันดับต้นๆของจังหวัดชัภูมิและอยู่ในเขต ต.ซับสีทอง อ.เมือง จ.ชัยภูมิ เขตของกำนันนักสู้ชีวิตบุคคลต้นเรื่องในวันนี้

" ชัยภูมิทิวทัศน์สวย รวยป่าใหญ่ มีช้างหลาย ดอกไม้งาม ลือนามวีรบุรุษ สุดยอดผ้าไหม พระใหญ่ทวาราวดี "
ข้อมูลทั่วไป :
ชัยภูมิ ตั้งอยู่บนสันขอบที่ราบสูงอีสาน ซึ่งมีพื้นที่ติดต่อกับภาคกลางและภาคเหนือ เป็นดินแดนแห่งทุ่งดอกกระเจียวแสนงาม และสายน้ำตกชุ่มฉ่ำยามหน้าฝน เป็นจังหวัดที่มีพื้นที่ป่ามากที่สุดจังหวัดหนึ่งในภาคอีสาน มีเทือกเขาที่สำคัญได้แก่ ภูพังเหย ภูแลนคา ภูพญาฝ่อ อันเป็นต้นกำเนิดแม่น้ำชี
ด้านประวัติศาสตร์ ชัยภูมิมีอารยธรรมซ้อนทับกันหลายสมัย ตั้งแต่สมัยทวารวดี สมัยขอม จนถึงอิทธิพลลาวล้านช้าง มีการค้นพบโบราณสถานโบราณวัตถุมากมายในหลายพื้นที่ของจังหวัด ต่อมาปรากฏชื่อเป็นเมืองหน้าด่านในสมัยกรุงศรีอยุธยาในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ภายหลังจึงร้างไป และมาปรากฏชื่ออีกครั้งในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ โดยมีชาวเวียงจันทน์เข้ามาสร้างบ้านแปงเมือง มีผู้นำชื่อ แล ซึ่งต่อมาได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าเมืองคนแรกของชัยภูมิ
ชัยภูมิ เป็นเมืองที่เกิดขึ้นในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช โดยมีฐานะเป็นเมืองขึ้นของเมืองนครราชสีมาคู่กับเมืองบุรีรัมย์ มาปรากฏชื่อทางประวัติศาสตร์อีกครั้ง ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้มีชาวเมืองเวียงจันทน์มีนายแลเป็นหัวหน้าพากันมาตั้งหลักปักฐานในบริเวณที่เรียกว่า โนนน้ำอ้อม และคงใช้ชื่อเมืองตามเมืองเดิมว่าชัยภูมิ ในสมัยสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ใน พ.ศ. 2369 เจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์ ก่อการกบฎยกกองทัพเข้ามาตีเมืองนครราชสีมาและหัวเมืองรายทาง นายแลเจ้าเมืองชัยภูมิได้ยกไพร่พลไปสมทบกับกำลังของคุณหญิงโม ตีทัพของเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์แตกพ่ายไปได้ สมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้คุณหญิงโมเป็นท้าวสุรนารี และให้นายแลเป็นพระยาภักดีชุมพล เจ้าเมืองชัยภูมิคนต่อมาที่สืบเชื้อสายมาจากพระยาภักดีชุมพล (แล) ก็ยังคงใช้ราชทินนามว่า พระยาภักดีชุมพล
ในปัจจุบัน ชัยภูมิเป็นจังหวัดที่น่าท่องเที่ยวอีกแห่งหนึ่งของภาคอีสาน ผลิตภัณฑ์พื้นเมืองที่มีชื่อเสียงของจังหวัดชัยภูมิคือ ผ้าไหม ผ้าฝ้าย มัดหมี่ หมอนขิต ผ้าขิต และสินค้าเมืองที่ทำจากผ้าทอมือ เป็นต้น

ลักษณะภูมิศาสตร์ จังหวัดชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิประกอบด้วยภูเขาและป่าไม้ร้อยละ 50 % นอกจากนั้นเป็นที่ราบสูง พื้นที่แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ด้วยทิวเขาที่ทอดผ่านกลางพื้นที่ ของจังหวัดจากทิศตะวันออกไปทางทิศตะวันตกด้วยภูหยวก ภูอีเฒ่า ภูแลนคา ภูพังเหย เชื่อมต่อกับ ภูพระยาฝ่อ อันเป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขา เพชรบูรณ์ ที่ทอดตัวเลาะเขตแดนทางทิศตะวันตกจากอำเภอเทพสถิตผ่านอำเภอหนองบัวแดง ไปถึงอำเภอคอนสาร มีแม่น้ำที่สำคัญคือ แม่น้ำชี ที่มีต้นกำเนิดของแม่น้ำอยู่ในป่าดงดิบในเขตอำเภอหนองบัวแดงและแม่น้ำพรม ซึ่งมีต้นกำเนิดของแม่น้ำอยู่ในเขตป่าดงดิบอำเภอคอนสารถือเป็น แม่น้ำสำคัญของภาคอีสานด้วย ลักษณะภูมิอากาศ จังหวัดชัยภูมิอยู่ในเขตภูมิอากาศแบบมรสุมเขตร้อนมี 3 ฤดู คือ ฤดูฝน ฤดูหนาว ฤดูร้อน อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปี อยู่ระหว่าง 26.6 - 27.3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุดอยู่ระหว่าง 10.5 - 13.6 องศาเซลเซียส อุณหภูมิ สูงสุดอยู่ใน ช่วงระหว่าง 32.6 - 4.06 องศาเซลเซียส ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยอยู่ในช่วง 989.8 - 1,446.7 มิลลิเมตรต่อปี การปกครอง จังหวัดชัยภูมิแบ่งการปกครองออกเป็น 16 อำเภอ
1. อำเภอเมือง
2. อำเภอคอนสวรรค์
3. อำเภอหนองบัวแดง
4. อำเภอภูเขียว
5. อำเภอคอนสาร
6. อำเภอแก้งคร้อ
7. อำเภอเกษตรสมบูรณ์
8. อำเภอบ้านแท่น
9. อำเภอบ้านเขว้า
10. อำเภอจัตุรัส
11. อำเภอบำเหน็จณรงค์
12. อำเภอเทพสถิต
13. อำเภอหนองบัวระเหว
14. อำเภอภักดีชุมพล
15. อำเภอเนินสง่า
16. อำเภอซับใหญ่


ประวัติความเป็นมา : ของตำบลซับสีทอง
ตำบลซับสีทอง อ.เมือง จ.ชัยภูมิ (เดิมอยู่ในเขตอ.เกษตรสมบูรณ์ จ.ชัยภูมิ ต่อมาได้โอนมาขึ้นกับอ.เมืองชัยภูมิตามประกาศใรพระราชกิจจานุเบกษาฉบับในกฤษฎีกา เล่มที่ 119 ตอนที่ 59 ก วันที่ 6 มิถุนายน 2545) เริ่มจากการอพยพของราษฎรเข้ามาบุกเบิกเพื่อทำไร่ เนื่องจากบริเวณแห่งนี้เป็นที่ราบบนภูเขาที่มีป่าไม้และพื้นดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ เดิมมีหมู่บ้านในตำบลนี้จำนวน 6 หมู่บ้าน ในปี 2532 ได้แยกออกจากตำบลโนนกอก เป็นตำบลซับสีทอง ได้มีหมู่บ้านเพิ่มขึ้นตามลำดับ ปัจจุบันมีจำนวน 13 หมู่บ้าน กำนันคนแรกคือ นายสง่า จันทร์เบ้า ปัจจุบันคือ นายสุภาษ สิมาชัย(2553 ถึง ปัจจุบัน)
สภาพทั่วไปของตำบล :
ตำบลซับสีทองตั้งอยู่บนที่ราบภูเขาแลนคา ประชากรส่วนใหญ่มีอาชีพเป็นเกษตรกร ทำไร่ สวนผลไม้ ทำไร่อ้อย มันสำปะหลัง
อาณาเขตตำบล :
ทิศเหนือ จรดตำบลสระโพนทอง อำเภอเกษตรสมบูรณ์ทิศใต้ จรดตำบลท่ามะไฟหวาน อำเภอแก้งคร้อทิศตะวันออก จรดตำบลโนนกอก อำเภอเกษตรสมบูรณ์ทิศตะวันตก จรดตำบลท่าหินโงม อำเภอเมืองชัยภูมิ
แหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ :
มอหินขาว “สโตนเฮนจ์เมืองไทย”




ป่าปรงพันปีแหล่งใหญ่สุดในไทย “ท้าสัมผัสภูคลีจุดสูงสุดแผ่นดินใจกลางเมืองชัยภูมิ”



ข้อมูลอาชีพของตำบล :
อาชีพหลัก ทำสวน/ทำไร่อาชีพเสริม ค้าขายและรับจ้าง



ยางพาราเข้ามาได้อย่างไรและเมื่อไหร่ ? คือคำถามที่ทุกคนอยากรู้








กำนันอ้ากนักสู้ชีวิตและภรรยาคู่ชีวิต ผู้บุกเบิกยางพาราในพืนที่ อ.เมือง จ.ชัยภูมิ(ร่วมออกงานนิทรรศการงานกาชาดปี 2553 ร่วมกับศปจ.ชัยภูมิ)



แรกเริ่มคุณตาอ้ม(ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว) ตาของคุณประณอม สิมาชัย ภรรยาของนายสุภาษ สิมาชัย (กำนันอ้าก) เริ่มเข้าจับจองมาบุกเบิกทำไร่ที่บ้านห้วยแคนน้อย หมู่ 1 ต.ซับสีทอง เมื่อประมาณปี 2515 โดยพาครอบครัว ลูกๆ อพยพขึ้นมาบนเขาซับสีทองเนื่องจากบริเวณแห่งนี้เป็นที่ราบบนภูเขาที่มีป่าไม้และพื้นดินที่มีความอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การทำการเกษตร ซึ่งในขณะนั้นคุณประณอม สิมาชัย พึ่งจะจำความได้และได้ประกอบอาชีพการเกษตรทำไร่ปลูกลูกเดือย ข้าวโพดเลี้ยงครอบครัวตลอดมา
จนถึงปี 2532คุณตาอ้มผู้ใหญ่บ้านในสมัยนั้นเริ่มมองหาอาชีพใหม่ที่ยั่งยืนกว่าการทำไร่ข้าวโพดจึงได้ร่วมกับชาวบ้านประมาณ 5-6 คนเดนทางไปดูการปลูกยางพาราที่ อ.บ้านกรวด จ.บุรีรัมย์ และได้เห็นว่าในพื้นที่เขตอำเภอบ้านกรวดที่มีสภาพพื้นที่แห้งแล้งและอุดมสมบูณ์น้อยกว่าที่บ้านของตนยังสามารถปลูกยางพาราได้ จึงตัดสินใจซื้อเมล็ดยางพารามาปลูกที่บ้านนั่นคือจุดเริ่มต้นของการปลูกยางพาราในเขตตำบลซับสีทอง อ.เมือง จ.ชัยภูมิ
กำนันอ้าก(หลานเขยของผู้ใหญ่อ้ม)กับคุณตาอ้มพร้อมกับเพื่อนบ้านที่ไปดูงานด้วยกันได้ตัดสินใจนำเมล็ดยางมาเพาะในแปลงเพาะเมล็ดเมื่อเมล็ดงอกได้นำมาปลูกในแปลงยาง(แปลงยางใหญ่ปัจจุบัน)โดยปลูกระยะ 2.5 X 8 เมตรพื้นที่ 30 ไร่ เวลาผ่านไปกว่า 2 ปี(ซึ่งตอนนั้นต้นยางมีขนาดเท่าแขนแล้ว กำนันอ้ากกล่าว) จึงได้จ้างเจ้าหน้าที่เกษตรจากอำเภอบ้านกรวดมาช่วยติดตาในแปลงให้(กลายเป็นวิธีที่เหมาะสมสำหรับพื้นที่ภาคอีสานไปแล้ว) หลังจากนั้นก็ยังปลูกมันสำปะหลังแซมอย่างต่อเนื่องจนรู้สึกว่ามันไม่มีหัวแล้วโดยไม่ได้ทำการดูแลใส่ปุ๋ยแต่อย่างใด หลังจากนั้นกำนันอ้ากได้เดินทางไปทำงานที่ประเทศซาอุดิอาระเบีย และคุณประณอม(คุณนายซาอุ) แม่บ้านก็ได้ตั้งท้องบุตรชายคนโตพอดี ก็ได้ส่งเงินมาเพื่อใช้จ่ายในระหว่างที่รอผลิตจากสวนยางพาราต่อไปวันเวลาผ่านไปกว่า 8 ปีกำนันอ้ากหลังจากที่ผ่านมรสุมชีวิตมามากมายในต่างแดน(อันนี้ต้องมาฟังจากเจ้าตัวอง เซ็นเซอร์สนุกมาก) ก็ได้กลับจากซาอุกลับสู่ประเทศไทยสวนยางที่ปลูกสร้างใว้ก็เติบโตขึ้นจนมีขนาดที่พอจะเปิดกรีดได้อายุยางก็ปาเข้าไป 9 ปีแล้ว ขณะเดียวกันสวนยางของเพื่อนบ้านก็ได้ปรับเปลี่ยนเป็นสวนมะขามหวาน สับปะรด ไร่อ้อยไปหมดแล้วบางรายก็ปล่อยไฟไหม้สวนไปหมดอาจเพราะด้วยความไม่มันใจในเรื่องผลผลิตและทนฟังเพื่อนบ้านดูถูกไม่ไหว หลงเหลือจริงๆอยู่ไม่กี่คนพ่อใหญ่ไพร พ่อใหญพรหมมาบ้านห้วยหมากแดง ต.ท่าหินโงม ตำบลติดต่อกันกับซับสีทองนั่นเอง
ปี 2541 กำนันอ้ากก็ได้ว่าจ้างเจ้าเดินเจ้าหน้าที่เกษตรจากบ้านกรวดบุรีรัมย์มาเปิดกรีดให้และสอนกรีดแต่ผลผลิตทั้งปียังน้อยอยู่ประมาณ 200กิโลกรัมยังไม่มีที่จะขายต่อมาอ่านหนังสือพิมพ์เจอ สำนักงาน สกย.จ.ขอนแก่นจึงได้จุดประกายนำยางไปขายที่จ.ขอนแก่นพร้อมกับพรรคพวกตอนนั้นยางเก็บจนดำหมดแล้ว เมื่อขายไปราคาในขณะนั้น 27.50 บาทเงินก้อนแรกที่ได้รับทำให้กำนันอ้ากเชื่อมั่นว่ายางจะเปลี่ยนชีวิตได้จริง หลังจากนั้นก็ได้วิ่งหาอุปกรณ์ ถ้วยน้ำยาง ลวด ลิ้น อุปกรณ์กรีดยางจาก จ.ระยอง พร้อมจ้างคนงานกรีดยางจากระยอง(คนแถวบ้านที่ไปรับจ้างกรีดยางที่จ.ระยอง) มากรีดประมาณ 1 ปี






ภาพภายในโรงเก็บยางด้านหลังบ้านซึ่งขยายรองรับผลผลิตที่กำลังเพิ่มขึ้น









สวนยางแปลงแรกอายุ 21 ปี ปลูกระยะ 2.5 X 8 เมตร




ปี 2542 สกย.จ.ขอนแก่นได้มาจัดอบรมกรีดยางและการทำยางแผ่นให้เจ้าของสวนยางที่สวนยางพารา จากนั้สองสามีภรรยาได้ลงมือกรีดยางเองเป็นเวลากว่า 3 ปี ต่อมาประมาณปี 2545-2546 เกษตรอำเภอคอนสาร นายเมธา ถนอมพันธุ์ได้เข้ามาจัดฝึกอบรมรุ่นแรกมีผู้สนใจเข้าอบรมเกือบ 30 คนเป็นการจุดประกายให้คนได้เริ่มรู้จักมากขึ้น







ยางแปลงเล็กปลูกปี2547 เริ่มเปิดกรีดในปี2553 อายุ 6 ปี






ปี 2547 กำนันอ้ากเริ่มขยายพื้นที่ปลูกยางพาราที่ว่างบริเวณหลังบ้านนั่นเองกว่า 4,500 ต้น ก่อนที่โครงการยางล้านไร่จะเข้ามาถึงพื้นที่เขตนี้อีกนับเป็นอีกครั้งหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงวิสัยทัศน์ของกำนันนักสู้ผู้นี้












กางบัญชีให้ดูเลย 5 ตุลาคม 2553 เถ้าแก่ 63,736 บาท ลูกน้อง 48,822 บาท(ราคายาง 100.50 บาท)










ปัจจุบันสวนยางสวนยางแปลงเล็กได้ทยอยเริ่มเปิดกรีดแล้ว 1,500 ต้นและจะเริ่มทยอยเปิดกรีดเรื่อยๆในปีถัดไปซึ่งสามาถเปิดกรีดได้เร็วก่อน 7 ปีและเร็วกว่าแปลงแรกถึง 3 ปี เผยเคล็ดลับให้ฟังว่ายางแปลงนี้ดูแลเหมือนลูกเลยและทำด้วยความมั่นใจและทุ่มเททำให้ผลงานเป็นไปอย่างที่เห็นและตอนนี้ผลผลิตได้กว่า 40 แผ่นต่อวันรวมแปลงยางใหญ่อีก 60แผ่นต่อวันรวมแล้วไม่ต่ำกว่าวันละ 100 แผ่น






บ้านพักในสวนยางมีตังค์ทำได้ไม่น่าเกลียดอีกมุม ภาพสวนยางซึ่งตอนนี้ศาลาพักร้อนเพิ่มขึ้นมา





กำนันอ้าก กล่าวว่า ในบรรดาพืชเศรษฐกิจ ยางพารา มีความมั่นคงที่สุด จากประสบกาณ์ตรงของตัวเอง ยางพาราช่วยเลี้ยงดูคนในครอบครัวกว่า 9 ชีวิตและคนงานพร้อมครอบครัวอีกกว่า 8 ชีวิตรวมเกือบ 20 ชีวิตให้อยู่ได้อย่างสบายๆและอยู่อย่างมีความหวังและมีอนาคตด้วยจากพื้นที่สวนยางที่ให้ผลผลิตแล้วตอนนี้แค่ 50 ไร่เทียบกับอาชีพอื่นแล้วไม่มีทางสู้ยางได้แถมยังเหนื่อยยากลำบากมากกว่ายางพาราหลายเท่าตัวมาก








พาหนะคู่ใจจากน้ำพักน้ำแรง “สวนยาง”


กำนันอ้าก กล่าวต่อว่า ยางพารามีบุญคุณกับครอบครัวผมมากครับนอกจากรายได้จากยางพาราแล้วเกษตรกรหน้าเก่าใหม่ที่หลังไหลเข้ามาในเขตนี้ซึ่งเมื่อก่อนมีไม่กี่เจ้าแต่ตอนนี้ยางพาราเริ่มบูมตอนนี้มีมากกว่าหมื่นไร่ ผู้คนก็เข้ามาหากำนันเนื่องจากมีสวนยางพาราที่ได้รับผลผลิตแล้วนี่เองทำให้เป็นที่ใว้วางใจชาวบ้านมีปัญหาเรื่องยางก็เข้ามา ไม่แน่ใจเรื่องผลผลิตก็เข้ามาดู เป็นแรงจูงใจให้เกษตรชาวสวนยงมือใหม่ได้มากมายที่สำคัญคนต่างถิ่น ครู อาจารย์ เถ้าแก่จากปักต์ใต้ก็ใว้วางใจให้กำนันดูแลปลูกสร้างสวนยางพาราให้ ด้วยเป็นคนที่ไม่คดโกงทำให้มีงานมีรายได้เข้ามาอยู่เสมอไม่เคยขาด ตอนนี้ชีวิตครอบครัวอยู่สุขสบายแล้วรู้สึกว่าตัดสินใจไม่ผิดเลยที่เลือกปลูกยางพารา









ในวันนี้กำนันสุภาษ สิมาชัยได้เป็น กำนันอ้าก ที่ใครๆต่างรู้จักดี



และในวันนี้เมื่อพอมีเวลาจึงหันมาทำหน้าที่เพื่อส่วนรวมสมัครเป็นกำนันในตำบลซับสีทองโดยได้รับคัดเลือกเมื่อปี 2553 นี้เอง นอกจากนี้ยังได้รับเลือกจากเครือข่ายเกษตรกรชาวสวนยางจังหวัดชัยภูมิเป็นประธานเครือข่ายเกษตรกรชาวสวนยางระดับศูนย์ปฏิบัติการจังหวัดชัยภูมิและกรรมการเครือข่ายระดับ สกย.จ.นครราชสีมาอีกด้วย









กำนันอ้ากในวันสบายๆ ได้ถ่ายทอดเรื่องราวให้ฟังกับผู้เขียน

ท้ายนี้ผู้เขียนหวังว่าการสู้ชีวิตของกำนันนักสู้ผู้นี้จะเป็นแรงใจให้เกษตรกรชาวสวนยางทั้งมือใหม่และเก่ามีแรงใจต่อสู้อุปสรรคต่างๆและมุ่งทันเพื่อความสำเร็จในอาชีพชาวสวนยางต่อไปครับ


เอกสารอ้างอิง

ขอขอบคุณเรื่องราวดีๆจาก กำนันสุภาษ สิมาชัย













เรื่อง/ภาพ โดย ทศพล จันทร์ชฎา