วันเสาร์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2552

น้ำยางพาราไร้แอมโมเนีย







งานชิ้นต่อไปเป็นการแก้ไขปัญหาของการใช้แอมโมเนียซึ่งมีกลิ่นรุนแรงมาก เมื่อระเหยสู่บรรยากาศจะทำให้เกิดมลภาวะต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม ครับ

น้ำยางพาราไร้แอมโมเนีย
13 พฤศจิกายน 2551
ยางธรรมชาติหรือยางพาราเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทย ซึ่งได้มีการใช้ทั้งภายในประเทศและส่งออกสู่ต่างประเทศ นำรายได้เข้าสู่ประเทศอย่างต่อเนื่องเป็จำนวนมาก ดังนั้นการวิจัยและพัฒนาด้านยางพาราจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง เพื่อให้เกิดเทคโนโลยีใหม่ๆ ในการเพิ่มมูลค่าและเพิ่มศักยภาพในการเป็นผู้นำของ
โลกการเก็บรักษาน้ำยางธรรมชาติก่อนการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์นั้น จำเป็นต้องมีการใส่สารเคมีที่ช่วยในการรักษาสภาพของน้ำยางเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการจับตัวที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ (Spontaneous coagulation) และการเน่า (Putrefaction) ซึ่งจะเกิดขึ้นภายหลังจากน้ำยางได้ถูกกรีดจากต้นในระยะเวลาไม่นาน ปัจจุบันในอุตสาหกรรมยางโดยทั่วไปแล้วแอมโมเนียถูกใช้ในหน้าที่นี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่แอมโมเนียเป็นสารที่ระเหยง่ายและมีกลิ่นรุนแรงมาก เมื่อระเหยสู่บรรยากาศจะทำให้เกิดมลภาวะต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม และยังส่งผลให้ยากต่อการควบคุมคุณสมบัติของน้ำยางธรรมชาติในระหว่างการเก็บรักษาให้คงที่อีกด้วย

ดร. สุรพิชญ ลอยกุลนันท์, นางฉวีวรรณ คงแก้ว,นางสาวอรพินท์ ชัยกำพลเลิศและคณะ เล็งเห็นถึงปัญหาดังกล่าว จึงวิจัยและพัฒนาหาสารเคมีที่ช่วยในการรักษาสภาพของน้ำยางชนิดใหม่ที่ปราศจากการใช้แอมโมเนียซึ่งแตกต่างจากการรักษาสภาพน้ำยางในปัจจุบันอย่างสิ้นเชิง พบว่าการใช้สารประกอบเมทิลออล (TAPP) ในการรักษาสภาพน้ำยางสามารถแก้ปัญหาที่เกิดกับน้ำยางที่ใช้แอมโมเนียในปัจจุบัน และส่งผลกระทบในเชิงบวกต่ออุตสาหกรรมน้ำยางพาราในหลายด้าน เช่น สามารถได้น้ำยางพาราที่ไม่มีกลิ่นไม่เกิดการแปรปรวนสมบัติของยางอันเนื่องมาจากการระเหยของสารรักษาสภาพปราศจากการใช้ TMTD ซึ่งก่อให้เกิดสารก่อมะเร็ง ความเป็นด่างไม่สูง ไม่เป็นพิษต่อเซลล์ และไม่กัดกร่อนโลหะที่สัมผัสน้ำยาง
ประโยชน์ที่ได้รับจากโครงการ
การใช้สารรักษาสภาพชนิดใหม่นี้จะช่วยลดมลพิษทางอากาศ เพิ่มคุณภาพชีวิตของบุคคลที่ทำงานเกี่ยวข้องกับน้ำยาง ตั้งแต่ชาวสวนจนถึงผู้นำน้ำยางพารามาทำเป็นผลิตภัณฑ์รวมถึงผู้ที่อาศัยอยู่ใกล้เขตโรงงานที่มีการใช้น้ำยางพารา และยังช่วยลดค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมวัสดุและสิ่งก่อสร้างที่สัมผัสน้ำยาง นอกจากนี้ที่สำคัญ คือ สามารถเพิ่มขอบเขตการนำน้ำยางพาราไปใช้งานอีกด้วย
แก้ไขล่าสุดเมื่อ ( 17 พฤศจิกายน 2008 )
ขอขอบคุณข้อมูลงานวิจัยดีๆมีประโยชน์จาก MTEC
Copyright © 2008 National Metal and Materials Technology Center114 Thailand Science Park Paholyothin Rd., Klong 1, Klong Luang, Pathumthani 12120 Thailand Tel.: 66 2564-6500

ไม่มีความคิดเห็น: