วันเสาร์ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

สถานการณ์ภัยแล้งยังวิกฤติ


ชาวสวนยางอีสานสุดเศร้าวิกฤติภัยแล้งและภาวะอากาศร้อนจัดส่งผลต้นยางยืนตายซากเป็นทิวแถว จังหวัดเลย เสียหายแล้วกว่า 60%

นครพนมสวนยางของ "ศุภชัย โพธิ์สุ" รมช.เกษตรตายแล้วนับร้อยต้น กรมวิชาการเกษตรระบุสาเหตุชัดเกิดจากต้นยางขาดน้ำภาวะราคายางที่พุ่งสูงขึ้นติดต่อกันตั้งแต่ปี 2551 แม้จะลดลงช่วงต้นปี 2552 เล็กน้อยแต่ล่าสุดได้ปรับสูงขึ้นขณะนี้ทะลุกก.ละ 100 บาท เป็นความหวังของเกษตรกรผู้ปลูกยางพาราแม้บางรายต้นยางจะยังไม่สามารถกรีดน้ำยางได้เพราะอายุเพิ่ง 4-5 ปี แต่พวกเขาหวังว่าอีก 2-3 ปีข้างหน้าจะสามารถกรีดยางและขายได้ราคาดี แต่ภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นปีนี้ทำให้พวกเขาหมดความหวังเพราะอากาศที่แล้งและร้อนจัดทำให้ต้นยางที่ปลูกภายใต้โครงการยางล้านไร่ยืนตายซากเป็นจำนวนมาก
นายหล้า พรหมมาศ ประธานสหกรณ์สวนยางพาราผาน้อย จำกัด จังหวัดเลย เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่าจากภาวะความแห้งแล้งและอากาศที่ร้อนจัด ขณะนี้ได้ส่งผลกระทบต่อเกษตรกรผู้ปลูกยางพาราพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือในหลายจังหวัด โดยเฉพาะสมาชิกสหกรณ์สวนยางพาราผาน้อย จำกัด ซึ่งมีสมาชิก 500 กว่าราย ส่วนพื้นที่ปลูกยังไม่ได้รวบรวมอย่างเป็นทางการ แต่ผลกระทบที่เกิดขึ้นขณะนี้คือต้นยางพารายืนตายซาก เพราะอากาศร้อนจัดและขาดแคลนน้ำ"พื้นที่ปลูกยางของสมาชิกสหกรณ์มีทั้งภายใต้โครงการยางล้านไร่ โครงการส่งเสริมปลูกของจังหวัด รวมถึงพื้นที่ที่สมาชิกปลูกเอง เฉพาะภายใต้โครงการยางล้านไร่มีประมาณ 2,570 ไร่ เวลานี้พื้นที่ปลูกทั้งหมดต้นยางยืนตายซากไปแล้วกว่า 60% ทำให้ชาวสวนยางต้องเดือดร้อนไปตามๆกัน เพราะไม่มีใครป้องกันไว้ล่วงหน้าเนื่องจากไม่คาดคิดว่าจะแห้งแล้งและร้อนจัดขนาดนี้ วันนี้ทุกคนได้แต่นั่งมองตากันปริบๆ จะไปซื้อน้ำมารดคงไม่คุ้มเพราะต้นยางอายุ 4-5 ปียังกรีดน้ำยางไม่ได้ ชาวสวนจึงยังไม่มีรายได้ และความหวังจะขายยางได้ราคาดีอีก 2-3 ปีข้างหน้าคงหมดหวังแล้วเพราะต้นยางตายไปมากแล้ว"นายหล้ากล่าวและว่าปีนี้นับได้ว่าเป็นปีที่แล้งสุดๆ เกษตรกรที่พอจะมีเงินบ้าง จะไปซื้อน้ำมารดสวนยางยังทำได้ลำบากเพราะน้ำในห้วย หนอง คลองบึงแห้งหมด สวนยางของผมประมาณ 300 ไร่ ต้องไปสูบน้ำระยะทาง 4-5 กิโลเมตรมาฉีดรดต้นยาง แต่เวลานี้ไม่มีน้ำให้สูบขึ้นมารดแล้วขณะที่นายชนะวงศ์ สมมุติ ประธานกลุ่มขายยางบ้านโพนงาม จังหวัดเลย กล่าวว่า ปกติแล้วหลังเทศกาลสงกรานต์ชาวสวนยางจะสามารถกรีดน้ำยางได้ แต่เวลานี้ชาวสวนที่มีพื้นที่ปลูกบนที่สูงอากาศร้อนและแล้งกรีดยางไม่ได้เลยเพราะฝนไม่ตก ส่วนสวนยางที่ลุ่มพอกรีดได้บ้างและขายได้ราคาดียางแผ่นดิบกก.ละ 108 บาท ขณะเดียวกันบริเวณบ้านโพนงามมีปัญหาต้นยางยืนตายซากจำนวนมากเหมือนกัน
ด้านแหล่งข่าวจากสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (สกย.)จังหวัดนครพนม กล่าวว่า เกษตรกรผู้ปลูกยางพารา จังหวัดนครพนม ได้รับผลกระทบจากภัยแล้งเช่นเดียวกัน โดยมีพื้นที่ปลูกยางต้นยางขาดแคลนน้ำยืนตายซากจำนวนมาก ในจำนวนนี้มีพื้นที่สวนยางของนายศุภชัย โพธิ์สุ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประสบกับต้นยางยืนตายซากเช่นเดียวกัน ซึ่งทางสำนักงานได้ประสานไปยังกรมวิชาการเกษตร ซึ่งมีความรู้ด้านวิชาการมาตรวจสอบสาเหตุต้นยางยืนตายซาก เจ้าหน้าที่ระบุว่าสาเหตุหลักเกิดจากความแห้งแล้งและอากาศที่ร้อนจัด แม้ว่าต้นยางจะเกิดโรคราแป้งแต่ถ้ามีฝนตกลงมาโรคราแป้งจะหายไปได้ แต่เนื่องจากไม่มีฝนตกจึงทำให้ต้นยางตาย
นายวิทย์ ประทักษ์ใจ ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (สกย.) กล่าวว่ามาตรการช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนยางที่ประสบภัยแล้ง โดยอำนาจของสกย.จะให้ความช่วยเหลือสำหรับต้นยางที่กรีดแล้ว 1 ปี จึงจะใช้เงินกองทุนสงเคราะห์สวนยางได้ ส่วนยางที่ยังไม่ได้กรีดนั้นอาจต้องใช้งบภัยธรรมชาติของกระทรวงเข้าไปช่วยเหลือแหล่งข่าวจากกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เปิดเผยว่า ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2552-26 เมษายน 2553 มีพื้นที่ประสบภัยแล้งรวมทั้งสิ้น 60 จังหวัด หากเทียบกับช่วงเดียวกันปี 2552 พื้นที่ประสบภัยแล้งมากกว่าโดยปี 2552 ประสบภัยแล้ง 53 จังหวัด และหมู่บ้านประสบภัยแล้งมากกว่าถึง 8,018 หมู่บ้าน พื้นที่การเกษตรคาดว่าจะได้รับความเสียหาย 584,366 ไร่ แยกเป็นพืชไร่ 377,264 ไร่ นาข้าว 73,897 ไร่ พืชสวนและอื่นๆ 133,205 ไร่

ขอบที่มา http://tonklagroup.blogspot.com/, และ
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจฉบับที่ 2,526 29 เมษายน - 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

วันเสาร์ที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ฝ่าวิกฤติสวนยางพาราในภาคอีสาน ตอนที่2

ทางเลือกทางรอดสำหรับการฝ่าวิกฤติสวนยางพาราในฤดูแล้งอีสานตอนจบ

สวนยางพาราที่ปลูกพืชคลุมดินตระกูลถั่ว "เพอราเรีย"ช่วยคลุมดิน กำจัดวัชพืชในสวนยางพารา คืนธาตุอาหารให้กับดิน เพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้กับดิน

ต้นยางโตไว "สวนยางอายุปีครึ่ง"



สวนยางต.โคกสูง อ.เมือง จ.ชัยภูมิ(สวนยางพาราของผู้เขียนเอง)

การจัดการวัชพืชในสวนยางพาราไม่ใช่ปัญหายุ่งยากอีกต่อไป ที่สำคัญช่วยให้ดินยังคงความชื้นช่วยให้ยางไม่ขาดน้ำ



รอบๆสวนยางควรมีป่าไม้ที่หลากหลาย ซึ่งปัจจุบันป่าธรรมชาติเดิมๆแทบไม่หลงเหลืออยู่เลย ป่าธรรมชาตินี้จะช่วยเป็นทั้งแนวกันลม แหล่งอาหาร(คน) ความชื้นสัมพัทธ์มากช่วยให้ระบบนิเวศน์รอบๆสวนยางพาราเหมาะสม ช่วยยางพาราในเขตแห้งแล้งได้


สวนยางพาราที่มีระบบน้ำในสวนยาง หน้าแล้งไม่ตาย เขียวสดทั้งปี

สวนยาง ต.บ่านแท่น อ.บ้านแท่น



ระบบมินิสปริงเกอร์ ลงทุนน้อย คุ้มค่ามากครับ ทางเลือกอีกทางที่จะช่วยชาวสวนยางในเขตแห้งแล้งได้ครับ


วางท่อตามแนวต้นยางได้เลยครับต้นทุน 13บาท ต่อต้น

สวนยางที่ต.บ้านแท่น อ.บ้านแท่น จ.ชัยภูมิ



เลือกพื้นที่ปลูกที่เหมาะสม ดินหินลูกรัง หน้าดินตื้นจะแสดงอาการมากหาปีที่เจอวิกฤติภัยธรรมชาติหนักๆ

สวนยางที่ตงถ้ำวัวแดง อ.หนองบัวแดง จ.ชัยภูมิ




สวนยางยืนต้นตายแล้ง ต.ห้วยยายจิ๋ว อ.เทพสถิต จ.ชัยภูมิ




การแก้ไขเบื้องต้นต้องตัดส่วนที่แห้งตายออก ทายาป้องกันเชื้อรา หรือปูนขาว เลี้ยงลำต้นใหม่



ภาพยางยืนต้นตาย ต.ห้วยยายจิ๋ว อ.เทพสถิต

โดยส่วนตัวแล้วผู้เขียนเห็นว่า

หากไม่ต้องการให้เกิดความเสียหายอย่างที่เห็นแบบนี้การเลือกพื้นที่ปลูกที่เหมาะสม ปริมาณน้ำฝนไม่ต่ำกว่า1500มม/ปี การจัดการสวนยางตามคำแนะนำการปลูกพืชคลุมดินตระกูลถั่ว จัดการเรื่องระบบน้ำ แหล่งน้ำ สวนป่า พืชแซมในสวนยาง การใส่ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมี ปัจจัยต่างๆเหล่านี้น่าจะช่วยให้อาชีพสวนยางนี้เป็นอาชีพที่สามารถที่อยู่ได้ในเขตภาคอีสาน ภาคเหนือต่อไปได้ครับ
ขอบคุณข้อมูลดี จากสกย. http://www.rubber.co.th/index_home.php,

สถาบันวิจัยยาง http://www.rubberthai.com/emag/test.php

รูปประกอบจากบล็อกดีๆ http://www.oknation.net/blog/nainoykrab/2009/10/27/entry-1



























วันอังคารที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ฝ่าวิกฤติสวนยางพาราในเขตภาคอีสาน ตอนที่1






































สวัสดีครับ คงไม่เกินเลยไปนะครับสำหรับหัวข้อในวันนี้





















ต่อจากฉบับที่แล้วสัญญาว่าจะนำเสนอรูปสวนยางพาราที่ประสพภัยแล้งในภาคอีสานมาฝาก








ภาพ1,2 สวนยางตายแล้ง อ.เกษตรสมบูรณ์ จ.ชัยภูมิ



ภาพที่3,4สวนยางต.บ้านเพชร อ.ภูเขียว จ.ชัยภูมิ ล้วนแล้วแต่เป็นยางที่อายุกว่า 4 ปีแล้วขนาดลำต้นกว่า30 เซนติเมตรขึ้นไป เสียหายเยอะจริงๆครับสำหรับ การปลูกยางพารา สวนยางแบบพืชเชิงเดี่ยวแบบในปัจจุบัน


มาวิเคราะห์วิเคราะห์ปัญหากัน
ข้อมูลจาก

หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ -- อังคารที่ 8 ธันวาคม 2552 00:00:00 น.
นางนุชนารถ กังพิศดาร นักวิชาการเกษตรชำนาญการพิเศษ รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสถาบันวิจัยยาง เปิดเผยว่า ยางพาราที่ปลูกในพื้นที่ไม่เหมาะสม เช่น พื้นที่ลุ่มนาข้าว พื้นที่มีหน้าดินตื้น พื้นที่มีระดับน้ำใต้ดินสูงหรือระดับน้ำใต้ดินอยู่ใกล้ผิวดิน พื้นที่มีชั้นดินดาน หรือดินที่มีชั้นกรวดอัดแน่น มีแผ่นหินแข็งระดับลึกจากผิวดินประมาณ 1 เมตร จะเป็นอุปสรรคต่อการเจริญเติบโตของต้นยางหลังจากปีที่ 3 ทำให้ชะงักการเติบโต ขอบใบแห้ง ตายจากยอดและยืนต้นตายในช่วงฤดูแล้ง เนื่องจากรากแขนงไม่สามารถชอนไชดูดน้ำในฤดูแล้งได้
ดังนั้น เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงปลูกในพื้นที่เหล่านี้ โดยปลูกพืชล้มลุกหรือพืชที่มีระดับตากตื้นจะเหมาะสมกว่า เนื่องจากต้นยางเป็นพืชที่ต้องการหน้าดินลึก และระบายน้ำได้ดี ส่วนต้นยางที่ปลูกในพื้นที่ลุ่มหรือพื้นที่นาเดิม ซึ่งเป็นพื้นที่มีระดับน้ำใต้ดินอยู่ใกล้ผิวดิน ทำให้รากถูกจำกัดไม่สามารถเติบโตได้เต็มที่
ในระยะ 1-3 ปีอาจเห็นว่าต้นยางเติบโตดี เนื่องจากระดับใต้ดินอยู่ตื้น ทำให้ต้นยางได้รับความชื้น แต่เมื่อโตขึ้นระบบรากถูกจำกัดและสภาพดินขาดออกซิเจน ทำให้ชะงักการเติบโต เปิดกรีดได้ช้า ต้นยางที่ปลูกในพื้นที่เหล่านี้จำเป็นต้องระบายน้ำออกจากพื้นที่ โดยไถพูนโคนเพื่อทำให้ระหว่างแถวเป็นร่องระบายน้ำได้ดี หรือขุดคูระบายน้ำให้ลึกกว่าระดับน้ำใต้ดิน จึงจะสามารถระบายน้ำได้ แต่ก็เพิ่มต้นทุนในการจัดการ
จากการสำรวจพื้นที่สวนยางเกษตรกร โดยศูนย์วิจัยยางหนองคาย ที่ อ.โนนสัง จ.หนองบัวลำภู ที่ประสบปัญหาต้นยางอายุ 2 ปี ใบเหลือง แคระแกร็น ในช่วงฤดูแล้งดินแห้งแข็ง และออกดอกในช่วงเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม โดยดอกมีลักษณะเป็นกระจุกคล้ายช่อดอกสะเดา พบว่าเป็นสวนยางที่ปลูกโดยไม่ยกร่องเพื่อระบายน้ำ เมื่อเข้าสู่ฤดูฝนทำให้น้ำท่วมขังเป็นเวลานาน ส่งผลให้ใบเหลืองและแคระแกร็น กรณีการออกดอกในช่วงดังกล่าวถือว่านอกฤดู ที่เป็นกระจุกเป็นผลมาจากสภาพแวดล้อมที่แห้งแล้ง เมื่อเข้าฤดูฝนได้รับการใส่ปุ๋ยลักษณะดังกล่าวก็จะหายไป
นอกจากนี้ยังพบปัญหาการปลูกยางในพื้นที่นาเดิมที่ จ.พัทลุง ซึ่งไม่เหมาะสมเพราะระดับใต้ดินอยู่ใกล้ผิวดินมาก โดยเฉพาะนาลุ่มที่มีระดับน้ำใต้ดินสูงกว่า 50 ซม. ส่วนพื้นที่นาดอนระดับน้ำใต้ดินสูงประมาณ 50 ซม. ขณะที่ยางพาราหากให้ระดับน้ำพอเหมาะไม่ควรน้อยกว่า 1 เมตร จึงพบว่ายางที่ปลูกในพื้นที่นาดอนส่วนใหญ่จะยืนต้นตายเมื่ออายุไม่เกิน 7-10 ปี และพื้นที่นาลุ่มเมื่ออายุ 2-5 ปี ขึ้นอยู่กับการระบายน้ำออกจากสวนยาง
นางนุชนารถกล่าวว่า ปัญหาการปลูกยางในพื้นที่ไม่เหมาะสมดังกล่าว หากไม่ได้รับการแก้ไขจะสูญเสียทางเศรษฐกิจ ดังนั้น ผู้เกี่ยวข้องจึงควรแนะนำเกษตรกรขุดคูระบายน้ำออกจากแปลงให้ลึกว่าระดับน้ำใต้ดิน และใส่ปุ๋ยอินทรีย์เพื่อปรับโครงสร้างของดินในร่วนซุย ก็จะช่วยให้ต้นยางรอดตายได้ หากเกษตรกรสนใจในรายละเอียดต่างๆ ขอคำแนะนำได้ที่ สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร โทร 0-2579-1576 ต่อ 501, 522, 523 ศูนย์วิจัยยางหนองคาย 0-4242-1396, ฉะเชิงเทรา 0-3813-6225-6 สุราษฎร์ธานี 0-7727-0425-7, สงขลา 0-7421-2401-5.

ต่อตอนที่2ครับง่วงแล้ว มีภาพเด็ดๆที่ทำให้เจ้าสัวทางใต้ที่หันมาปลูกยางในขตแห้งแล้งต้องทบทวนใหม่












วันศุกร์ที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

การปลูกยางพาราในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ปีนี้ 2553 นับเป็นปีที่แล้งจัดในรอบหลายปีที่ผ่านมา...อาจเป็นผลกระทบมาจากภาวะโลกร้อน?
ส่งผลกระทบต่อชาวสวนยางพาราในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นอย่างมากครับ...ดังนั้นสำหรับคนที่กำลังคิดจะปลูกยางพารา ในเขตนี้ ทั้งมือเก่าและมือใหม่ครับ หยุดคิดและศึกษาสักนิดเถอะครับ จากรายงานของสถาบันวิจัยยางปี2550 ท่านจะได้ไม่เสี่ยงและมีโอกาสประสพผลสำเร็จได้ครับ
พื้นที่เหมาะสมสำหรับการปลูกยาง
ประเทศไทยตั้งอยู่ในเขตร้อน มีสภาพแวดล้อมเหมาะสมต่อการปลูกยาง เฉพาะอย่างยิ่งทางภาคใต้และ
บางจังหวัดของภาคตะวันออกซึ่งเป็นแหล่งปลูกยางเดิม ต่อมาได้มีการขยายพื้นที่ปลูกยางไปยังแหล่งปลูกยาง
ใหม่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือ ซึ่งมีสภาพแวดล้อมไม่เอื้ออำนวยต่อการปลูกยาง เช่น การ
ขาดความชื้น อุณหภูมิต่ำ ลมแรง ประกอบกับในแหล่งปลูกยางดังกล่าวมีสภาพพื้นที่เป็นที่สูง ลาดชัน ความ
ลึกของดิน โครงสร้างเนื้อดิน การระบายน้ำ และสมบัติทางเคมีของดินต่ำ แต่ยางพารามีคุณสมบัติสามารถ
ปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมต่างๆได้ดี จากการทดสอบการปลูกยางเมื่อปี 2521ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ซึ่งมีปริมาณน้ำฝนและการกระจายตัวของฝนน้อยกว่าทางภาคใต้ พบว่าต้นยางเจริญเติบโตเป็นที่น่าพอใจ
และจากการทดสอบการปลูกยางในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือเปรียบเทียบกับภาคใต้ พบว่าต้น
ยางในภาคใต้เปิดกรีดได้เร็วกว่าประมาณ 6 เดือน โดยต้นยางที่ปลูกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเปิดกรีดได้
เมื่ออายุ 7 ½ ปี ให้ผลผลิตยางเฉลี่ย 221 กิโลกรัมต่อไร่ ผลผลิตทางภาคเหนือเฉลี่ย 260 กิโลกรัมต่อไร่ ส่วน
ผลผลิตภาคใต้เฉลี่ย 285 กิโลกรัมต่อไร่ แต่โดยทั่วไปผลผลิตยางในแปลงเกษตรกรเป็นเพียงร้อยละ 67 ของ
ผลผลิตทางวิชาการ ทั้งนี้พบว่าการให้ผลผลิตของต้นยางไม่ว่าผลผลิตน้ำยางและหรือเนื้อไม้ขึ้นอยู่กับปัจจัย
3 ประการ คือ พันธุ์ยาง ความเหมาะสมของพื้นที่ และการจัดการสวนยาง เพราะฉะนั้นในการปลูกสร้างสวน
ยางนอกจากพิจารณาเลือกพันธุ์ยาง และการจัดการสวนยางที่ถูกต้องแล้ว ยังต้องพิจารณาความเหมาะสมของ
พื้นที่สำหรับปลูกยางด้วย โดยพิจารณาจากปัจจัยทางดินและปัจจัยทางภูมิอากาศ ดังนี้
ปัจจัยทางดิน
1. เป็นพื้นที่ที่ความลาดชันไม่เกิน 35 องศา ถ้าความลาดชันเกินกว่า 15 องศา จำเป็นต้องทำขั้นบันได
2. หน้าดินลึกไม่น้อยกว่า 1 เมตร มีการระบายน้ำดี ไม่มีชั้นหิน หรือชั้นดินดาน
3. ระดับน้ำใต้ดินต่ำกว่าระดับผิวดินมากกว่า 1 เมตร
4. เนื้อดินเป็นดินร่วนเหนียวถึงร่วนทราย ไม่เป็นดินเกลือหรือดินเค็ม
5. ไม่เป็นพื้นที่นาหรือที่ลุ่มน้ำขัง สีของดินควรมีสีสม่ำเสมอตลอดหน้าตัดดิน
6. ดินไม่มีชั้นกรวดอัดแน่นหรือแผ่นหินแข็งในระดับสูงกว่า 1 เมตร เพราะจะทำให้ต้นยางไม่
สามารถใช้น้ำในระดับรากแขนงในฤดูแล้งได้ และหากช่วงแล้งยาวนานจะมีผลทำให้ต้นยาง
ตายจากยอด
Last sa
30 - พื้นที่เหมาะสมสำหรับการปลูกยาง
7. ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลไม่เกิน 600 เมตร หากสูงเกินกว่านี้อัตราการเจริญเติบโตของ
ต้นยางจะลดลง
8. ค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH)ระหว่าง 4.5-5.5 ไม่เป็นดินด่าง
ปัจจัยทางภูมิอากาศ
1. ปริมาณน้ำฝนไม่น้อยกว่า 1,250 มิลลิเมตรต่อปี
2. มีจำนวนวันฝนตก 120-150 วันต่อปี
การปลูกยางในภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร
ได้พิจารณาปัจจัยด้านภูมิอากาศ โดยเฉพาะด้านอุทกวิทยาเป็นเกณฑ์เบื้องต้น แล้วนำไปประเมินความ
เหมาะสมของพื้นที่ร่วมกับแผนที่ความเหมาะสมของดิน นำมาจัดแบ่งเขตภูมิอากาศสำหรับยางพาราตาม
สภาพภูมิอากาศของประเทศไทย 6 เขต คือ
เขตที่ 1 ปริมาณน้ำฝนต่ำกว่า 1,000 มิลลิเมตรต่อปี เป็นพื้นที่ที่ไม่แนะนำให้ปลูกยางพารา
เขตที่ 2 ปริมาณน้ำฝนอยู่ระหว่าง 1,000-1,200 มิลลิเมตรต่อปี มีช่วงฤดูแล้งประมาณ 5 เดือน
มีศักยภาพในการปลูกยางพาราต่ำ
เขตที่ 3 ปริมาณน้ำฝนอยู่ระหว่าง 1,200-1,400 มิลลิเมตรต่อปี มีช่วงฤดูแล้งประมาณ 3-4 เดือน
เป็นเขตที่เหมาะสมปานกลางสำหรับยางพารา การกระจายตัวของน้ำฝนเป็นปัจจัยสำคัญต่อผลผลิตยาง
เขตที่ 4 เป็นเขตที่เหมาะสมมากสำหรับยางพารา มีปริมาณน้ำฝนอยู่ระหว่าง 1,500-2,200
มิลลิเมตรต่อปี มีช่วงฤดูแล้งประมาณ 1-3 เดือน ปัจจัยด้านอุทกวิทยาไม่เป็นขีดจำกัด
เขตที่ 5 เป็นเขตที่มีปริมาณน้ำฝนสูงมาก ปริมาณน้ำฝนอยู่ระหว่าง 2,300-3,000 มิลลิเมตรต่อปี
ปริมาณน้ำฝนเป็นปัจจัยสำคัญที่เป็นขีดจำกัดต่อการเก็บเกี่ยวผลผลิตยาง
เขตที่ 6 เป็นเขตที่มีปริมาณน้ำฝนสูงมากเกินไป จนเป็นขีดจำกัดที่รุนแรงสำหรับยางพาราทั้งใน
ด้านโรคและการเก็บเกี่ยวผลผลิต
จากการขยายพื้นที่ปลูกยางตามโครงการปลูกยางพาราเพื่อยกระดับรายได้และความมั่นคงให้แก่
เกษตรกรในแหล่งปลูกยางใหม่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ จำนวน 1 ล้านไร่ แต่ความ
ต้องการของเกษตรกรมีมากและมีความประสงค์ปลูกยางเอง ซึ่งบางพื้นที่อาจเป็นพื้นที่ที่ไม่เหมาะสม
ประกอบกับในช่วงปี 2546-2547 ประเทศไทยประสบปัญหาภัยแล้งอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้การปลูกยาง
ในพื้นที่ไม่เหมาะสมดังกล่าว ทั้งสวนยางก่อนเปิดกรีดและสวนยางที่เปิดกรีดแล้วได้รับผลกระทบ ทำให้
พื้นที่เหมาะสมสำหรับการปลูกยาง - 31
ต้นยางยืนต้นตาย ซึ่งพบทั้งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ ดังนั้นสวนยางที่ปลูกในพื้นที่ไม่
เหมาะสมเหล่านี้จำเป็นต้องมีการจัดการสวนยางอย่างถูกต้องจึงจะสามารถแก้ไขปัญหาได้ในระดับหนึ่ง
แต่เกษตรกรต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นอันเป็นการเพิ่มต้นทุน ซึ่งมีหลายวิธีการ ดังนี้
1. ปรับปรุงดินเพื่อเพิ่มอินทรียวัตถุให้แก่ดิน โดยการใส่ปุ๋ยอินทรีย์ เช่น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก เพื่อช่วย
ให้โครงสร้างของดินดีขึ้น มีความร่วนซุย สามารถอุ้มน้ำและรักษาความชื้นในดินได้ดี
2. ดูแลรักษาสวนยางก่อนเข้าฤดูแล้ง โดยการใช้วัสดุคลุมดินรอบโคนต้นยางในช่วงอายุ 2 ปีแรก
หลังจากปลูก จะช่วยให้ดินเก็บรักษาความชื้นไว้ได้ในช่วงฤดูแล้ง และทาปูนขาวบริเวณลำต้นเพื่อ
ป้องกันลำต้นไหม้จากแสงแดด
3. ใส่ปุ๋ยบำรุงต้นยางด้วยปุ๋ยเคมีร่วมปุ๋ยอินทรีย์ตามคำแนะนำเพื่อให้ต้นยางสมบูรณ์แข็งแรง
4. สวนยางที่เปิดกรีดแล้ว ไม่ควรไถพรวนในระหว่างแถวยาง
5. กรณีที่ปลูกยางในดินที่มีการระบายน้ำไม่ดี หรือเกิดน้ำท่วมขัง ควรขุดคูระบายน้ำก่อนที่ต้นยาง
จะได้รับความเสียหาย โดยปกติควรขุดคูระบายน้ำให้ระดับน้ำใต้ดินอยู่ลึกจากระดับผิวดินมากกว่า 2
เมตร ขึ้นอยู่กับระดับน้ำใต้ดิน
ต้นยางที่ปลูกในพื้นที่ไม่เหมาะสม จะมีผลทำให้เจริญเติบโตช้า ไม่ต้านทานโรคและผลผลิตต่ำ
และยังอาจมีผลกระทบตามมาจากภัยธรรมชาติได้อีกด้วย ดังนั้น ในการตัดสินใจปลูกยางพารา เกษตรกร
ควรพิจารณาหลักเกณฑ์สำหรับการปลูกยางพาราให้เหมาะสม เช่น การเลือกพื้นที่ปลูก พันธุ์ยางที่
เหมาะสมกับพื้นที่ และการจัดการสวนยางที่ถูกต้อง เพื่อช่วยให้ต้นยางสมบูรณ์ แข็งแรง สามารถทนต่อ
ภาวะที่เกิดขึ้นจากความแห้งแล้งและภัยธรรมชาติอื่นๆได้__

ฉบับหน้าผมมีภาพสวนยางที่ประสพกับวิกฤตภัยแล้งและโลกร้อนมาให้ได้พิจารณากันดูนะครับ
ที่มา http://www.rubberthai.com/